ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน 2475 กับวันเวลาที่หมุนไป
หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “2475 กับวันเวลาที่หมุนไป” โดย ผศ. ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในประเทศสยาม เดือนที่มีวันแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองโดยประชาชน เป็นวันเริ่มต้นการปกครองที่ประชาชนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับการเมืองครั้งแรก การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมโยงประเด็นหลายๆ ประเด็น ทั้งประเด็นของเศรษฐกิจ สังคม และบริบทของความร่วมสมัย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน ท่องบรรณโลก คณะราษฎรและเสรีไทย
หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “ท่องบรรณโลก คณะราษฎรและเสรีไทย" โดย คุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ นำเสนอประวัติศาสตร์การเมืองช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน ศาสนากับคนรุ่นใหม่
หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “ศาสนากับคนรุ่นใหม่" โดย คุณวิจักขณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธา นำเสนอศาสนาในมิติของคุณค่าทางจิตวิญญาณ การเยียวยาจิตใจ ความสัมพันธ์ของศาสนากับการดำเนินชีวิต วิถีชีวิตของคนในสังคม ศาสนากับโครงสร้างทางสังคม อิทธิพลของสังคมและการเมืองต่อศาสนา บทบาทขององค์กรทางศาสนา พุทธศาสนาในโลกร่วมสมัย คุณค่าของศาสนา การปรับตัวและความคงอยู่ของศาสนา พื้นที่ในการเรียนรู้ด้านศาสนา พื้นที่ทางศาสนา การภาวนาและพื้นที่ในการภาวนา
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ห้องสุวรรณภูมิ
เป็นห้องที่ทำให้รู้จัก “สุวรรณภูมิ” ดินแดนแห่งความมั่งคั่งผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะ และความเชื่อ (ผี-พราหมณ์-พุทธ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสุวรรณภูมิ คือ รากหง้าของประเทศไทย
ห้องเบิกโรง
เป็นภาพยนตร์แนะนำตัวละครทั้ง 7 ที่จะปรากฏอยู่ในนิทรรศการเรียงความประเทศไทย ที่จะพาผู้เข้าชมย้อนกลับไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิด จากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใคร และอะไรคือไทยแท้
ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ
เปิดตำนานสุวรรณภูมิ แสดงถึงวิวัฒนาการสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “สุวรรณภูมิ” คือชื่อที่ชาวโลกเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน ใช้เรียกดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของอินเดีย ส่วนหนึ่งของพื้นที่แห่งนี้มีกรุงเทพฯ ที่ยังนอนสงบนิ่งอยู่ใต้ทะเล ซึ่งการศึกษาโครงกระดูก หลุมฝังศพ และอารยธรรมที่ฝังอยู่ใต้ดินทำให้รู้จักดินแดนแห่งนี้มากขึ้น
ห้องไทยแท้
เป็นห้องที่ทำให้เกิดความอยากรู้ว่าไทยแท้คืออะไร และเป็นอย่างไรจึงเรียกว่าไทยแท้
ไทยแท้ มาจากผสมผสาน เลือกรับปรับและใช้ ได้อย่างสมบูรณ์แบบและลงตัว
การไหว้ มวยไทย ส้มตำ ตัวอักษรไทย ดนตรีไทย รำไทย ล้วนแล้วแต่มีรากที่มีหลากหลาย
เกม
เกมโมเดลกระดาษ มี 4 รูปแบบ คือ
- รูปรองเท้าส้นสูงสีม่วง
- รูปรองเท้าส้นสูงสีแดง
- รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาล
- รองเท้าผ้าใบสีน้ำเงิน
จากงาน Night at the Museum ครั้งที่ 9 วันที่ 20 - 22 ธันวาคม 2562 เวลา 16.00 - 22.00 น.
เข็มกลัด
เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.