ภาพถ่ายงานนิเวศวัฒนธรรมไตรภาค (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
- TH NDMI PIC-ACV-02
- Series
- 2005-11-24
Part of รูปภาพและภาพถ่าย
ภาพถ่ายงานนิเวศวัฒนธรรมไตรภาค (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
Part of รูปภาพและภาพถ่าย
ภาพถ่ายงานประชุม Meeting@site (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550)
Part of รูปภาพและภาพถ่าย
นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย (Decoding Thainess)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย นำเสนอพัฒนาการความเป็น ไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวในมิติต่าง ๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
จุดเด่นของนิทรรศการอยู่ที่รูปแบบการนำเสนอและการเล่าเรื่องผ่านเรื่องราว วัตถุจัดแสดง ที่ปัจจุบันทันสมัย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพื่อชวนให้ผู้เข้าชมสามารถผูกโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบด้วย 14 ห้องนิทรรศการ ได้แก่
ห้องที่ 1 ห้องไทยรึเปล่า? : นำเสนอประเด็นคำถาม โดยหยิบยกกรณีตัวอย่างปรากฏการณ์ “ความเป็นไทย” ที่เป็นข้อถกเถียงในสังคม อาทิ เลดี้กาก้าสวมชฎา ชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์ส นักแสดงหน้าฝรั่งเล่นละครไทย เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าตั้งคำถามถึงความเป็นไทยรอบตัว ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ว่าแท้จริงแล้ว อะไรคือความเป็นไทย
ห้องที่ 2 ห้องไทยแปลไทย : ห้องจัดแสดงที่เต็มไปด้วยตู้โชว์ ลิ้นชัก ที่ภายในบรรจุวัตถุจัดแสดง นำเสนอประเด็นสิ่งของความเป็นไทยในแต่ละยุคสมัย ให้ผู้เข้าชมมาเรียนรู้และค้นหา “ความเป็นไทย” ในสิ่งของเหล่านั้นที่ส่งผลถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในปัจจุบัน
ห้องที่ 3 ห้องไทยตั้งแต่เกิด : โชว์การพัฒนาการความเป็นไทย ที่นำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และสิ่งแสดงความเป็นไทยในสมัยต่างๆ 9 ยุคสมัย ผ่านเทคโนโลยีโมดูลไฮดรอลิก เสียงบรรยาย และกราฟิก ที่ถูกนำมาใช้ในนิทรรศการครั้งแรกของไทย
ห้องที่ 4 ไทยสถาบัน : นำเสนอแก่นแนวคิดเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3 สถาบันหลัก ที่สะท้อนรูปแบบการแสดงออกของความเป็นไทย ผ่านเทคโนโลยีเออาร์ ออกแบบคล้ายเกมส์จิ๊กซอว์ ที่ผู้ชมสามารถประกอบคิวบิกบนโต๊ะกลางห้อง และภาพจำซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็น ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงผล
ห้องที่ 5 ห้องไทยอลังการ : ภายในจำลองบรรยากาศของท้องพระโรงและพระที่นั่ง เพื่อแสดงถึงสุนทรียะ ความงดงามของสถาปัตยกรรม และงานหัตศิลป์ไทย รวมถึงสะท้อนความหมาย ความศรัทธา คติฮินดู และความเชื่อพุทธศาสนา ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นศูนย์กลางของประชาชน
ห้องที่ 6 ห้องไทยแค่ไหน : นำเสนอความเป็นไทยผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จัดแสดงด้วยหุ่นเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆ วางกระจายอยู่บนฐานเกลียวก้นหอย จากสูงลงมาต่ำ เพื่อแสดงถึงสถานะและลำดับความเข้มข้นของความเป็นไทย
ห้องที่ 7 ห้องไทย Only : ห้องที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตาในชีวิตประจำวัน ที่เห็นแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นของไทยแน่นอน อาทิ พวงเครื่องปรุง ถุงหิ้วกาแฟผูกหนังยาง โครเชต์หุ้มหูกระเป๋าแบรนด์เนม มาม่าสารพัดรส รวมถึงไฮไลท์เด็ด คุณเอิบทรัพย์ หุ่นนางกวักยักษ์สูงกว่า 4 เมตร เป็นต้น ซึ่งสะท้อนบุคลิกภาพความเป็นคนไทยช่างประดิษฐ์ ปรับปรุง เพื่อนำไปแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
ห้องที่ 8 ห้องไทย Inter : นำเสนอประเด็นมุมมองความเป็นไทยของสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันในสายตาชาวไทยกับชาวต่างประเทศ อาทิ เรือสุพรรณหงส์คู่กับเรือหางยาว ผลไม้แกะสลักคู่กับผลไม้รถเช็น สำหรับอาหารชาววังคู่กับอาหารไทยดั้งเดิม สะท้อนมุมมองความเป็นไทย ที่ต้องการให้คนอื่นเห็น กับ สิ่งที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น
ห้องที่ 9 ห้องไทยวิทยา : ภายในจำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย ความเป็นไทยยุค 25000 ความเป็นไทยยุคโลกาภิวัตน์ และความเป็นไทยยุคพอเพียง ซึ่งสะท้อนความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่ถูกสอดแทรกไว้ผ่านการศึกษา แบบเรียน และบทเพลงแต่ละยุคสมัย
ห้องที่ 10 ห้องไทยชิม : ห้องครัวมีชีวิต ที่พาคุณไปเรียนรู้ที่มาของอาหารไทยขึ้นชื่อต่างๆ อย่าง ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ผัดไทย เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์สแกน พร้อมโมชันกราฟิกสีสันสวยงาม รวมถึงแผ่นพับรูปจาน ที่สอดแทรกเกร็ดความรู้อาหารเหล่านั้น บอร์ดกราฟิกชวนตั้งคำถามกับเมนูอาหารไทยที่มีชื่อต่างประเทศ อาทิ ขนมจีน ข้าวผัดอเมริกัน ขนมโตเกียว เป็นต้น
ห้องที่ 11 ห้องไทยดีโคตร : นำเสนอพัฒนาการของความเป็นไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอื่น อาทิ พระปรางค์วัดอรุณ ที่สุดของสถาปัตยกรรม ตัวอักษรไทย รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น ผ่านรูปแบบการนำเสนอด้วยภาพ ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เลเซอร์คัท 3 มิติ โซโทรป ฟลิปบุ๊ก เป็นต้น
ห้องที่ 12 ห้องเชื่อ : ห้องที่รวบรวมวัตถุด้านความเชื่อของเมืองไทย กว่า 108 สิ่ง ครอบคลุมทั้งความเชื่อเรื่อง ผี พุทธศาสนา พราหมณ์และความเชื่อแบบไทยๆ ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต พร้อมเวิร์กชอปความเชื่อให้ทดลองกันได้จริง อาทิ การทำนายโชคชะตา การเสี่ยงทายรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
ห้องที่ 13 ไทยประเพณี : ห้องจัดแสดงในรูปแบบโกดังเก็บของ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณี เทศกาล และมารยาท อันเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ใส่ไว้ในกล่อง ภายในมีเอกสารอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ภาพประกอบของจริงที่จับต้องได้ เล่นได้ และมีเกมที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวได้สนุกยิ่งขึ้น
ห้องที่ 14 ไทยแชะ : สตูดิโอถ่ายภาพ นำเสนอประเด็นความสำคัญของ ภาพถ่าย เป็นหลักฐานที่บ่งบอกความเป็นไทยและทำให้เรารู้จักผู้คน และบ้านในยุคสมัยต่างๆ ได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้ชมสามารถเลือกชุด เครื่องประดับ ฉาก และเครื่องประกอบฉาก สำหรับถ่ายภาพบันทึกความทรงจำไว้ได้ตามอัธยาศัย
นิทรรศการ ชุด มา แล สาบ มองแมลงสาบ แล้วย้อนมองตัวเอง (พ.ศ. 2556)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก - เขียนไม่ได้ – นึกไม่ถึง (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก- เขียนไม่ได้- นึกไม่ถึง จัดทำโดยเยาวชนทีมเลขเด็ดที่ชนะเลิศจากโครงการ ปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ ๑ (Young Muse Project) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มิวเซียมสยาม
นิทรรศการ ชุด ต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ : 260 ปี พระอุบาลี จาริกจารึกนามสยามวงศ์ในลังกา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of กิจกรรมมิวเซียมสยาม
นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการสัญจร ชุด ผู้แทนฯ เมืองไทย
แนวคิดหลัก : เข้าใจพัฒนาการการเมืองไทย โดยผ่านบทบาทและภารกิจของผู้แทนฯ
นิยาม : ผู้แทนฯ ก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาชิกวุฒิสภา
เนื้อหา
ส่วนที่ 1 : ผู้แทนในสังคม การเมืองไทย
แสดงพัฒนาการของการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
การนำเสนอ : Timeline ขนาดใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของการเมืองเลือกตั้ง ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างของนิทรรศการการสะท้อนให้เห็นบรรยากาศในแต่ละยุคไปพร้อมกันด้วย โดยแต่ละช่วงจะสอดแทรกวัตถุสิ่งของ ไปพร้อมกัน
ข้อมูลหลัก : การเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ การรัฐประหาร พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี การวางเงินสมัครับเลือกตั้ง เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ
บริบทที่เกี่ยวข้อง : จำนวนประชากร ตัวเลขงบประมาณ ฯลฯ
เหตุการณ์อื่น ๆ : ประกวดนางสาวไทย เลิกกินหมาก ประกาศวันชาติ รัฐนิยมฉบับต่าง ๆ ญี่ปุ่นบุก น้ำท่วมกรุงเทพปี 85 ทีวีออกอากาศครั้งแรก ไฮด์ปาร์คสนามหลวง ประท้วงเลือกตั้งสกปรก ยกเลิกการจำหน่ายฝิ่น เริ่มต้นยุคพัฒนา ถนนมิตรภาพ อาภัสราได้นางงามจักรวาล ไทยจัดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรก มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต คดีนวลฉวี พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิค ยิงดาวเทียมไทยคม มือถือเครื่องแรก ฯลฯ
ส่วนที่ 2 : กว่าจะเป็นสภาผู้แทน
แสดงให้เห็นว่ากระแสเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาและมีผู้แทนมีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เช่น คำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ของข้าราชการและเจ้านาย , บทความ “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ของเทียนวรรณ ปัญญาชนสามัญชน ที่เรียกร้องให้ตั้ง “ปาลิเมนต์ ให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่รัฐบาลได้” , การเตรียมการปฏิบัติการของคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งแม้ว่าจะมิสำเร็จแต่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 20 ปีต่อมา โดยสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริ์เป็นประมุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน
การนำเสนอ : ภาพแผนที่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 ขนาดใหญ่ แทรกด้วยภาพผู้แทนไทยสมัยแรก และปาฐกถาผู้แทนสมัยแรกแต่ละจังหวัด
ส่วนที่ 3 : เกร็ดการเมือง
นำเสนอเนื้อหาและบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยผ่านการหยิบยกเกร็ดการเมืองมานำเสนอ พร้อมอธิบายบทบาทและความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ
3.1 ที่สุดของสภาผู้แทนแต่ละชุด
สภาชุดที่อายุยืนที่สุด
สภาชุดที่อายุสั้นที่สุด
สภาชุดที่ใช้นายกเปลืองที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายมากที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายน้อยที่สุด
ฯลฯ3.2 ที่สุดแห่งกระทู้/ญัติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทู้ที่นำไปสู่การล้มรัฐบาล
การอภิปรายที่นานที่สุด
ญัตติที่ไม่เคยได้อภิปราย
ญัตติที่ไม่เคยลงคะแนน
ฯลฯ
3.3 หนึ่งเดียวคนนี้
คัดเลือกผู้แทนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส.ส. เสียงดีที่สุด สุเทพ วงศ์คำแหง ส.ส. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประไทย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
3.4 เกมส์จับคู่ผู้แทน
สากกระเบือ , ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง, ปลาไหล, ควาย ฯลฯ กับ เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ ไพฑูรย์ วงษ์พานิช
3.5 แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
เกมให้ทายบวกรางวัล สลับกับเทปแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
การนำเสนอ : จัดจำลองในรูปแบบงานวัด
ส่วนที่ 4 : ผู้แทนในสื่อ
นำเสนอสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ผู้แทนผลิตเองและคนภายนอกผลิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการความคิด ของแต่ละยุคสมัยที่มีผู้แทนในแต่ละยุค
4.1 มองการเมืองไทยผ่านโปสเตอร์หาเสียง /เชิญชวนเลือกตั้ง
นำเสนอโปสเตอร์เตอร์หาเสียงยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
การนำเสนอ : จัดแสดงโดยการทำเป็นแกลลอรีภาพโปสเตอร์
4.2 มองผู้แทนผ่านหนังไทย
จัดฉายภาพยนตร์ไทยที่มีฉากสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. เช่น ผู้แทนนอกสภา เวลาในขวดแก้ว ฯลฯ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ ส.ส. เป็นอย่างไรเมื่อสื่อผ่านภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังจะมีการฉายเทปการการเสียงในยุคก่อนด้วย
การนำเสนอ : จัดทำเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กฉายภาพยนตร์สลับสารคดี
4.3 มองผู้แทนผ่านเสียงเพลง
คัดเลือกเพลงที่พูดถึงผู้แทนในแต่ละยุค รวมทั้งเทปหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนด้วย
การนำเสนอ : จัดทำเป็นตู้เพลงให้ผู้ชมเลือกฟัง
ส่วนที่ 5 : ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
รวบรวม/แยกประเภท หนังสือ เอกสาร ที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ สนใจการเอมืองไทยอ่านเล่มไหนดี
การนำเสนอ : จัดทำเป็นซอฟแวร์แอคทีฟค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ส่วนที่ 6 : ประชาชนกับผู้แทน
นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังสมารถทำอะไรกับผู้แทนได้อีก เช่น เข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อถอดถอน
การนำเสนอ : บอร์ดนิทรรศการ
หนังสือประกอบงาน
จัดทำหนังสือประกอบงานโดยนำเนื้อหาประกอบด้วย
วีซีดี นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย”
จัดทำ นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย” ลงในรูปแบบ วีซีดี อินเตอร์แอคทีฟ ประกอบกับหนังสือ
Part of กิจกรรมมิวเซียมสยาม
นิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด (พ.ศ. 2559)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชิด
ตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคม การกระจายความเจริญ และที่สำคัญคือ สังคมจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เพื่อการทำความเข้าใจอาเซียนในมิติของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ควรจัดสร้างสรรค์นิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถนำเสนอมุมมองของการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง โดยพิจารณาว่า พม่า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ปรับด้วยมายาคติทางประวัติศาสตร์มาเป็นโมเดลการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับพม่า ประกอบกับปัจจุบันมีประชากรจากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว “พม่า” ที่หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเด่นชัด ทำให้ชาวพม่ามีส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงานเหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงานขึ้นทะเบียนเหล่านี้แล้ว ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวทำงานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย ตลอดจนคุณูปการของชาวพม่าต่อสังคมไทยอย่างข้ามกรอบอคติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความเคารพซึ่งกัน นอกจากนี้การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ยังจะเป็นภาพสะท้อนช่วยให้เข้าใจ “คนไทย” มากยิ่งขึ้นด้วย
นิทรรศการ “พม่าระยะประชิด” นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จากการลงภาคสนาม พร้อมนำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าชมมีความเข้าใจนิทรรศการมากขึ้น กิจกรรมเสวนาประวัติศาสตร์พม่าที่หายไป, กิจกรรมละครเวทีโดยนักแสดงที่เป็นเด็กชาวพม่า, การแสดงหุ่นกระบอกพม่า สถาบันฯ ในฐานะที่เป็นองค์การที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่านิทรรศการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพม่าซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว นิทรรศการนี้ยังสามารถให้แนวความคิดเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนของสังคมและการเปิดใจกว้างในการทำความรู้จักผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชัด เพื่อให้ผู้ชมตระหนักและเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาค ซึ่งกำลังจะเกิดปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในอนาคตอันใกล้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สถานที่จัดนิทรรศการ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เนื้อที่โดยรวม 246 ตร.ม.
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ มีนาคม – มิถุนายน 2559 (4 เดือน)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
นิทรรศการ ชุด หลงรัก (พ.ศ. 2558)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตร นิทรรศการ สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)
วันที่ 15 กรกฎาคม - 27 ตุลาคม 2562
เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการเสนอเรื่องราวของการสักและอุปกรณ์ งานศิลปะจากศิลปิน ชาติพันธุ์ ภาพถ่าย ตำนานและสารคดี
ภาพถ่ายงานแถลงข่าวออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้แห่งที่ 1 (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549)
Part of รูปภาพและภาพถ่าย
Part of รูปภาพและภาพถ่าย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายเครือข่ายพิพิธภัณฑ์. แผนกคลังโบราณวัตถุและงานอนุรักษ์
นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ชุดแรก ที่จัดสร้างขึ้นในปี 2551 พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มอบหมายให้ฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีนายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ
โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่ ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 ติดตั้งและจัดแสดงที่จังหวัดลำปางเป็นแห่งแรก
นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ (พ.ศ. 2552)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
บริษัท การบินไทย ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม สร้างสรรค์นิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ ที่จะช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้ พากันค้นหาและค้นพบนอร์เวย์ผ่านเรื่องราวทั้งด้านประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในความเหมือนและความต่างจนสร้างความฉงนของทั้งสองมุมโลก และที่สำคัญตอบคำถามที่ว่า “มีดีอะไรที่นอร์เวย์” ภายใต้นิทรรศการในรูปแบบของมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
Part of กิจกรรมมิวเซียมสยาม
Part of กิจกรรมมิวเซียมสยาม