Showing 2766 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
Print preview View:

2211 results with digital objects Show results with digital objects

ไทยทำ...ทำทำไม : ตำราพรหมชาติ

ตำราพรหมชาติ

“การดูพรหมชาติ” เป็นวิธีการทำนายดวงชะตาราศีของบุคคลบนพื้นฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นการพยากรณ์แบบหนึ่งในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งมาจากความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ที่ได้รับจากอินเดียและจีน

ตำราพรหมชาติ ของภาคกลางและภาคใต้ เป็นตำราที่สืบทอดกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยดำเขียนด้วยตัวอักษรไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วยลายเส้นสีขาว เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆเข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วใช่ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”

ฉบับพิมพ์เก่าสุดเป็นฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์พานิชศุภผล พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2455 ไม่ปรากฏชื่อผู้รวบรวม ต่อมาได้มีการพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้งจากหลายโรงพิมพ์ และแพร่หลายไปทุกภูมิภาค มีทั้งตำราหมอดูชาวบ้านและตำราโหราศาสตร์ราชสำนักรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน สังเกตได้ว่าฉบับพิมพ์แต่ละครั้งจะเพิ่มเติมเนื้อหาอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราหมอดูไทยแทนที่จะเป็นการทำนายวิธีการหนึ่งตามชื่อของตน

ทำไม ไออินสไปร์

ปัญญาโบราณ นำพาเส้นทางชีวิต ผ่านหลักสถิติเปรียบเทียบดวงดาว เป็นเข็มทิศในวันที่สับสน และเป็นที่พักความคิดในยามที่ชีวิตต้องมรสุม

ไทยทำ...ทำทำไม : ตุ๊กตาเสีย กบาล

ตุ๊กตาเสีย กบาล

คนโบราณใช้ ตุ๊กตาเสีย กบาล เป็นตัวแทนของบาปเคราะห์ที่ถูกถ่ายทอดไปไว้ที่ตุ๊กตาเสีย กบาล นั้น รับเคราะห์แทนผู้นั้น ๆ โดยปั้นตุ๊กตาดินให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายแล้วจึงทำพิธีเสีย กบาล โดยหักคอตุ๊กตาตัวนั้น ไปวางไว้ตรงทางสามแพร่งหรือลอยน้ำไป

ทำไม ไออินสไปร์

โอนถ่ายความโชคร้ายไปไว้ที่ตุ๊กตา นำความเศร้า ความกลัว ความกังวล ออกไปจากใจ ฝังมันไว้กับตุ๊กตา

ของที่ระลึก

นิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีของวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2540 ซึ่งประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าร้ายแรงที่สุดในภาคการเงินเลยก็ว่าได้ ทั้งยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังแทบทุกภาคส่วนของสังคม ปรากฏการณ์ "ต้มยำกุ้ง" จึงมีความสำคัญในแง่ของการเผยให้เห็นรากฐานและลักษณะพิเศษของสังคมไทย ที่ได้รับการหยิบและฉวย ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาในยามยาก จากความสำคัญของปรากฎการณ์ดังกล่าว ทางสถาบันฯจึงได้จัดทำนิทรรศการชุดนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยิบยกเหตุการณ์ดังกล่าว มาเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการทำความเข้าใจสังคมไทยในแง่มุมต่างๆ โดยนิทรรศการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 2 กรกฏาคม พ.ศ.2560 ณ มิวเซียมสยาม

เข็มกลัด

เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.

นิทรรศการ ชุด กินของเน่า (พ.ศ. 2555) 10 กรกฎาคม - 4 พฤศจิกายน 2012 (ปิดวันจันทร์)

นิทรรศการชั่วคราวเรื่อง “กินของเน่า”
เพื่อนำเสนอเรื่องราวของการถนอมอาหารสำหรับการบริโภคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและยังสืบทอดถึงปัจจุบัน
วัฒนธรรมการกิน “ของเน่า” นั้น เป็นการใช้ความรู้และภูมิปัญญาในการถนอมอาหารผู้คนในสมัยก่อนค้นพบวิธีการนำวัตถุดิบรอบตัวจำพวก เกลือ ข้าว น้ำตาลบวกกับความช่างคิดช่างสังเกต และทดลอง จนเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม ทั้งกะปิ ปลาร้า น้ำปลา
ปลาส้ม ถั่วเน่า และผักดองนานาชนิด
การกิน “ของเน่า” มีอยู่ทั่วโลก แต่รูปร่างหน้าตา กลิ่น และรสชาติแตกต่างกันออกไป
ตามวัตถุดิบและภูมิศาสตร์ นอกจากนิยมบริโภคกันแล้ว ยังมีการใช้ของเน่าในพิธีกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสำคัญๆ
อีกด้วย

ผลลัพธ์ 2041 to 2060 of 2766