Showing 67 results

Archival description
Series
Print preview View:

ภาพถ่ายพิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (19 มกราคม 2548)

ความเป็นมาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ : มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ : พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลบังคับใช้

๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ : คณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ มีมติให้ประกาศจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ : ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งแรก

๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ : งานพิธีเปิดแนวคิดและสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรก รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย จากกระทรวงพาณิชย์ ให้อยู่ในความดูแลของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

นิทรรศการ ชุด River of Life

การบินไทยและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมจัดนิทรรศการ River of Life นิทรรศการนี้นำเสนอเรื่องราวความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความผูกพันธ์ใกล้ชิดกับคนไทยมาช้านาน และเป็นแม่น้ำสายน้ำสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย

นิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia)

วันที่ 20-29 ตุลาคม 2548 บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้จัดนิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia) เพื่อแสดงประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซีย ซึ่งยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องในวโรกาสวันปิยะมหาราช และการเปิดเส้นทางบินใหม่สู่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย ของการบินไทย โดยนิทรรศการ "้เส้นทางสู่รัสเซีย" จัดขึ้น ณ ชั้น G เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย

นิทรรศการสัญจร ชุด ผู้แทนฯ เมืองไทย
แนวคิดหลัก : เข้าใจพัฒนาการการเมืองไทย โดยผ่านบทบาทและภารกิจของผู้แทนฯ
นิยาม : ผู้แทนฯ ก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาชิกวุฒิสภา

  1. นิทรรศการ
    พื้นที่การจัดแสดง : 160 ตารางเมตร บริเวณอาคารรัฐสภา
    นิทรรศการสื่อผสม พร้อมเคลื่อนย้ายและติดตั้ง

เนื้อหา

ส่วนที่ 1 : ผู้แทนในสังคม การเมืองไทย
แสดงพัฒนาการของการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม

การนำเสนอ : Timeline ขนาดใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของการเมืองเลือกตั้ง ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างของนิทรรศการการสะท้อนให้เห็นบรรยากาศในแต่ละยุคไปพร้อมกันด้วย โดยแต่ละช่วงจะสอดแทรกวัตถุสิ่งของ ไปพร้อมกัน

ข้อมูลหลัก : การเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ การรัฐประหาร พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี การวางเงินสมัครับเลือกตั้ง เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ
บริบทที่เกี่ยวข้อง : จำนวนประชากร ตัวเลขงบประมาณ ฯลฯ
เหตุการณ์อื่น ๆ : ประกวดนางสาวไทย เลิกกินหมาก ประกาศวันชาติ รัฐนิยมฉบับต่าง ๆ ญี่ปุ่นบุก น้ำท่วมกรุงเทพปี 85 ทีวีออกอากาศครั้งแรก ไฮด์ปาร์คสนามหลวง ประท้วงเลือกตั้งสกปรก ยกเลิกการจำหน่ายฝิ่น เริ่มต้นยุคพัฒนา ถนนมิตรภาพ อาภัสราได้นางงามจักรวาล ไทยจัดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรก มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต คดีนวลฉวี พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิค ยิงดาวเทียมไทยคม มือถือเครื่องแรก ฯลฯ

ส่วนที่ 2 : กว่าจะเป็นสภาผู้แทน
แสดงให้เห็นว่ากระแสเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาและมีผู้แทนมีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เช่น คำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ของข้าราชการและเจ้านาย , บทความ “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ของเทียนวรรณ ปัญญาชนสามัญชน ที่เรียกร้องให้ตั้ง “ปาลิเมนต์ ให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่รัฐบาลได้” , การเตรียมการปฏิบัติการของคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งแม้ว่าจะมิสำเร็จแต่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 20 ปีต่อมา โดยสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริ์เป็นประมุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การนำเสนอ : ภาพแผนที่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 ขนาดใหญ่ แทรกด้วยภาพผู้แทนไทยสมัยแรก และปาฐกถาผู้แทนสมัยแรกแต่ละจังหวัด

ส่วนที่ 3 : เกร็ดการเมือง
นำเสนอเนื้อหาและบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยผ่านการหยิบยกเกร็ดการเมืองมานำเสนอ พร้อมอธิบายบทบาทและความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ

3.1  ที่สุดของสภาผู้แทนแต่ละชุด
สภาชุดที่อายุยืนที่สุด
สภาชุดที่อายุสั้นที่สุด
สภาชุดที่ใช้นายกเปลืองที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายมากที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายน้อยที่สุด
ฯลฯ

3.2 ที่สุดแห่งกระทู้/ญัติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทู้ที่นำไปสู่การล้มรัฐบาล
การอภิปรายที่นานที่สุด
ญัตติที่ไม่เคยได้อภิปราย
ญัตติที่ไม่เคยลงคะแนน
ฯลฯ

3.3 หนึ่งเดียวคนนี้
คัดเลือกผู้แทนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส.ส. เสียงดีที่สุด สุเทพ วงศ์คำแหง ส.ส. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประไทย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

3.4 เกมส์จับคู่ผู้แทน
สากกระเบือ , ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง, ปลาไหล, ควาย ฯลฯ กับ เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ ไพฑูรย์ วงษ์พานิช

3.5 แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
เกมให้ทายบวกรางวัล สลับกับเทปแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย

การนำเสนอ : จัดจำลองในรูปแบบงานวัด

ส่วนที่ 4 : ผู้แทนในสื่อ
นำเสนอสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ผู้แทนผลิตเองและคนภายนอกผลิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการความคิด ของแต่ละยุคสมัยที่มีผู้แทนในแต่ละยุค

4.1 มองการเมืองไทยผ่านโปสเตอร์หาเสียง /เชิญชวนเลือกตั้ง
นำเสนอโปสเตอร์เตอร์หาเสียงยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

การนำเสนอ : จัดแสดงโดยการทำเป็นแกลลอรีภาพโปสเตอร์

4.2 มองผู้แทนผ่านหนังไทย
จัดฉายภาพยนตร์ไทยที่มีฉากสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. เช่น ผู้แทนนอกสภา เวลาในขวดแก้ว ฯลฯ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ ส.ส. เป็นอย่างไรเมื่อสื่อผ่านภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังจะมีการฉายเทปการการเสียงในยุคก่อนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กฉายภาพยนตร์สลับสารคดี

4.3 มองผู้แทนผ่านเสียงเพลง
คัดเลือกเพลงที่พูดถึงผู้แทนในแต่ละยุค รวมทั้งเทปหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นตู้เพลงให้ผู้ชมเลือกฟัง

ส่วนที่ 5 : ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
รวบรวม/แยกประเภท หนังสือ เอกสาร ที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ สนใจการเอมืองไทยอ่านเล่มไหนดี

การนำเสนอ : จัดทำเป็นซอฟแวร์แอคทีฟค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์

ส่วนที่ 6 : ประชาชนกับผู้แทน
นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังสมารถทำอะไรกับผู้แทนได้อีก เช่น เข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อถอดถอน
การนำเสนอ : บอร์ดนิทรรศการ

  1. หนังสือประกอบงาน
    จัดทำหนังสือประกอบงานโดยนำเนื้อหาประกอบด้วย

    • ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
    • บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรกับสังคมการเมืองไทย (เนื้อหารส่วนหนึ่งจากนิทรรศการ)
    • แหล่งอ้างอิงเอกสารสำคัญ
  2. วีซีดี นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย”
    จัดทำ นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย” ลงในรูปแบบ วีซีดี อินเตอร์แอคทีฟ ประกอบกับหนังสือ

ภาพถ่ายงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ (3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ วันที่ 3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ ห้องสัมมนาโรงแรมรอยัลซิตี้ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เวลา 09.00 น. - 17.30 น.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ( สพร. ) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ ” โดยมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศร่วมบรรยายในหัวข้อ “ Museum in the Modern World ” โดย ELAINE GURIAN ซึ่งเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของพิพิธภัณฑ์ในยุคโลกไร้พรมแดน , “ Validating the Narrative Based Museum ” โดย KENNETH GORBEY ซึ่งจะมีกล่าวถึงแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการสะสมวัตถุเพื่อจัดแสดง มาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องราวจากวัตถุเหล่านั้น และ “ Interpretive Design in a Museum Context ” โดย DESMOND FREEMAN จะกล่าวถึงการพัฒนาเนื้อหาและเค้าโครงเรื่องของนิทรรศการให้กลายมาเป็นนิทรรศการที่เป็นรูปธรรม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร? รวมถึงเคล็ดลับและขั้นตอนในการสร้างสรรค์และเลือกใช้สื่ออันหลากหลายมาผนวกกับข้อมูลเชิงวิชาการ เพื่อทำการสื่อสารเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปแบบของการจัดชุดนิทรรศการ ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ รูปแบบและเนื้อหาจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กับกลุ่มนักออกแบบนิทรรศการ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้กำลังประสบอยู่ เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการนำเสนอประเด็นในการพัฒนาและสร้างสรรค์นิทรรศการ ( Exhibition Development ) , การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ( Museum Management ) , เทคนิคในการออกแบบชุดนิทรรศการ ได้แก่ งานด้าน แสง สี เสียง ( Lighting , Media , Audio Visual ) , การจัดทำแผ่นป้ายคำบรรยาย และการจัดเส้นทางเดินชมชุดนิทรรศการ ( Captions and Exhibition Traffic ) ทั้งนี้กลุ่มนักออกแบบนิทรรศการและกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ จะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างถูกวิธีจากผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดนิทรรศการ รวมถึงการพัฒนาโครงเรื่องและเนื้อหาการศึกษางานพิพิธภัณฑ์ ( Education ) และการนำเทคนิคใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบนิทรรศการได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและน่าสนใจในต่างประเทศ ผ่านประสบการณ์จริงในด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และการพัฒนาออกแบบ จัดสร้างนิทรรศการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์มากที่สุด

ภาพถ่ายพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1 โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน คณะกรรมการบริหารสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ร่วมงานในวันที่ 20 กันยายน 2550

  • กิจกรรมช่วงเช้า การบวงสรวงและนำชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ภาพถ่าย งานทดสอบระบบก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 โดยนักเรียนโรงเรียนราชินี (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)

เชิญนักเรียนโรงเรียนราชินีทดสอบระบบ ก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ (พ.ศ. 2552)

บริษัท การบินไทย ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม สร้างสรรค์นิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ ที่จะช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้ พากันค้นหาและค้นพบนอร์เวย์ผ่านเรื่องราวทั้งด้านประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในความเหมือนและความต่างจนสร้างความฉงนของทั้งสองมุมโลก และที่สำคัญตอบคำถามที่ว่า “มีดีอะไรที่นอร์เวย์” ภายใต้นิทรรศการในรูปแบบของมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)

กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้

นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง นำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนในสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดเป็นระบบความเชื่อที่ค่อน ข้างซับซ้อนและฝังแน่น ระบบความเชื่อเหล่านี้สามารถแสดงออกมาในรูปของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเรื่องของความงมงาย แต่ความเชื่อเหล่านี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก - เขียนไม่ได้ – นึกไม่ถึง (พ.ศ. 2554)

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก- เขียนไม่ได้- นึกไม่ถึง จัดทำโดยเยาวชนทีมเลขเด็ดที่ชนะเลิศจากโครงการ ปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ ๑ (Young Muse Project) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มิวเซียมสยาม

Results 1 to 20 of 67