Print preview Close

Showing 1554 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1195 results with digital objects Show results with digital objects

ภาพถ่ายนิทรรศการ

นิทรรศการ กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า บอกเล่าความเป็นมาของผ้า 1 ผืน ที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ระหว่างทางการสร้างผ้า ได้เกิดความรู้ สร้างความเข้าใจในการผลิตผ้าหนึ่งผืน ความรู้เรื่องผ้าจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะช่วยขับเคลื่อนความคิด ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญว่าการศึกษาเรื่องราวของผ้า เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาของไทย และเป็นพื้นฐานการนำความรู้ในไปต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์งานผ้าต่อไปในอนาคต

นิทรรศการชั่วคราว “กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า” มีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

เครื่องรางของขลัง : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ปลัดขิก เชื่อกันว่า มีการสร้างปลัดขิกมาตั้งแต่โบราณ และมีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เพราะเชื่อว่า อวัยวะเพศชายเป็นต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จนพัฒนาเป็นคติการบูชาศิวลึงค์
ปลัดขิกสร้างจากวัสดุหลายชนิด เช่น หินศักดิ์สิทธิ์ ไม้มงคล ทองเหลือง ทองแดง เงิน ทองคำ เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาช้าง และกัลปังหาจากท้องทะเล เป็นต้น

ปลัดขิกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ เช่น ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา ปลัดขิกของอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์ฆราวาส เป็นต้น

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 1

หางเครื่อง 1

วงดนตรีลูกทุ่งในปัจจุบันถือว่าหางเครื่องมีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และมีการแข่งขันสูงทางด้านความสวยงามวิจิตรตระการตา ในระยะแรกเพลงลูกทุ่งยังไม่มีหางเครื่องเหมือนดังเช่นปัจจุบัน หางเครื่องในอดีตหมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก แทมบูรีน ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ด้านหลังของวงดนตรี เนื่องจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรก ใช้เวลา 3 - 4 ชั่วโมง มีรีวิวประกอบเพลงไม่มากนัก จึงให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะให้จังหวะต่างๆ ประกอบการร้อง ของนักร้องหน้าเวที และช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น เรียกกันว่า "เขย่าเครื่องเสียง" หรือ "เขย่าหางเครื่อง"

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 3

หางเครื่อง 3

เมื่อ พ.ศ. 2518 ศกุนตลา พรหมสว่าง คู่ชีวิตของ เพลิน พรหมแดน ติดตาติดใจเครื่องทรงของโฟลี แบร์แฌร์ (Folies Bergeres) และ มูแลงรูจ (Moulin Rouge) เมื่อคราวไป "ดูงาน" ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาดัดแปลงใช้กับชุดหางเครื่องเพลงลูกทุ่งเป็นครั้งแรก จนเกิดเป็น "เทรนด์" ที่ปลุกกระแสแฟชั่นไปทั่ววงการ จากเพลงลูกทุ่งปกติธรรมดาจึงกลายเป็น "ศิลปะการแสดงระดับโลก หางเครื่องนับร้อย นุ่งน้อย ห่มนิด ฟิตเปรี๊ยะ" โดยจัดแสดงครั้งแรกในช่วงท้ายคอนเสิร์ตของ เพลิน พรมแดน

ผลลัพธ์ 1041 to 1060 of 1554