Showing 2730 results

Archival description
Print preview View:

2179 results with digital objects Show results with digital objects

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

สืบจากส้วม : ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการใช้ห้องน้ำของเจ้านายไว้ดังนี้
“ตามประเพณีโบราณ “ที่ลงพระบังคน (ห้องน้ำ) เป็นของมีได้แต่พระเจ้าแผ่นดิน หรือมีต่อลงมาได้เพียงเจ้านาย เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า “บังคน” เหมือนกัน แต่คนสามัญชนจะมีที่ลงบังคนไม่ได้” ดังนั้น การสร้างส้วมบนเรือน จึงเป็นการตีตนเสมอเจ้านายนั้นเอง

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

สืบจากส้วม : ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

โถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แท็งก์น้ำสูง ได้รับความนิยมในวังต่างๆ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มีกลไกดึงโซ่ ปล่อยน้ำจากแท็งก์สูงให้ไหลกระแทกลงมา แม้ว่าจะเกิดเสียงดัง แต่ก็ผลักสิ่งปฏิกูลทั้งมวลลงสู่บ่อเกรอะใต้ดินอย่างหมดจด นอกจากนี้ ยังมี “คอห่าน” ไว้ดักกลิ่นอย่างได้ผล ถือได้ว่า ห้องพระบังคนที่ใช้สุขภัณฑ์แบบนี้ ดำเนินตามกรอบคิด “ศิวิไลซ์” อย่างครบถ้วน

สืบจากส้วม : ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ก่อนหน้านี้ ส้วมทำหน้าที่เป็น “เครื่องสำอาง” ให้บ้านเมือง แต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส้วมได้เปลี่ยนบทบาทใหม่อย่างชัดเจน มาเป็น “ฮีโร่” พิชิตเชื้อโรค อย่างพยาธิปากขอ และอหิวาต์ รัฐบาลและองค์กรต่างประเทศได้รณรงค์ทุกวิถีทางให้ทุกครัวเรือนมีส้วมใช้ เพราะส้วมที่ดีย่อมเป็นจุดจบของเชื้อโรค แต่ฮีโร่ส้วมต้องเจออุปสรรคมากมาย ทั้งความเคยชินของผู้ใช้ ความจำกัดของทุนทรัพย์ และการขาดแคลนน้ำประปา

สืบจากส้วม : ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดที่ว่า “ประชาชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ” ชัดเจนขึ้นมาก ทำให้เรื่องส้วมๆกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถึงกับต้องส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุกถึงครัวเรือน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด เพื่อ “เซลไอเดีย” ให้ทุกคนหันมาสร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยรัฐบาลพร้อมจะสร้างส้วมให้ ขณะที่เจ้าของบ้านร่วมออกทุนหรือวัสดุเพียงบางส่วน

สืบจากส้วม : กระจายเสียง กระจายส้วม

กระจายเสียง กระจายส้วม

ในยุคทหารอเมริกันยกพลขึ้นบก ราวปีพุทธศักราช 2500 การรณรงค์ให้ใช้ส้วมผ่านภาพยนตร์ได้ผลดีนัก เพราะเป็นของใหม่ที่ใครๆ ก็อยากชม และเนื้อหาที่ปรากฏในภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถืออีกด้วย

สื่อภาพยนตร์ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก “สำนักงานข่าวสารอเมริกา” ในบรรยากาศสงครามเย็นเป็นไปได้หรือไม่ว่า สื่อเหล่านี้คือ กลยุทธ์หนึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สร้างคะแนนเสียง ทิ้งห่างประเทสมหาอำนาจคู่แข่งอย่าง สหภาพโซเวียต

สืบจากส้วม : โลกของส้วม

ส้วมไม่ใช่เรื่อง “ขี้ ๆ” มาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาเมื่อล้านปีที่แล้ว เพราะมนุษย์ทั้งโลกต่างคิดใคร่ครวญหาส้วมที่ “ดีที่สุด” มากำจัดอึ ก่อนที่อึจะย้อนมากำจัดเรา

คนไทยก็เหมือนกัน เรามีส้วมหลายแบบ ตั้งแต่การอึในทุ่งนาแบบใกล้ชิดธรรมชาติ การอึแบบลดกลิ่นโดยส้วมไฮเทคจากเมืองแขก หรือการอึแบบ “เทพ” ของชนชั้นปกครอง รวมไปถึงการอึใส่ถังสำหรับคนเมืองรุ่นแรกที่ยืมความคิดมาจากคนจีน ฯลฯ

ส้วมมากมายขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความหลากหลายของกลุ่มคนให้เราหยิบยืมความคิดมาปรับใช้และสูดดม

สืบจากส้วม : เปิดตัวเทศบาลเพื่อนยาก

เทศบาลเอ๋งกับเทศบาลอู๊ด
สำหรับคน “ไปทุ่ง” หรือคนที่คิดจะอึในบางมุมของเมือง ก่อนจะนั่งลงหย่อนต้องกวาดตาให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีเจ้าเพื่อนยากสี่ขาสองชนิด คือ น้องหมูและน้องหมา ที่อาจเข้ามารบกวนความสงบ เพราะ อึ คือ อาหารโปรดของมัน

เทศบาลใต้บาดาล
สำหรับคน “ไปท่า” และคนที่อยู่ในเรือนแพ น่าจะหาความสงบได้ง่ายหน่อยตรงที่เทศบาลอย่างปลาแขยงจะซุ่มคอย “เหยื่อ” อยู่ที่ผิวน้ำจนเมื่อ “อาหาร” ตกลงมานั่นแหละ มันจึงเริ่มปฏิบัติ “ตอด” แบบไม่ให้เหลือซากเหลือกลิ่นเลยทีเดียว

สืบจากส้วม : ส้วมเจ้ามาจากไหน

ส้วมเจ้ามาจากไหน

เมื่อเรารับแนวคิด “เทวราชา” จากความเชื่อฮินดูที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ มาใช้กับการปกครองบ้านเมืองของสยาม การปฏิบัติกับพระราชาจึงต้องกระทำด้วยความพิเศษ มีพิธีกรรมและพิธีรีตองมากมายเพื่อให้สมสถานะและพระเกียรติยศ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูล เพราะถึงแม้จะเป็น อึ ก็เป็น “อึ” ของพระนารายณ์

อึ กับ พระราชา
อึ ในการรับรู้ของคนละกลุ่มย่อมแตกต่างกันไป สำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระมหากษัตริย์แล้ว อึ ถือเป็นเรื่องอัปมงคล คติความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นในธรรมเนียมการปฏิบัติประการหนึ่ง คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องผลัดผ้านุ่งลายสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นผ้าชนิดอื่นก่อนเข้าห้องพระบังคน (ห้องน้ำ) เพราะถือกันว่าสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามคติเทวราชา หากต้องเข้าใกล้อึ ก็อาจทำให้เกิดความมัวหมอง

สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

”นางใน” กับ “อุโมงค์”

ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง มีข้าราชบริภารที่เป็นหญิง ซึ่งเรียกว่า “นางใน” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องสร้างสถานที่ขับถ่ายไว้โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า “อุโมงค์” จากคำบอกเล่า มี 4 สมมุติฐาน เกี่ยวกับอุโมงค์ดังนี้

สมมติฐานที่ 1
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์
ที่ตั้ง ริมแม่น้ำ นอกกำแพงวัง
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนน้ำ

“อุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่าง พุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน เพราะถ่ายลงในแม่น้ำ”

สมมติฐานที่ 2
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ระหว่างกำแพงวังชั้นในและชั้นนอก
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนดิน

อุโมงค์สมัยต้นรัชกาลที่ 5 น่าจะตั้งอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในของพระบรมมหาราชวัง การไปอุโมงค์นั้น สาวชาววังจะใช้ประตูกำแพงชั้นในที่เจาะเฉพาะ มีโขลนหรือทหารหญิงเฝ้าทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นทางฉนวน คือเป็นกำแพงสูงตลอดทั้งสองข้างป้องกันการหลบหนี ส่วนการขับถ่ายในอุโมงค์สมัยนี้ ควดว่าจะเป็นการนั่งถ่ายบนดิน

สมมติฐานที่ 3
สมัย รัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงร่อง ด้านล่างเป็นท่อระบายออกแม่น้ำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 “ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณหนาทึบ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งขึ้นไปรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชบานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆกับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานที่เปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆกัน คราวละหลายๆคน มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออก ให่ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

สมมติฐานที่ 4
สมัย ปลายรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงถังเท

ต่อมาเพื่อความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ คืออุโมงค์ที่บรรยายไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นอุโมงค์ทึบพุ่งยาวออกจากกำแพงวังมีปากทางเข้า อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ ใกล้ประตุศรีสุดาวงศ์ อุโมงค์ที่สร้างในสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถว สำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

สืบจากส้วม : ส้วมพระ มาจากไหน

ส้วมพระ มาจากไหน
ในสมัยสุโขทัย มีการเชื่อมสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น นอกจากหลักคำสอนแล้ว สุโขทัยยังรับ “กฎ กติกา มารยาท” และเทคโนโลยีในการขับถ่ายมาจากลังกาด้วย หนึ่งในนั้นก็ คือ “ถานพระ”

“ถานพระ” มีรูและร่อง ที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ช่วยแยกอุจจาระไม่ให้ปนกับปัสสาวะ เมื่ออุจจาระแห้งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็ลดลงไปอย่างมาก แต่เนื่องจากพื้นดินของประเทศไทยมีความชุ่มน้ำมาก ทำให้อุจจาระที่แม้ไม่เปียกด้วยปัสสาวะ ก็ต้องมาเปียกด้วยน้ำในหลุมดินอยู่ดี ถานพระชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักในดินแดนประเทศไทย

“เว็จ”
พระสงฆ์ มีคำเรียกสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะ คือ “เว็จ” มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตในคำว่า “วจฺจกุฏิ” ซึ่งหมายถึงสถานที่ขับถ่ายของสงฆ์ในวัด ต่อมาคำว่า “วจฺจ” แผลงเป็น “เว็จ” และใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึงส้วมโดยทั่วไป

สืบจากส้วม : ชนชั้นสูง

ชนชั้นสูง : หน้าด่านของความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 การทำบ้านเมืองให้มี “ความศิวิไลซ์” เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อดูหมิ่นที่ชาติตะวันตกอาจใช้เป็นข้าอ้างในการคุกคามล่าอาณานิคม ชนชั้นสูงในสมัยนั้นจึงเป็นคนกลุ่มแรกที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมี “อารยธรรม” ในทุกด้าน ไม่เว้นแต่เรื่องส่วนตัวในห้องน้ำ

ห้องน้ำของเจ้านายในสมัยนั้น เรื่อยต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 6 จึงคลาคล่ำไปด้วยเครื่องใช้แบบตะวันตก เช่น อ่างอาบน้ำ ฝักบัว รวมไปถึงชุดเครื่องสุขภัณฑ์แบบใหม่ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ โถชักโครก บิเดต์ หรือจากุซซี่

เล่ากันว่า บางครั้ง “ของนอก” เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงเท่าใดนัก เพราะเจ้านายบางพระองค์ยังคงโปรดปฏิบัติพระกิจวัตรแบบเดิม แต่ที่ต้องซื้อหามาไว้ ก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องประดับที่แสดงถึงความมีอารยะ เท่านั้นเอง

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

สืบเนื่องจากการที่มีคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ

Results 81 to 100 of 2730