Showing 2126 results

Archival description
Image
Print preview View:

2126 results with digital objects Show results with digital objects

เครื่องรางของขลัง : พระเกจิ

พระเกจิ

เกจิอาจารย์ ตามศัพท์แล้วแปลว่า อาจารย์บางท่าน อาจารย์บางพวก ที่มาของเกจิแรกเริ่มเดิมที หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ต่อมา มีภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ได้แต่งหนังสืออธิบายเพิ่มเติมข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือนั้นว่า พระอรรถกถาจารย์ หรือพระฎีกาจารย์ และในหนังสือที่แต่งมักอ้างถึงความคิดเห็นของอาจารย์อื่นๆที่เห็นด้วย หรือเห็นแย้งกับผู้แต่ง เรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงนั้นว่า “เกจิจารย์”

เครื่องรางของขลัง : นางกวัก

นางกวัก

อิทธิคุณของนางกวัก ถ้าจะให้ขายของได้ดีให้ละลายแป้งหอมลงในน้ำมันหอม แล้วเอานางกวักแช่ลงไปเสกด้วยมนต์นี้ "โอมเทิบ เทิบ มหาเทิบ เทิบ สัพพะเทิบ เทิบ สวาหะ" ตามกำลังวัน แล้วนำแป้งและน้ำมันหอมประพรมสิ่งของที่จะนำไปขาย และจุณเจิมที่หน้าร้านค้าจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

เคล็ดในการบูชานางกวักและกุมารทอง ให้อาราธนา หรืออธิษฐานทุกครั้ง ก่อนทำการค้าขาย และตั้งบูชาในที่อันควร โดยจุดธูปบูชา 5 ดอก พร้อมถวายน้ำเปล่า นอกจากนี้ ยังนิยมถวายน้ำแดง น้ำเขียว ไปจนถึงยาคูลท์ ส่วนพวงมาลัยสดนั้น ให้ขึ้นหิ้งทุกวันพระ แต่ห้ามถวายเหล้า หรือสิ่งเสพย์ติดเป็นอันขาด

คติการถวายของเล่นและน้ำหวานแก่กุมารทองนั้น คงมาจากความเชื่อที่ว่า กุมารทองยังเป็นเด็ก ชอบเล่นของเล่นและชอบดื่มน้ำหวานนั่นเอง

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

เครื่องรางของขลัง : ควายธนู

ควายธนู

วัวธนูหรือควายธนูนั้นเป็นเครื่องรางของขลังจำพวกอาถรรพ์พระเวทไม่ใช่เครื่องรางของขลังสามัญทั่วไป ผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้มีวิชาอยู่พอสมควรสามารถเรียก ปลุก ใช้ และเรียกกลับมาได้

วัวธนูหรือควายธนูเป็นวิชาของคนไทยแต่โบราณใช้เขาวัวที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแกะเป็นรูปวัวแล้วเจาะรูสำหรับบรรจุของอาถรรพ์ (ผมผีตายโหง 2 ศพ ปิดด้วยชันนางโลมใต้ดิน) แล้วลงอักขระธาตุพระกรณี (จะภะกะสะ) ที่ตัววัวหรือสร้างขึ้นมาจากสิ่งมีอาถรรพ์ (ตะปูจากโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง ทองแดงเถื่อน ดีบุก เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์) นำมาหล่อเป็นรูปโคหรือรูปกระทิงโทนแล้วลงอักขระยันต์

การทำวัวธนู นั้นจะมีเวทมนตร์คาถากำกับแตกต่างกัน โดยในการสร้างนั้นจะมีคาถาเชิญเทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสิงสถิต เวลาจะใช้วัวให้ออกไปต่อสู้กับศัตรูหรือภูตผีปีศาจก็ใช้คาถาปลุกแล้วสั่งให้ไป

เครื่องรางของขลัง : กุมารทอง

กุมารทอง

ตุ๊กตาทอง หรือกุมารทอง ในตำราเดิมสร้างด้วยดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู มาปั้นแจกชาวบ้าน เพื่อเป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะเชื่อกันว่าดินดังกล่าวมีเทวดารักษา มีความศักดิ์สิทธิ์ ใช้ดินอาถรรพ์ทั้งหมดมาผสมรวมกัน และปั้นขึ้นรูปกุมารตามตำราหลวงพ่อเต๋ และหาฤกษ์ยามวันเวลาก่อนนำองค์กุมารที่ปั้นเสร็จไปเข้าเตาเผาดินให้ดินสุกตามฤกษ์ก่อนฟ้าสาง

การนำกุมารมาปลุกเสกด้วยวิทยาคมบริกรรมคาถาเรียกดวงวิญญาณสถิต โดยนั่งสมาธิขอเชิญพญามัจจุราชในยมโลกเพื่อขออนุญาตนำดวงวิญญาณเด็กมาสถิตในองค์กุมารทอง เสริมสร้างบุญบารมี โดยการช่วยเหลือมนุษย์ในเรื่องของการค้าขาย ป้องกันภัย ดวงวิญญาณนั้นก็จะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

ของที่ระลึกนิทรรศการ สืบจากส้วม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

ของที่ระลึกนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เข็มกลัด

เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.

สืบจากส้วม : ไปทุ่ง ไปท่า

ไปทุ่ง ไปท่า

สังคมไทยในยุคดั้งเดิมที่ยังมีประชากรน้อย และอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาธรรมชาติ เรื่องอึ ก็เป็นเรื่อง “ขี้ ๆ” ใครมีบ้านเรือนอยู่ริมทุ่งนา ก็ไปอึในทุ่ง ใครมีบ้านอยู่ริมน้ำ ก็ไปอึที่ท่าน้ำ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไปทุ่ง” “ไปท่า” รวมถึงคำว่า “ไปป่า” ก็ย่อมเป็นคำพูดติดปากของคนที่มีบ้านอยู่ชายป่านั่นเอง
เมื่ออีเสร็จแล้ว อึนั้น ก็ไม่ได้ไปไหน แต่ถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา

สืบจากส้วม : ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดที่ว่า “ประชาชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ” ชัดเจนขึ้นมาก ทำให้เรื่องส้วมๆกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถึงกับต้องส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุกถึงครัวเรือน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด เพื่อ “เซลไอเดีย” ให้ทุกคนหันมาสร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยรัฐบาลพร้อมจะสร้างส้วมให้ ขณะที่เจ้าของบ้านร่วมออกทุนหรือวัสดุเพียงบางส่วน

สืบจากส้วม : โลกของส้วม

ส้วมไม่ใช่เรื่อง “ขี้ ๆ” มาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาเมื่อล้านปีที่แล้ว เพราะมนุษย์ทั้งโลกต่างคิดใคร่ครวญหาส้วมที่ “ดีที่สุด” มากำจัดอึ ก่อนที่อึจะย้อนมากำจัดเรา

คนไทยก็เหมือนกัน เรามีส้วมหลายแบบ ตั้งแต่การอึในทุ่งนาแบบใกล้ชิดธรรมชาติ การอึแบบลดกลิ่นโดยส้วมไฮเทคจากเมืองแขก หรือการอึแบบ “เทพ” ของชนชั้นปกครอง รวมไปถึงการอึใส่ถังสำหรับคนเมืองรุ่นแรกที่ยืมความคิดมาจากคนจีน ฯลฯ

ส้วมมากมายขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความหลากหลายของกลุ่มคนให้เราหยิบยืมความคิดมาปรับใช้และสูดดม

สืบจากส้วม : เปิดตัวเทศบาลเพื่อนยาก

เทศบาลเอ๋งกับเทศบาลอู๊ด
สำหรับคน “ไปทุ่ง” หรือคนที่คิดจะอึในบางมุมของเมือง ก่อนจะนั่งลงหย่อนต้องกวาดตาให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีเจ้าเพื่อนยากสี่ขาสองชนิด คือ น้องหมูและน้องหมา ที่อาจเข้ามารบกวนความสงบ เพราะ อึ คือ อาหารโปรดของมัน

เทศบาลใต้บาดาล
สำหรับคน “ไปท่า” และคนที่อยู่ในเรือนแพ น่าจะหาความสงบได้ง่ายหน่อยตรงที่เทศบาลอย่างปลาแขยงจะซุ่มคอย “เหยื่อ” อยู่ที่ผิวน้ำจนเมื่อ “อาหาร” ตกลงมานั่นแหละ มันจึงเริ่มปฏิบัติ “ตอด” แบบไม่ให้เหลือซากเหลือกลิ่นเลยทีเดียว

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

สืบจากส้วม : ส้วมเจ้ามาจากไหน

ส้วมเจ้ามาจากไหน

เมื่อเรารับแนวคิด “เทวราชา” จากความเชื่อฮินดูที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ มาใช้กับการปกครองบ้านเมืองของสยาม การปฏิบัติกับพระราชาจึงต้องกระทำด้วยความพิเศษ มีพิธีกรรมและพิธีรีตองมากมายเพื่อให้สมสถานะและพระเกียรติยศ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูล เพราะถึงแม้จะเป็น อึ ก็เป็น “อึ” ของพระนารายณ์

อึ กับ พระราชา
อึ ในการรับรู้ของคนละกลุ่มย่อมแตกต่างกันไป สำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระมหากษัตริย์แล้ว อึ ถือเป็นเรื่องอัปมงคล คติความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นในธรรมเนียมการปฏิบัติประการหนึ่ง คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องผลัดผ้านุ่งลายสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นผ้าชนิดอื่นก่อนเข้าห้องพระบังคน (ห้องน้ำ) เพราะถือกันว่าสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามคติเทวราชา หากต้องเข้าใกล้อึ ก็อาจทำให้เกิดความมัวหมอง

สืบจากส้วม : ส้วมพระ มาจากไหน

ส้วมพระ มาจากไหน
ในสมัยสุโขทัย มีการเชื่อมสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น นอกจากหลักคำสอนแล้ว สุโขทัยยังรับ “กฎ กติกา มารยาท” และเทคโนโลยีในการขับถ่ายมาจากลังกาด้วย หนึ่งในนั้นก็ คือ “ถานพระ”

“ถานพระ” มีรูและร่อง ที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ช่วยแยกอุจจาระไม่ให้ปนกับปัสสาวะ เมื่ออุจจาระแห้งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็ลดลงไปอย่างมาก แต่เนื่องจากพื้นดินของประเทศไทยมีความชุ่มน้ำมาก ทำให้อุจจาระที่แม้ไม่เปียกด้วยปัสสาวะ ก็ต้องมาเปียกด้วยน้ำในหลุมดินอยู่ดี ถานพระชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักในดินแดนประเทศไทย

“เว็จ”
พระสงฆ์ มีคำเรียกสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะ คือ “เว็จ” มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตในคำว่า “วจฺจกุฏิ” ซึ่งหมายถึงสถานที่ขับถ่ายของสงฆ์ในวัด ต่อมาคำว่า “วจฺจ” แผลงเป็น “เว็จ” และใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึงส้วมโดยทั่วไป

Results 81 to 100 of 2126