ตำข้าว

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ตำข้าว

Equivalent terms

ตำข้าว

Associated terms

ตำข้าว

3 Archival description results for ตำข้าว

3 results directly related Exclude narrower terms

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

โชงโลง

เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง

ไทยทำ...ทำทำไม : ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก