Showing 1554 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1195 results with digital objects Show results with digital objects

ภาพถ่ายพิธีเปิดนิทรรศการถอดรหัสไทย

นายปรมินทร์ เครือทอง ที่ปรึกษาสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นผู้นำชมนิทรรศการถาวร ถอดรหัสไทย แก่คณะรองนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการบริหารสบร. และแขกผู้มีเกียรติ

เครื่องรางของขลัง : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ปลัดขิก เชื่อกันว่า มีการสร้างปลัดขิกมาตั้งแต่โบราณ และมีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เพราะเชื่อว่า อวัยวะเพศชายเป็นต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จนพัฒนาเป็นคติการบูชาศิวลึงค์
ปลัดขิกสร้างจากวัสดุหลายชนิด เช่น หินศักดิ์สิทธิ์ ไม้มงคล ทองเหลือง ทองแดง เงิน ทองคำ เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาช้าง และกัลปังหาจากท้องทะเล เป็นต้น

ปลัดขิกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ เช่น ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา ปลัดขิกของอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์ฆราวาส เป็นต้น

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคภาพยนตร์เพลง (พ.ศ. 2513 - 2515)

ยุคภาพยนตร์เพลง (พ.ศ. 2513 - 2515)

เมื่อมีการแข่งขันกันเองระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งในยุคนี้ จึงเริ่มนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบในภาพยนตร์ ซึ่งเรื่องแรกที่โด่งดัง เป็นที่กล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมากคือ มนต์รักลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลงมนต์รักลูกทุ่ง ที่ไพบูลย์ บุตรขัน เป็นผู้แต่ง ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร มีความไพเราะ ทั้งท่วงทำนอง และเนื้อหา ดุจบทกวีที่ประทับใจผู้ชม เช่น "หอมเอย หอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง…หอมดินเคล้ากลิ่นไอฝน ครวญระคนหอมแก้มนงคราญ ขลุ่ยเป่าแผ่วพลิ้วผ่านทิวแถวต้นตาล มนต์รักเพลงชาวบ้านลูกทุ่งแผ่วมา" ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องต่อๆ มาในยุคนี้ เปลี่ยนแนวมาเป็นภาพยนตร์เพลงส่วนใหญ่ เช่น เรื่อง โทน ที่มีสังข์ทอง สีใส ร้องนำ เนื้อหาของเพลงในช่วงนี้ นอกจากเป็นเรื่องของชาวชนบทท้องทุ่งท้องนาแล้ว ยังแทรกอารมณ์ขันและคารมเสียดสีด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : ระหัดวิดน้ำ

ระหัดวิดน้ำ

การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา

สืบจากส้วม : ส้วมพระ มาจากไหน

ส้วมพระ มาจากไหน
ในสมัยสุโขทัย มีการเชื่อมสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น นอกจากหลักคำสอนแล้ว สุโขทัยยังรับ “กฎ กติกา มารยาท” และเทคโนโลยีในการขับถ่ายมาจากลังกาด้วย หนึ่งในนั้นก็ คือ “ถานพระ”

“ถานพระ” มีรูและร่อง ที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ช่วยแยกอุจจาระไม่ให้ปนกับปัสสาวะ เมื่ออุจจาระแห้งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็ลดลงไปอย่างมาก แต่เนื่องจากพื้นดินของประเทศไทยมีความชุ่มน้ำมาก ทำให้อุจจาระที่แม้ไม่เปียกด้วยปัสสาวะ ก็ต้องมาเปียกด้วยน้ำในหลุมดินอยู่ดี ถานพระชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักในดินแดนประเทศไทย

“เว็จ”
พระสงฆ์ มีคำเรียกสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะ คือ “เว็จ” มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตในคำว่า “วจฺจกุฏิ” ซึ่งหมายถึงสถานที่ขับถ่ายของสงฆ์ในวัด ต่อมาคำว่า “วจฺจ” แผลงเป็น “เว็จ” และใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึงส้วมโดยทั่วไป

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

สืบเนื่องจากการที่มีคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

Results 1101 to 1120 of 1554