Print preview Close

Showing 2789 results

Archival description
Print preview View:

2229 results with digital objects Show results with digital objects

ไทยทำ...ทำทำไม : โปงลาง

โปงลาง

ดนตรีพื้นบ้านอิสานที่มีวิวัฒนาการมาจาก ระฆังแขวนคอสัตว์ เพื่อให้เกิดเสียงโปงลางที่ใช้บรรเลงกันอยู่
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียงที่ต้องการในระบบ 5 เสียง ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง

โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี
วิธีการเทียบเสียงโปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาดและเสียงตามที่ต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใด เสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น

ทำไม ไออินสไปร์
เสียงของธรรมชาติ คือ เสียงแห่งชีวิต เป็นเสียงที่ให้ทั้งความสงบ ความสนุก ความรื่นเริง เป็นเสียงที่สื่อความเรียบง่าย สดใส ตรงไปตรงมาพาใจให้เป็นสุขทุกครั้งที่ได้ยลยิน

ไทยทำ...ทำทำไม : โปง

โปง

ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เสื่อกกจันทบูร

เสื่อกกจันทบูร

งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชองชาวจันทบุรี คิดค้นขึ้นจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกกที่ขึ้นตามบริเวณน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่งทะเล มีเส้นใยหนาทนทานและรับภูมิปัญญาในการทอเสื่อมาจากกลุ่มแม่ชีคาทอลิคที่อพยพมาเมืองจันท์ ช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาชาวจันท์จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกอีกมากมาย จนมีชื่อเสียงจนถึงขั้นไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดจันทบุรี

ไทยทำ...ทำทำไม : เสียงของไม่จำเป็น

สังคมที่เราอาศัยอยู่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยสิ่งต่างๆมากมาย ชิ้นเล็กบ้าง ชิ้นใหญ่บ้าง จำเป็นบ้าง เกินจำเป็นบ้าง และบางอย่างก็ถูกมองว่า “ไม่จำเป็น” อีกต่อไป ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครรู้จัก ถูกมองข้าม ถูกลืม ไม่มี “เสียง” ให้ได้ยินอีกต่อไป

ตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน เราปล่อยให้เสียงเหล่านั้นที่เคยกังวานในยุคสมัยของมัน ให้เงียบงันและหายไปกับกาลเวลา

ไทยทำ...ทำทำไม : เปลญวนไม้ไผ่

เปลญวนไม้ไผ่

เปลสำหรับแขวนตามร่มไม้หรือใต้ถุนบ้าน พิเศษตรงที่ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่เพียงลำเดียวเท่านั้น คิดค้นขึ้นโดยชาวบ้านที่เห็นไผ่ขึ้นเองในท้องถิ่นและมักปลูกไผ่ไว้ใช้ประโยชน์ด้วยความผูกพันและเข้าใจศักยภาพของไม่ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงนำเอาไม้ไผ่มาผ่ากลาง ผ่าครึ่งหนึ่ง ให้เป็นซี่ยาวแล้วจักไม้ไผ่เป็นตอก สานขัดไปมาตามขวางของลำไม้ให้กลายเป็นเปลนอนได้อย่างฉลาดเหลือเชื่อ

ไทยทำ...ทำทำไม : เถร อด เพล

เถร อด เพล

ไม่ใช่ชื่อของสิ่งของ แต่เป็นเทคนิควิธีการ “เข้าไม้” ที่ใช้หลักการ สอด ขัด ล็อค ดูซับซ้อนและสวยงามสามารถต่อยอดไปใช้ประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงโครงศาลา

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องแขวนดอกไม้สด

เครื่องแขวนดอกไม้สด

ดอกไม้พื้นถิ่นของไทยมีขนาดเล็กและส่งกลิ่นหอม อาทิ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่มีดอกไม้ขนาดใหญ่ มีก้านยาว และนำมาจัดตกแต่งเป็นช่อได้ ดังนั้น ศิลปะการจัดดอกไม้แบบไทยจึงเป็นการนำดอกไม้มาร้อยเรียงกันให้เป็นเครื่องแขวนรูปทรงต่างๆ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่ประณีตและวิจิตร

นอกจากใช้แขวนเพดาน ข้างฝา ช่องประตูหน้าต่าง ช่องม่านแหวกในงานพิธีหรือวันสำคัญต่างๆ ยังทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอากาศ ยามลมพัดมาคราใด จะพาเอากลิ่นหอมเย็นสบายของดอกไม้ไทยโชยมาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีมือ

เครื่องสีมือ

เวลาสีข้าวเปลือกต้องเทข้าวลงในกระบุงด้านบน ก้นกระบุงโหว่เพื่อครอบแป้นหมุนไม้สองชิ้น เมื่อออกแรงผลักมือจับ คานจะหมุนแป้นหมุนให้เสียดสีกัน ช่วยขยี้ข้าวเปลือกให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีฝัด

เครื่องสีฝัด

ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องราง

เครื่องราง

ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องราง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ไทยทำ...ทำทำไม : สลากย้อม

สลากย้อม

สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน

ไทยทำ...ทำทำไม : ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่นิยมและเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นการเขียนลวดลายตกแต่งผิวไม้ที่ช่างหลวงนำไปใช้ในงานของราชสำนักและงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น ลวดลายประดับผนัง เสา บานประตู หน้าต่าง ของตำหนัก และอุโบสถ ตลอดไป จนถึงเครื่องเรือนอย่าง ตู้พระธรรม

การทำ ลายรดน้ำ ของช่างไทยมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะลายรดน้ำบนตู้พระธรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นของสำคัญที่ใช้เก็บสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างพระไตรปิฎก กรรมวิธีการทำเริ่มจากการลงรักหลายชั้น แล้วจึงเขียนลาย ปิดทอง และรดน้ำ ถือเป็นเทคนิคขั้นสูง และใช้เวลายาวนานในการทำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาตามแบบฉบับช่างไทยในราชสำนัก

ทำไม ไออินสไปร์

ความงดงามของลวดลายตามแบบไทย รังสรรค์ สร้างมิติ เพื่อบ่งบอกถึงความมีฝีมือทางศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการเครื่องดื่มไทยไทย

รายการเครื่องดื่มไทยไทย

  1. กาแฟดำ อาข่า อ่ามา
    กาแฟอาราบิก้าสัญชาติไทยปลูกแบบไทยๆ บนยอดดอนสูงในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ริเริ่มจากความตั้งใจของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี-อายุ จือปา ที่ยื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านชาวอาข่าที่ปลูกกาแฟดีแต่ถูกกดราคาอย่างไม่เป็นธรรม จึงเกิดแบรนด์กาแฟอาข่า อ่ามา ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูก คั่ว บด โด่งดังไปทั่วประเทศและในระดับโลก

กาแฟดำในขวดแก้วนี้ผ่านกรรมวิธีการบดจนได้ที่แล้วนำมาหมักที่อุณหภูมิห้อง 9 ชั่วโมง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวดแช่เย็นให้ดื่มรสชาติเข้มแบไทยแท้แต่สดชื่น

  1. กาแฟถุงกระดาษ
    กาแฟเย็นใส่นมแบบไทยในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ บรรจุถุงกาแฟพลาสติกซ้อนลงในถุงกระดาษสีน้ำตาลขนาดประมาณ 5 x 7 x 3 นิ้ว อีกชั้นหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการละลายเร็วของกาแฟเย็นฉ่ำ โดยกระดาษที่มีความหน้า 125 และ 150 แกรม เก็บความเย็นได้ยาวนานถึง 5 และ 9 ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ภายนอกยังคงภาพลักษณ์ความโบราณอันเป็นจุดขายที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

  2. โคโค่-อีซี่
    มะพร้าวน้ำหอมเผาพร้อมฝาเปิดในตัว นวัตกรรมที่บรรพต เคลียพวงทิพย์ ใช้เวลานาน 5 ปีในการคิดค้นและทดลองเจาะฝาลูกมะพร้าวด้วยเครื่องเลเซอร์ให้ไม่ส่งผลต่อน้ำและเนื้อมะพร้าวที่อยู่ข้างใน ถือเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ความสวยงาม สะดวกสบาย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์อะไรเลย ดื่มน้ำมะพร้าวเผาเย็นสดชื่นได้เลยทันทีโดยไม่ต้องง้อใครมาช่วยเฉาะ

  3. น้ำวุ้น
    ยืนยันอีกครั้งว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนแม้กระทั้งน้ำเปล่าในขวดธรรมดาเรายังหาวิธีการแช่และทำให้น้ำกลายเป็นวุ้นเย็นชื่นใจ

  4. ชาร้อนในถังน้ำชา
    เมืองไทยเป็นเมืองร้อน คนไทยจึงนิยมชงชาร้อนทิ้งไว้ในกาและวางไว้ให้รินดื่มได้ทั้งวัน แตกต่างจากชาวจีนและญี่ปุ่นที่มีพิธีการชงและใช้ความร้อนที่เหมาะสมคนไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการประดิษฐ์ถังใส่กาน้ำชาที่บุด้วยผ้าและทำฝาปิดไว้เพื่อรักษาความร้อนให้คงอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการขนมไทย

รายการขนมไทย

  1. ห่อด้วยใบตอง

    • ขนมใส่ไส้
    • ตะโก้ (ขนมหางหนู)
    • ข้าวต้มมัด
    • ข้าวเหนียวสังขยา
  2. ห่อด้วยใบลาน

    • ขนมตาล
  3. ห่อด้วยใบเตย

    • ตะโก้
  4. ห่อด้วยใบจาก

    • ขนมจาก
    • ข้าวต้มมัดลูกโยน
  5. ห่อด้วยใบกะพ้อ

    • ข้าวเหนียวใบกะพ้อ
  6. ใส่ในต้นอ้อ

    • ข้าวหลามต้นอ้อ
  7. ใส่ในกระบอกไม้ไผ่

    • ข้าวหลาม
  8. ใส่ในกะลามะพร้าว

    • วุ้นในลูกมะพร้าว (วุ้นพรก)
  9. ใส่ในกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

    • ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ไทยทำ...ทำทำไม : ระหัดวิดน้ำ

ระหัดวิดน้ำ

การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา

ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว

Results 1 to 20 of 2789