Showing 2126 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
Image อังกฤษ
Print preview View:

2126 results with digital objects Show results with digital objects

image 63

แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า ส่วนประกอบสำคัญจะต้องมีผงแกงฮังเลหรือผงมัสล่าซึ่งเป็นผงเครื่องเทศแบบผสมแบบเดียวกับการัม มาซาลาของอินเดีย ส่วนน้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกแห้ง เกลือ ข่าแก่ ตะไคร้ หอมแดง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อยกินกับมะม่วงสะนาบซึ่งเป็นมะม่วงสับ ยำกับกะปิคั่ว กุ้งแห้งป่น และกระเทียมเจียว

ปริศนาแห่งลูกปัด : โลกของลูกปัด

ความมหัศจรรย์ของลูกปัดทั่วโลกจากหลักฐานที่ค้นพบ แสดงให้เห็นว่า ลูกปัดได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของมนุษย์ที่สั่งสมผ่านกาลเวลา สืบทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชนจนถึงระดับภูมิภาค มีพัฒนาการทั้งด้านวัตถุดิบ เทคนิคการผลิต และรูปลักษณ์อันหลากหลาย

มนุษย์ใช้ลูกปัดด้วยเหตุผลหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นเครื่องประดับ เป็นสิ่งบ้งชี้สถานะทางสังคม เครื่องรางของขลัง สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเป็นสินค้า

ปริศนาแห่งลูกปัด : เส้นสีขีดแบ่งชั้น

ลูกปัดหินเขียนลาย เกิดขึ้นครั้งแรกในอารยธรรมเมโสโปเตเมียและแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 4,500-3,500 ปีมาแล้ว ต่อมานิยมผลิตกันมากที่อินเดียเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว ลวดลายสีขาวบนลูกปัดเกิดจากการเขียนลาย ด้วยสารผสมและการเผาไฟ ทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสีบนผิว เทคนิคพิเศษนี้เป็นความลับของช่างทำลูกปัดที่สืบทอดเฉพาะคนในตระกูล ลูกปัดหินเขียนลายจึงมีค่าสูงกว่าลุกปัดหินทั่วไป และสงวนไว้สำหรับชนชั้นปกครอง

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตตอนกลางของประเทศไทยปัจจุบัน

บริเวณภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน มีเมืองท่าสุวรรณภูมิที่สำคัญ ได้แก่ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว เมืองโบราณเหล่านี้เป็นเมืองใกล้ชายฝั่งทะเล สะดวกในการพักเรือและขนถ่ายสินค้า

เมืองท่าสุวรรณภูมิในเขตภาคกลางนั้น ปรากฏร่องรอยการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 3-5 และต่อเนื่องมาจนถึงพุทธสตวรรษที่ 12-13 ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วสีเดียว

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตคาบสมุทรมลายูปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ภูเขาทอง จังหวัดระนอง ท่าชนะ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา คลองท่อม จังหวัดกระบี่ รวมทั้งกัวลาเซลินซิง ประเทศมาเลเซีย

เมืองท่าสองฝั่งคาบสมุทรนี้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลซึ่งมีที่กำบังลมมรสุมเพื่อจอดพักเรือ และอยู่บริเวณปากแม่น้ำทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าถึงกันได้โดยใช้เส้นทางน้ำ เช่น แม่น้ำตะกั่วป่า และลำน้ำสาขา

ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ในเมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ ลูกปัดคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วหลากหลายรูปทรงและสีสัน รวมทั้งพบหลักฐานการผลิตลูกปัดจำนวนมากในบริเวณนี้ด้วย

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม

ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย

ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด

ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก

สืบจากส้วม : ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการใช้ห้องน้ำของเจ้านายไว้ดังนี้
“ตามประเพณีโบราณ “ที่ลงพระบังคน (ห้องน้ำ) เป็นของมีได้แต่พระเจ้าแผ่นดิน หรือมีต่อลงมาได้เพียงเจ้านาย เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า “บังคน” เหมือนกัน แต่คนสามัญชนจะมีที่ลงบังคนไม่ได้” ดังนั้น การสร้างส้วมบนเรือน จึงเป็นการตีตนเสมอเจ้านายนั้นเอง

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

สืบจากส้วม : ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

โถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แท็งก์น้ำสูง ได้รับความนิยมในวังต่างๆ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มีกลไกดึงโซ่ ปล่อยน้ำจากแท็งก์สูงให้ไหลกระแทกลงมา แม้ว่าจะเกิดเสียงดัง แต่ก็ผลักสิ่งปฏิกูลทั้งมวลลงสู่บ่อเกรอะใต้ดินอย่างหมดจด นอกจากนี้ ยังมี “คอห่าน” ไว้ดักกลิ่นอย่างได้ผล ถือได้ว่า ห้องพระบังคนที่ใช้สุขภัณฑ์แบบนี้ ดำเนินตามกรอบคิด “ศิวิไลซ์” อย่างครบถ้วน

สืบจากส้วม : ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ก่อนหน้านี้ ส้วมทำหน้าที่เป็น “เครื่องสำอาง” ให้บ้านเมือง แต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส้วมได้เปลี่ยนบทบาทใหม่อย่างชัดเจน มาเป็น “ฮีโร่” พิชิตเชื้อโรค อย่างพยาธิปากขอ และอหิวาต์ รัฐบาลและองค์กรต่างประเทศได้รณรงค์ทุกวิถีทางให้ทุกครัวเรือนมีส้วมใช้ เพราะส้วมที่ดีย่อมเป็นจุดจบของเชื้อโรค แต่ฮีโร่ส้วมต้องเจออุปสรรคมากมาย ทั้งความเคยชินของผู้ใช้ ความจำกัดของทุนทรัพย์ และการขาดแคลนน้ำประปา

สืบจากส้วม : ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดที่ว่า “ประชาชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ” ชัดเจนขึ้นมาก ทำให้เรื่องส้วมๆกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถึงกับต้องส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุกถึงครัวเรือน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด เพื่อ “เซลไอเดีย” ให้ทุกคนหันมาสร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยรัฐบาลพร้อมจะสร้างส้วมให้ ขณะที่เจ้าของบ้านร่วมออกทุนหรือวัสดุเพียงบางส่วน

สืบจากส้วม : กระจายเสียง กระจายส้วม

กระจายเสียง กระจายส้วม

ในยุคทหารอเมริกันยกพลขึ้นบก ราวปีพุทธศักราช 2500 การรณรงค์ให้ใช้ส้วมผ่านภาพยนตร์ได้ผลดีนัก เพราะเป็นของใหม่ที่ใครๆ ก็อยากชม และเนื้อหาที่ปรากฏในภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถืออีกด้วย

สื่อภาพยนตร์ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก “สำนักงานข่าวสารอเมริกา” ในบรรยากาศสงครามเย็นเป็นไปได้หรือไม่ว่า สื่อเหล่านี้คือ กลยุทธ์หนึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สร้างคะแนนเสียง ทิ้งห่างประเทสมหาอำนาจคู่แข่งอย่าง สหภาพโซเวียต

ผลลัพธ์ 181 to 200 of 2126