Showing 68 results

Archival description
Series
Print preview View:

นิทรรศการ ชุด กินของเน่า (พ.ศ. 2555) 10 กรกฎาคม - 4 พฤศจิกายน 2012 (ปิดวันจันทร์)

นิทรรศการชั่วคราวเรื่อง “กินของเน่า”
เพื่อนำเสนอเรื่องราวของการถนอมอาหารสำหรับการบริโภคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและยังสืบทอดถึงปัจจุบัน
วัฒนธรรมการกิน “ของเน่า” นั้น เป็นการใช้ความรู้และภูมิปัญญาในการถนอมอาหารผู้คนในสมัยก่อนค้นพบวิธีการนำวัตถุดิบรอบตัวจำพวก เกลือ ข้าว น้ำตาลบวกกับความช่างคิดช่างสังเกต และทดลอง จนเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม ทั้งกะปิ ปลาร้า น้ำปลา
ปลาส้ม ถั่วเน่า และผักดองนานาชนิด
การกิน “ของเน่า” มีอยู่ทั่วโลก แต่รูปร่างหน้าตา กลิ่น และรสชาติแตกต่างกันออกไป
ตามวัตถุดิบและภูมิศาสตร์ นอกจากนิยมบริโภคกันแล้ว ยังมีการใช้ของเน่าในพิธีกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสำคัญๆ
อีกด้วย

นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว (พ.ศ. 2555)

เรื่องหนักหัว
มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จัดนิทรรศการชั่วคราว "เรื่องหนักหัว" เพื่อเปิดมุมมองใหม่และค้นหาตัวตนของคนไทย นำเสนอเรื่องราวของ "หมวก" เครื่องศิราภรณ์" และ "เครื่องประกอบศีรษะ" เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความเป็นมาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่านหมวกมากมายหลากหลายชนิดที่ถูกนำไปสวมใส่อยู่บนหัว ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและความสำคัญในแง่มุมต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยนิทรรศการ "เรื่องหนักหัว" เป็นนิทรรศการรูปแบบใหม่ ที่จะแทรกเข้าไปอยู่ในนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ตามห้องต่างๆ ภายในมิวเซียมสยามอย่างกลมกลืน และสอดคล้องกับช่วงยุคสมัยนั้น
ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ
นำเสนอเรื่องของ “หน้ากาก ตัวแทนแห่งผีและพิธีศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝนของคนยุคก่อน เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้อ้อนวอนธรรมชาติ ให้ช่วยดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ เพราะพวกเขารู้จักการทำนาปลูกข้าวและเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่พบได้ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย และพิธีกรรมเต้นรำใส่หน้ากากของชนเผ่าในเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
หมวกทวาฯ นานาชาติ
สมัยทวารวดี นิทรรศการได้นำเสนอ “หัวปูนปั้นประดับฐานสถูป” โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “หมวกทวาฯ นานาชาติ” ที่พบในเมืองโบราณแห่งต่างๆ ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอินเดียมีอิทธิพลอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การค้าขาย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชสำนักไทยสยามก็มี “ขันที” ขุนนางในสมัยอยุธยาสวม “หมวกเครื่องแบบ” ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ลอมพอก” คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากขันทีชาวเปอร์เซียที่เคยเข้ามาปฏิบัติงานในราชสำนักฝ่ายใน ด้วยรูปทรงที่แปลกตาจึงเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ปัจจุบันเรายังคงได้เห็น “พระยาแรกนา” ใส่ลอมพอกในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือแม้แต่นาคก็ใส่เข้าพิธีบรรพชา

ชฎากับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ค้นหาคำตอบว่าชฎาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยจริงหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องราวของ “เลดี้กาก้า” กับชฎาที่ตกเป็นข่าว ที่ใส่โชว์บนคอนเสิร์ตในประเทศไทย ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ถึงความเหมาะสมถูก-ผิดกันต่อไป
ในตอนนี้จะมีสักกี่คนสำนึกรู้ว่า“ชฎา”คือสิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ และใช้ในการแสดงมหรสพทางประเพณีไทยมาช้านาน นั่นเท่ากับว่ามูลค่าแห่งความสำคัญของชฎา มิใช่เพียงเครื่องแสดงอัตลักษณ์ แต่มันคือวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย

สุภาพบุรุษชาวสยามกับความศิวิไลซ์
การเข้ามาของ “ฝรั่ง” นักล่าอาณานิคมจากประเทศยุโรป ทำให้สยามต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ต่างทรงปรับตัวให้ทันกระแสของโลก แฟชั่นสวมหมวกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของชาวตะวันตกในยุคนั้น จึงถูกราชสำนักสยามนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการแสดงความ “ศิวิไลซ์”
และเป็นที่รู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด “โบวเลอร์แฮ็ต” มาก ถึงแม้ว่าหมวกดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพชาวเมืองผู้ดีก็ตาม

เกี่ยวข้าวก็เย็นได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติ
“งอบ” ภูมิปัญญาเกษตรกรไทยไม่ว่าจะเกี่ยวข้าว พายเรือ หรือเมื่อต้องออกแดดทุกครั้งชาวนา แม่ค้า หรือคนไทยอย่างเราๆ ต่างก็ต้องพึ่งพาหมวกครอบจักรวาลใบนี้ ประดิษฐกรรมสวมหัวที่ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเราก็เป็นเลิศด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการสานงอบ ที่แสดงถึงความเข้าใจในหลักการระบายอากาศเป็นอย่างดี เป็นเทคนิคเดียวกับการปลูกเรือนให้อยู่สบายในสภาพอากาศร้อนและชื้น

ราวกับว่า “มาลา” จะ “นำไทย” สู่ความเป็นอารยะได้เช่นนั้นหรือ
การปฏิวัติขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านผู้นำเชื่อว่า การแต่งกายเยี่ยงตะวันตกนั้น จะเป็นหนทางหนึ่งในการนำชาติไทย รุดหน้าเช่นอารยธรรมประเทศ มีการออกกฎบังคับให้ประชาชนชาวไทย สวมหมวก ทุกคราวที่ออกจากบ้าน โดยมีการแต่งบทเพลงชักชวนให้คนไทยสวมหมวกอย่างเพลง ‘สวมหมวกไทย’ ขับร้องโดย 'มัณฑนา โมรากุล'

มงกุฎนางงาม สาวไทยในยุคสงครามเย็น
สถานะและบทบาทระหว่างสตรีกับการเมืองในสมัยทุนนิยมยุคสงครามเย็น ผ่านมงกุฎนางงามจักรวาลคนแรกของประเทศไทย อาภัสรา หงสกุล จนกลายเป็นกระแส “อาภัสราฟีเวอร์” ที่สาวไทยทั้งหลายอยากจะสวมมงกุฎเพื่อให้สวยอย่างอภัสรา ซึ่งเธอนั้นได้รับตำแหน่งมาพร้อมกับการยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกาที่อู่ตะเภา ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้วการเมืองทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนาม ในปีค.ศ.1965

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก - เขียนไม่ได้ – นึกไม่ถึง (พ.ศ. 2554)

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก- เขียนไม่ได้- นึกไม่ถึง จัดทำโดยเยาวชนทีมเลขเด็ดที่ชนะเลิศจากโครงการ ปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ ๑ (Young Muse Project) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มิวเซียมสยาม

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง นำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนในสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดเป็นระบบความเชื่อที่ค่อน ข้างซับซ้อนและฝังแน่น ระบบความเชื่อเหล่านี้สามารถแสดงออกมาในรูปของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเรื่องของความงมงาย แต่ความเชื่อเหล่านี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)

กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้

นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ (พ.ศ. 2552)

บริษัท การบินไทย ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม สร้างสรรค์นิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ ที่จะช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้ พากันค้นหาและค้นพบนอร์เวย์ผ่านเรื่องราวทั้งด้านประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในความเหมือนและความต่างจนสร้างความฉงนของทั้งสองมุมโลก และที่สำคัญตอบคำถามที่ว่า “มีดีอะไรที่นอร์เวย์” ภายใต้นิทรรศการในรูปแบบของมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ภาพถ่าย งานทดสอบระบบก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 โดยนักเรียนโรงเรียนราชินี (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)

เชิญนักเรียนโรงเรียนราชินีทดสอบระบบ ก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1 โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน คณะกรรมการบริหารสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ร่วมงานในวันที่ 20 กันยายน 2550

  • กิจกรรมช่วงเช้า การบวงสรวงและนำชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

Results 21 to 40 of 68