NDMI Archives

พื้นที่ Identity

ตัวระบุ

NDMI

รูปแบบชื่อที่กําหนดให้ใช้ได้

NDMI Archives

แบบฟอร์มขอชื่อเทียบเคียง

  • Archives of National Discovery Museum Institute
  • คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

แบบฟอร์มการขอชื่ออื่นๆ

  • สพร.

ประเภท

  • ประชาชาติ

พื้นที่ติดต่อ

 

นางสาวสุภาณี เลิศจิระประเสริฐ

ประเภท

ที่อยู่

Street address

4 ถนนสนามไชย แขวงบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

ท้องถิ่น

บริเวณ

กรุงเทพมหานคร

ชื่อประเทศ

ไทย

หัสไปรษณีย์

10200

โทรศัพท์:

66 0 2225 2777

แฟกซ์

ุุ66 0 2255 2775

Email

หมายเหตุ

 

นางสาวศราวัณ วินทุพราหมณกุล นี่คือการติดต่อครั้งแรก

ประเภท

ที่อยู่

Street address

4 ถนนสนามไชย แขวงบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

ท้องถิ่น

บริเวณ

กรุงเทพมหานคร

ชื่อประเทศ

ไทย

หัสไปรษณีย์

10200

โทรศัพท์:

66 0 2225 2777 ต่อ 417

แฟกซ์

ุุ66 0 2255 2775

Email

หมายเหตุ

พื้นที่ทำคำอธิบายเอกสาร

ประวัติศาสตร์

ความเป็นมา สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
วันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) เสนอว่า ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ไทยมีหลายประเทศ ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่หลายแห่งและอยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจและรู้จักแพร่หลายเท่าที่ควรสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป หากสามารถจัดหาสถานที่ที่เหมะสมแล้วจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ (hall) ด้านต่างๆให้ครบถ้วน ก็จะทำให้เป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปวิทยาการ รวมทั้งแสดงถึงวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศได้อย่างครบวงจรและเป็นที่น่าสนใจแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
วันที่ 7 และ 14 ตุลาคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้า เรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รวมที่จะจัดขึ้นใหม่ว่า ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชั้นนำของภูมิภาคที่มีลักษณะเป็นแหล่งรวมความรู้สาขาต่างๆ ในเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วที่เกี่ยวกับความเป็นไทย และส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานำเสนอ จะต้องมีการเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างพิพิธภัณฑ์ที่จะมีการจัดตั้งใหม่ รวมทั้งการดูแลในระยะยาว และเห็นชอบแนวทางการเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ประกอบด้วย หลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งคณะกรรมการ
1.หลักการ ต้องจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความริเริ่ม และสำนึกของความเป็นไทยซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากกระบวนทัศน์การจัดพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพคล่องตัวและทันสมัย

  1. กระบวนการ ในการดำเนินการต้องมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเปลี่ยน ภาพลักษณ์ ของพิพิธภัณฑ์จากเดิม มาเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างสู่พรมแดนแห่งความรู้ในหลายมิติ
    3.จัดตั้งคณะกรรมการฯ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้จะต้องอาศัยสหวิทยาการเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการ ในชั้นแรกจึงต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการ ที่ได้รวบรวมผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆไว้
    วันที่ 13 มกราคม 2547 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ให้เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
    วันที่ 5 พฤษภาคม 2547 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)พ.ศ.2547 มีผลบังคับใช้
    วันที่ 18 มิถุนายน 2547 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ 1/2547 มีมิตให้ประกาศจัดตั้ง สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
    สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นสถาบันที่ดูแลการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติขนาดใหญ่ (Museum Complex) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รื่นรมย์มีความสามารถเทียบได้กับพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลก (World Class Museum) สนับสนุนและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ เพื่อยักระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพทั้งระบบ
    ความหมาย "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" แหล่งเรียนรู้ที่ให้ความสู่สาธารณชน เรื่องความเป็นมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย และดินแดนอื่นในอุษาคเนย์
    รวมทั้งภูมิศาสตร์ สร้างสำนึกรักและเข้าใจผู้คนบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน และเชื่อมดยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค
    พันธกิจ เพื่อสร้าง เพิม่พูนและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตัวเอง รู้จักเพื่อนบ้านและรู้จักดลกแก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิง่เด็กและเยาวชน ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติขนาดใหญ่ และร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ
    วัตถุประสงค์
  2. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้รื่นรมย์ ด้วยเทคดนโลยีที่ทันสมัย ในการเผยแพร่ความรู้ ได้แก่ ความรุ้ที่ควรมีเพื่อสร้างสำนึกรู้จักตยเอง รู้จักเพื่อนบ้านและรู้จักโลกให้กว้างขวาง และความรู้ที่มี นัยสำคัญต่อการพัฒนาสังคมไทย และ/หรือ เป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนจุดแข็งของคนไทยและประเทศไทย
    2.สร้างความรู้ใหม่ ๆให้เกิดขึ้น ด้วยการวิจัย การจัดแสดง และกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งจัดทำคลังความรู้ของสถาบัน เพื่อให้มีการพัฒยาและเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
    3.ส่งเสริมการพัฒนาและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้
    และการบริหารการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทย ให้มีคุณภาพประสิทธิภาพทั้งระบบ
    4.ให้มีห้องสมุดทางด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาที่ใหญ่ที่สุด และให้การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความชำนาญแะลโอกาสทางวิชาชีพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์
    เป้าหมายหลัก 2 ประการคือ
  3. เผยแพร่ความรู้ในหมู่ประชาชนและเยาวชนไทย
  4. สร้างความรุ้ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    ยุทธศาสตร์
    1.ด้านเนื้อหาองค์ความรู้ (Content) ใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการส้รางเนื้อหา นำเสนอแก่นเรื่องแบบบูรณาการ (Integrated Thematic Approach)ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ โดยใช้ทักษะของการเล่าเรื่อง(Story Telling) แทนการเน้นแต่วัตถุ (object-based)สร้างความมีชีวิตให้แก่พิพิธภัณฑ์ โดยมีทั้งการจัดแสดงแบบถาวรและแบบหมุนเวียน มีกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

บริบททางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและสังคมไทย

เอกสารที่ / แหล่งที่มาของอำนาจ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547

Administrative structure

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ประกอบด้วยหน่วยงานหลักจำนวน 7 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. สำนักงานผู้อำนวยการ ประกอบด้วย แผนกการบริหารยุทธศาสตร์ แผนกแผนงานและงบประมาณ และงานเลขานุการ
  2. ฝ่ายอำนวยการ ประกอบด้วย แผนกการเงินและบัญชี แผนกงานพัสดุ และงานบริหารทั่วไป
  3. ฝ่ายมิวเซียมสยาม ประกอบด้วย แผนกมิวเซียมสยาม แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ และแผนกกิจกรรมการเรียนรู้
  4. ฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วย แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ แผนกการศึกษาและสื่อการเรียนรู้ และแผนกคลังความรู้
  5. ฝ่ายเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย แผนกจัดตั้งและจัดการพิพิธภัณฑ์ แผนกพัฒนาเครือข่ายและกิจกรรมสัมพันธ์ และแผนกคลังโบราณวัตถุและการอนุรักษ์
  6. ฝ่ายสื่อการการตลาด ประกอบด้วย แผนกพัฒนาธุรกิจและการตลาด แผนกสื่อสารและประชาสัมพันธ์ แผนกบริหารงานร้านค้า และแผนกสื่อและสิ่งพิมพ์
  7. ฝ่ายเทคโนโลยีและบริหารพื้นที่ ประกอบด้วย แผนกบริหารพื้นที่ แผนกบริหารและพัฒนาระบบเทคโนโลยี และแผนกพิพิธภัณฑ์เสมือน

การจัดการบันทึกและนโยบายการรวบรวม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บเอกสารของหน่วยงานและหน่วยงานย่อยที่สิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานย่อยในการจัดส่ง/โอนย้ายเอกสารมายังแผนกคลังความรู้ เพื่อดำเนินการลงรายการข้อมูลและนำข้อมูลเข้าคลังข้อมูล

Buildings

สถานที่เก็บเอกสาร

วัตถุดิจิทัลที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บ ประกอบด้วย วัตถุที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมถึง รายงานการประชุม คำสั่ง แผนงาน แผนผัง เอกสารดำเนินงาน สิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และโบราณวัตถุที่ขุดพบระหว่างการก่อสร้างสถาบันฯ

เครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ, คู่มือ และ การพิมพ์

ทะเบียนเอกสาร

พื้นที่เข้าถึง

เวลาเปิด

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. โดยปิดบริการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามประกาศราชการ

เงื่อนไขและข้อเรียกร้องในการเข้าถึง

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มิวเซียมสยาม เปิดบริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.)
เยาวชน อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้พิการและทุพพลภาพ รวมถึงมัคคุเทศน์ เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประชาชน นักท่องเที่ยว อัตราค่าเข้าชม
คนไทย คนละ 100 บ.
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 บ.
นักเรียน นักศึกษา 50 บ.
ตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ของทุกวันทำการเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันที่ประกาศโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย

(หมายเหตุ : มัคคุเทศน์ต้องแสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

ความสามารถในการเข้าถึง

การเดินทาง

  1. ทางเรือ โดยลงเรือที่ท่าราชินีหรือท่าเตียน
  2. ทางรถโดยสารประจำทาง หมายเลข 3, 6, 9, 12, 32, 44, 47, 53, 82
  3. รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ (มีที่จอดรถ ไม่คิดค่าบริการ)
  4. รถยนต์ส่วนบุคคล (มีที่จอดรถ ค่าบริการตามอัตราที่กำหนด)
    5.รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน สถานีสนามไชย

บริการพื้นที่

บริการงานวิจัย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) โดยมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้บริการนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ในส่วนของคลังจดหมายเหตุดิจิทัล ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้บางส่วนผ่านเว็บไซต์คลังจดหมายเหตุดิจิทัลหรือขอให้บริการได้ที่แผนกคลังความรู้ (ห้องสมุด) ของสถาบันฯ

บริการทำสำเนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้บริการทำสำเนาเอกสารในบางกรณีหรือภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

พื้นที่สาธารณ

มีร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ

ข้อมูลเกี่ยวกับควบคุม

การทำคำอธิบายเอกสารidentifier

identifierของหน่วยงาน

กฎระเบียบและ / หรือข้อตกลง

สถานะ

ฉบับสุดท้าย

ระดับของคําอธิบาย

ซึ่งเป็นบางส่วน

วันที่สร้าง/แก้ไข/ลบ

2016-05-07

ภาษา

  • ไทย

สคริป

  • ไทย

แหล่ง

หมายเหตุการบำรุงรักษา

จุดเชื่อมต่อ

Access Points

  • Arts and Culture (Thematic area)
  • Clipboard

นี่คือการติดต่อครั้งแรก

4 ถนนสนามไชย แขวงบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
, กรุงเทพมหานคร
TH 10200