สิ่งประดิษฐ์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สิ่งประดิษฐ์

Equivalent terms

สิ่งประดิษฐ์

Associated terms

สิ่งประดิษฐ์

5 Archival description results for สิ่งประดิษฐ์

5 results directly related Exclude narrower terms

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

นิทรรศการ ชุด ไทยทำ...ทำทำไม (พ.ศ. 2560)

ความรู้ในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จนเกิดเป็น “ภูมิปัญญา” แบบไทยๆ ขึ้นมา ถึงแม้ว่าของเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ซับซ้อนหรือแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมายก็ตาม แต่ของ “ไทยทำ” กลับแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราอยู่อาศัยกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข และเก่งนักในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ไทยทำ...ทำทำไม : สลากย้อม

สลากย้อม

สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน

ไทยทำ...ทำทำไม : คาเฟ่ไทยไทย

คาเฟ่ไทยไทย

ทำไมวัฒนธรรมการกินกาแฟแบบไทยไทย ถึงมักต่อท้ายด้วยคำว่าโบราณ ที่คาเฟ่ไทยไทยแห่งนี้ เราเปิดโอกาสให้คุณดื่มด่ำกาแฟไทยเคล้าขนมหวานท่ามกลางบรรยากาศไท้ย-ไทย หันไปมองโดยรอบจะเห็นรายละเอียดทั้งมวลในร้านอันประกอบสร้างขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “ไทยทำ” ทั้งที่คุณคุ้นเคยและไม่คุ้นตา ขอเชิญคุณสั่งเครื่องดื่ม แล้วนั่งละเลียดให้ความคิดแล่น พลางจิบขนมเพลินปาก แล้วฝากคำถามไปให้นึกกันเล่นๆ ว่ากาแฟ “ไทยไทย” คู่ควรกับคำว่า “โบราณ” จริงไหม?

แม้จะรู้กันดีว่าภูมิปัญญาของการขนมไทยนั้นได้มาจากประเทศโปรตุเกส นำเข้าโดยท้าวทองกีบม้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ขนมไทยแบบไทยแท้ดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ความประณีตละเอียดอ่อนที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยยังแสดงออกมาผ่านบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อขนมไทยที่หลากหลาย

นอกเหนือจากความหมายเชิงศิลปวัฒนธรรม ถ้าวิเคราะห์กันตามเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ วัสดุที่คนไทยใช้ห่อขนมหวานล้วนนำมาจากพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบตอง ใบเตย ใบลาน ใบจาก ใบกะพ้อ ต้นอ้อ กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือแม้กระทั่งกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งส่วนใหญ่ทนทานต่อทั้งความเย็นและความร้อน เมื่อนำมาห่อขนมหวานจะยังรักษาความชื้นไว้ได้ บางชนิดเมื่อนำไปนึ่ง ปิ้ง หรือต้ม ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้ขนมชนิดนั้นยิ่งหวานหอมอร่อย แถมวิธีการห่อที่หลากหลายช่วยสร้างเอกลักษณ์ของขนมชนิดนั้น ห่อหุ้มขนมให้มิดชิด สะอาด สวยงาม และหยิบสะดวกพอดีมือ พอดีคำ

ไทยทำ...ทำทำไม : มหัศจรรย์พันลึก

มหัศจรรย์พันลึก

มุมมองที่อัศจรรย์ และน่าสนใจของความคิดแบบไทยๆก่อเกิดสิ่งประดิษฐ์เรียบง่าย เพื่อแก้ปัญหาและแบ่งเบาความทุกข์ในชีวิตประจำวัน ผสานไว้ด้วย ศิลปะ คติ ศรัทธา และความเชื่อ ได้อย่าง “มหัศจรรย์ พันลึก” ทำให้ความง่าย อย่างไทยๆ กลายเป็นของพิเศษที่ ไม่ธรรมดา