Item 007 - สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

Original Digital object not accessible

Identity area

Reference code

TH NDMI EXH-TMP-04-03-007

Title

สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

Date(s)

  • 2010 (Creation)

Level of description

Item

Extent and medium

Context area

Repository

Archival history

Immediate source of acquisition or transfer

Content and structure area

Scope and content

”นางใน” กับ “อุโมงค์”

ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง มีข้าราชบริภารที่เป็นหญิง ซึ่งเรียกว่า “นางใน” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องสร้างสถานที่ขับถ่ายไว้โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า “อุโมงค์” จากคำบอกเล่า มี 4 สมมุติฐาน เกี่ยวกับอุโมงค์ดังนี้

สมมติฐานที่ 1
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์
ที่ตั้ง ริมแม่น้ำ นอกกำแพงวัง
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนน้ำ

“อุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่าง พุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน เพราะถ่ายลงในแม่น้ำ”

สมมติฐานที่ 2
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ระหว่างกำแพงวังชั้นในและชั้นนอก
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนดิน

อุโมงค์สมัยต้นรัชกาลที่ 5 น่าจะตั้งอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในของพระบรมมหาราชวัง การไปอุโมงค์นั้น สาวชาววังจะใช้ประตูกำแพงชั้นในที่เจาะเฉพาะ มีโขลนหรือทหารหญิงเฝ้าทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นทางฉนวน คือเป็นกำแพงสูงตลอดทั้งสองข้างป้องกันการหลบหนี ส่วนการขับถ่ายในอุโมงค์สมัยนี้ ควดว่าจะเป็นการนั่งถ่ายบนดิน

สมมติฐานที่ 3
สมัย รัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงร่อง ด้านล่างเป็นท่อระบายออกแม่น้ำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 “ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณหนาทึบ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งขึ้นไปรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชบานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆกับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานที่เปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆกัน คราวละหลายๆคน มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออก ให่ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

สมมติฐานที่ 4
สมัย ปลายรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงถังเท

ต่อมาเพื่อความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ คืออุโมงค์ที่บรรยายไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นอุโมงค์ทึบพุ่งยาวออกจากกำแพงวังมีปากทางเข้า อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ ใกล้ประตุศรีสุดาวงศ์ อุโมงค์ที่สร้างในสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถว สำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง

Accruals

System of arrangement

Conditions of access and use area

Conditions governing access

Conditions governing reproduction

Language of material

Script of material

Language and script notes

Finding aids

Generated finding aid

Allied materials area

Existence and location of originals

Existence and location of copies

Related units of description

Related descriptions

Notes area

Alternative identifier(s)

Access points

Place access points

Name access points

Genre access points

Institution identifier

Digital object (Master) rights area

Digital object (Reference) rights area

Digital object (Thumbnail) rights area

Accession area

Related people and organizations

Related genres

Related places