Showing 1554 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1195 results with digital objects Show results with digital objects

สืบจากส้วม : ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ก่อนหน้านี้ ส้วมทำหน้าที่เป็น “เครื่องสำอาง” ให้บ้านเมือง แต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส้วมได้เปลี่ยนบทบาทใหม่อย่างชัดเจน มาเป็น “ฮีโร่” พิชิตเชื้อโรค อย่างพยาธิปากขอ และอหิวาต์ รัฐบาลและองค์กรต่างประเทศได้รณรงค์ทุกวิถีทางให้ทุกครัวเรือนมีส้วมใช้ เพราะส้วมที่ดีย่อมเป็นจุดจบของเชื้อโรค แต่ฮีโร่ส้วมต้องเจออุปสรรคมากมาย ทั้งความเคยชินของผู้ใช้ ความจำกัดของทุนทรัพย์ และการขาดแคลนน้ำประปา

สืบจากส้วม : ส้วมพระ มาจากไหน

ส้วมพระ มาจากไหน
ในสมัยสุโขทัย มีการเชื่อมสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น นอกจากหลักคำสอนแล้ว สุโขทัยยังรับ “กฎ กติกา มารยาท” และเทคโนโลยีในการขับถ่ายมาจากลังกาด้วย หนึ่งในนั้นก็ คือ “ถานพระ”

“ถานพระ” มีรูและร่อง ที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ช่วยแยกอุจจาระไม่ให้ปนกับปัสสาวะ เมื่ออุจจาระแห้งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็ลดลงไปอย่างมาก แต่เนื่องจากพื้นดินของประเทศไทยมีความชุ่มน้ำมาก ทำให้อุจจาระที่แม้ไม่เปียกด้วยปัสสาวะ ก็ต้องมาเปียกด้วยน้ำในหลุมดินอยู่ดี ถานพระชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักในดินแดนประเทศไทย

“เว็จ”
พระสงฆ์ มีคำเรียกสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะ คือ “เว็จ” มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตในคำว่า “วจฺจกุฏิ” ซึ่งหมายถึงสถานที่ขับถ่ายของสงฆ์ในวัด ต่อมาคำว่า “วจฺจ” แผลงเป็น “เว็จ” และใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึงส้วมโดยทั่วไป

สืบจากส้วม : ส้วมเจ้ามาจากไหน

ส้วมเจ้ามาจากไหน

เมื่อเรารับแนวคิด “เทวราชา” จากความเชื่อฮินดูที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ มาใช้กับการปกครองบ้านเมืองของสยาม การปฏิบัติกับพระราชาจึงต้องกระทำด้วยความพิเศษ มีพิธีกรรมและพิธีรีตองมากมายเพื่อให้สมสถานะและพระเกียรติยศ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูล เพราะถึงแม้จะเป็น อึ ก็เป็น “อึ” ของพระนารายณ์

อึ กับ พระราชา
อึ ในการรับรู้ของคนละกลุ่มย่อมแตกต่างกันไป สำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระมหากษัตริย์แล้ว อึ ถือเป็นเรื่องอัปมงคล คติความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นในธรรมเนียมการปฏิบัติประการหนึ่ง คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องผลัดผ้านุ่งลายสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นผ้าชนิดอื่นก่อนเข้าห้องพระบังคน (ห้องน้ำ) เพราะถือกันว่าสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามคติเทวราชา หากต้องเข้าใกล้อึ ก็อาจทำให้เกิดความมัวหมอง

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

สืบจากส้วม : เปิดตัวเทศบาลเพื่อนยาก

เทศบาลเอ๋งกับเทศบาลอู๊ด
สำหรับคน “ไปทุ่ง” หรือคนที่คิดจะอึในบางมุมของเมือง ก่อนจะนั่งลงหย่อนต้องกวาดตาให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีเจ้าเพื่อนยากสี่ขาสองชนิด คือ น้องหมูและน้องหมา ที่อาจเข้ามารบกวนความสงบ เพราะ อึ คือ อาหารโปรดของมัน

เทศบาลใต้บาดาล
สำหรับคน “ไปท่า” และคนที่อยู่ในเรือนแพ น่าจะหาความสงบได้ง่ายหน่อยตรงที่เทศบาลอย่างปลาแขยงจะซุ่มคอย “เหยื่อ” อยู่ที่ผิวน้ำจนเมื่อ “อาหาร” ตกลงมานั่นแหละ มันจึงเริ่มปฏิบัติ “ตอด” แบบไม่ให้เหลือซากเหลือกลิ่นเลยทีเดียว

สืบจากส้วม : โลกของส้วม

ส้วมไม่ใช่เรื่อง “ขี้ ๆ” มาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาเมื่อล้านปีที่แล้ว เพราะมนุษย์ทั้งโลกต่างคิดใคร่ครวญหาส้วมที่ “ดีที่สุด” มากำจัดอึ ก่อนที่อึจะย้อนมากำจัดเรา

คนไทยก็เหมือนกัน เรามีส้วมหลายแบบ ตั้งแต่การอึในทุ่งนาแบบใกล้ชิดธรรมชาติ การอึแบบลดกลิ่นโดยส้วมไฮเทคจากเมืองแขก หรือการอึแบบ “เทพ” ของชนชั้นปกครอง รวมไปถึงการอึใส่ถังสำหรับคนเมืองรุ่นแรกที่ยืมความคิดมาจากคนจีน ฯลฯ

ส้วมมากมายขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความหลากหลายของกลุ่มคนให้เราหยิบยืมความคิดมาปรับใช้และสูดดม

สืบจากส้วม : ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดที่ว่า “ประชาชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ” ชัดเจนขึ้นมาก ทำให้เรื่องส้วมๆกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถึงกับต้องส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุกถึงครัวเรือน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด เพื่อ “เซลไอเดีย” ให้ทุกคนหันมาสร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยรัฐบาลพร้อมจะสร้างส้วมให้ ขณะที่เจ้าของบ้านร่วมออกทุนหรือวัสดุเพียงบางส่วน

สืบจากส้วม : ไปทุ่ง ไปท่า

ไปทุ่ง ไปท่า

สังคมไทยในยุคดั้งเดิมที่ยังมีประชากรน้อย และอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาธรรมชาติ เรื่องอึ ก็เป็นเรื่อง “ขี้ ๆ” ใครมีบ้านเรือนอยู่ริมทุ่งนา ก็ไปอึในทุ่ง ใครมีบ้านอยู่ริมน้ำ ก็ไปอึที่ท่าน้ำ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไปทุ่ง” “ไปท่า” รวมถึงคำว่า “ไปป่า” ก็ย่อมเป็นคำพูดติดปากของคนที่มีบ้านอยู่ชายป่านั่นเอง
เมื่ออีเสร็จแล้ว อึนั้น ก็ไม่ได้ไปไหน แต่ถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด นิเวศวัฒนธรรมไตรภาค

สูจิบัตร นิทรรศการนิเวศวัฒนธรรมไตรภาค

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า

สูจิบัตร นิทรรศการชั่วคราว " กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า "

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ค้าของป่า

สูจิบัตร ถอดรหัสอยุธยาโมเดล ต้นแบบธุรกิจสร้างกำไร จากความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ

สูจิบัตรนิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สูจิบัตรนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ท่าเตียน กรุงเทพฯ บทที่ 1

สูจิบัตรเกี่ยวกับนิทรรศการท่าเตียน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สูจิบัตรนิทรรศการปรากฏการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด

สูจิบัตร นิทรรศการชั่วคราว ปริศนาแห่งลูกปัด

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

Results 1321 to 1340 of 1554