Showing 1901 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
เรื่อง With digital objects
Print preview View:

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคเพลงลูกทุ่งแนวสตริง (พ.ศ. 2528 - 2535)

ยุคเพลงลูกทุ่งแนวสตริง (พ.ศ. 2528 - 2535)

เมื่อดนตรีแนวสตริง และแนวร็อก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพลงสตริงสำหรับวัยรุ่นแพร่หลายเต็มตลาด ความนิยมเพลงลูกทุ่งเริ่มลดน้อยลง ทำให้เพลงลูกทุ่งต้องปรับตัวให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่ แนวสตริงคอมโบ เพื่อให้เพลงลูกทุ่งกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง นักร้องเพลงลูกทุ่ง ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนี้ คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นนักร้องที่มีศักยภาพสูง มีลีลาการร้อง และการเต้น ที่เข้ากับดนตรีสมัยนิยม และเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงคนแรก ที่ได้บุกเบิกมิวสิกวิดีโอของวงการเพลงไทย ผลงานชุดแรกของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ อื้อหือ หล่อจัง เมื่อ พ.ศ. 2528 จึงประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง ทำลายเส้นแบ่งรสนิยมของผู้ฟัง ซึ่งก่อนหน้านี้ถือว่า ผู้ที่มีรสนิยมดีต้องฟังเพลงสากล เพลงลูกกรุง เพลงสตริง แต่เพลงลูกทุ่งของพุ่มพวงเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม และฟังได้ทุกชนชั้น เนื้อหาของเพลงได้เปลี่ยนบทบาทของผู้หญิงจากเดิม ที่ต้องเก็บกดความรู้สึก หรือเป็นฝ่ายถูกกระทำ มาเป็นผู้หญิงที่กล้าพูด กล้าทำ กล้าเปิดเผยความรู้สึก ฉลาดรู้ทันคน

หลังจาก พ.ศ. 2528 ได้มีนักร้องจากต่างประเทศมาเปิดการแสดง เรียกว่า เป็นการแสดงคอนเสิร์ต ต่อมา นักร้องไทยจึงจัดการแสดงคอนเสิร์ตตามอย่าง โดยพุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ต ที่เซ็นทรัลพลาซ่า เมื่อ พ.ศ. 2529 ขณะที่เพลง กระแซะเข้ามาซิ ได้รับความนิยมอย่างสูง และมีผู้ชมการแสดงล้นหลาม นับเป็นมิติใหม่ ของวงการเพลงลูกทุ่งไทย ทำให้วงการเพลงลูกทุ่งเปลี่ยนจากเพลงที่เรียบง่ายธรรมดา ฟังสบายๆ มาเป็นเพลงที่เร่าร้อน จังหวะสนุกสนาน และมีสีสัน สร้างความประทับใจ ให้แก่ผู้ฟังทั่วประเทศ

จับไมค์ใส่ขนนก : ลักษณะสำคัญของเพลงลูกทุ่ง 1

ลักษณะสำคัญของเพลงลูกทุ่ง 1

เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่มีลักษณะฟังง่าย เข้าใจง่าย สามารถนำมาร้องตามได้ ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรในการประพันธ์เพลง ไม่ว่าจะนำเพลงพื้นบ้าน เช่น ลิเก ลำตัด แหล่ หมอลำ เซิ้ง มโนราห์ มาร้องและปรับแต่งทำนองเนื้อหา ตลอดจนนำเพลงไทยเดิม หรือเพลงต่างประเทศ เช่น เพลงจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาปรับปรุงแต่งเนื้อร้องเพิ่มทำนองใหม่ หลักสำคัญของการสร้างทำนอง คือ ให้สามารถบรรจุคำร้องและบันทึกเป็นโน้ตสากลเพื่อบรรเลงด้วยดนตรีสากลได้

ลักษณะเด่นของเพลงลูกทุ่ง คือ การร้องที่ร้องอย่างเต็มเสียง ชัดถ้อยชัดคำ การเอื้อนเสียง การใช้ลูกคอ หรือการระรัวเสียงลูกคอ ของเพลงลูกทุ่ง ซึ่งมีช่วงเสียงที่ลึกและกว้าง คลื่นลูกคอแต่ละคลื่นจะห่างกัน นอกจากนี้ทำนองของเพลงลูกทุ่งก็มีลักษณะพิเศษ ที่เด่นชัดอีกประการคือ การนำท่วงทำนองจากเพลงไทยเดิมมาใช้ ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ มีความว่า
"เมื่อข้าพเจ้าเติบโตขึ้น ได้ฟังเพลงอย่างพินิจพิเคราะห์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งได้ร่ำเรียนดนตรีไทยจากท่านผู้รู้ต่าง ๆ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็ได้เห็นความจริงว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นที่ดีมากคือ การร้องเพลงด้วยเสียงแท้ และร้องเต็มเสียงอย่างชัดถ้อยชัดคำ อีกประการหนึ่ง ลีลาการขับร้องเพลงลูกทุ่งคือ การเอื้อนเสียง นักร้องลูกทุ่งทุกคนมีวิธีเอื้อนเสียงให้อารมณ์แบบพื้นบ้านที่ไพเราะน่าฟัง แตกต่างไปจากเพลงไทยอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างของลูกทุ่งแท้ๆ หากนำวิธีเอื้อนที่ใช้ในเพลงไทยไปใช้กับเพลงลูกทุ่งแล้ว เพลงนั้นก็จะขาดความเป็นเพลงลูกทุ่งทันที ในทางกลับกัน จะนำเอื้อนลูกทุ่งไปใช้ในเพลงไทยก็ไม่ดีเช่นกัน

เพลงลูกทุ่งดีๆ หลายเพลงได้ทำนองมาจากเพลงไทยของเก่า มีทั้งที่ใช้ทำนองเดิมตลอดทั้งเพลง และที่นำเค้าโครงเพลงเก่ามาดัดแปลงขึ้นใหม่ นับว่า เป็นสะพานเชื่อมให้ของเก่าต่อกับของใหม่ หากบอกว่า มาจากของเก่าชื่ออะไรด้วย คนรุ่นใหม่ก็จะได้เรียนรู้เพลงเก่าไปพร้อมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เพลงนกแล มาจากเพลงลาวต้อยติ่ง เพลงรักจางที่บางปะกง ที่สดใส รุ่งโพธิ์ทอง ร้อง มาจากเพลงแขกมอญบางขุนพรหม 2 ชั้น เพลงหนุ่มนารอนาง ของไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาจากเพลงลาวลำปาง เพลงลูกทุ่งเสี่ยงเทียน ของชินกร ไกรลาศ ก็มาจากเพลงลาวเสี่ยงเทียน ที่ได้มาจากเพลงไทย แล้วแต่งเติมเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็มี เพลงยอยศพระลอ ของชินกร ไกรลาศ (เพลงนี้ร้องเกริ่นสำเนียงลาวคล้ายเกริ่นลาวครวญ แต่ไม่ใช่ แล้วนำเพลงลาวกระทบไม้เข้ามาต่อ) ที่ได้มาจากเพลงของเด็ก เป็นเพลงไทยพื้นบ้านก็มี ที่ทำไว้ดีก็คือ เพลงอ้อนจันทร์ ศรชัย เมฆวิเชียร ขับร้อง"

จับไมค์ใส่ขนนก : ลักษณะสำคัญของเพลงลูกทุ่ง 2

ลักษณะสำคัญของเพลงลูกทุ่ง 2

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของเพลงลูกทุ่ง จากการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย" เมื่อวันที่ 25 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 สรุปได้ 4 ประการดังนี้

  1. เรียบง่าย
    คำร้อง เนื้อร้องของเพลงลูกทุ่งมีความเรียบง่าย แต่ยังคงไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน มีลักษณะสัมผัสแบบกลอน มีท่อนวรรคสดับ รับ รอง ส่ง แต่ละวรรคจะมีคำร้องจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทำนองและจังหวะของบทเพลง

  2. ใส่ความรู้สึก
    เพลงลูกทุ่งสามารถใส่ความรู้สึกตลก เศร้า เสียดสี สนุกสนาน สามารถเล่นเสียง มีลีลาการร้องที่ไม่เหมือนเพลงลูกกรุง ที่ร้องแบบเรียบ ๆ เนื่องจากเพลงลูกทุ่งรับเอาวัฒนธรรมมาจากเพลงไทยเดิม และเพลงพื้นบ้าน จึงเปิดทางให้ผู้ร้องใส่ความรู้สึกลงไปในถ้อยคำได้

  3. บันทึกเรื่อง
    เพลงลูกทุ่งส่วนมากจะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นับเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์สังคมไทยในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ภาวะสงคราม การเมือง สภาพสังคมสมัยต่าง ๆ

  4. เฟื่องภาษา
    เพลงลูกทุ่งสามารถใช้ถ้อยคำบรรยายให้เกิดภาพพจน์ บางเพลงมีสำนวนโวหารที่สละสลวย

จับไมค์ใส่ขนนก : เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกาย

ในยุคแรก ๆ นักร้องลูกทุ่งยังคงแต่งกายในรูปแบบการแต่งกายของชาวชนบท นักร้องชายใส่เสื้อม่อฮ่อม นักร้องหญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุง เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็พัฒนาให้มีความแปลกใหม่ตามไปด้วย นักร้องชายเริ่มมีการใส่สูท ส่วนชุดของนักร้องหญิงมีสีสันสดใส รูปแบบหลากหลาย และมีเครื่องประดับตกแต่งเพื่อให้มีความโดดเด่นที่สุดบนเวที ความสวยงามหรูหราของเครื่องแต่งกายนักร้อง มีการปักเลื่อม ติดระบาย รวมทั้งหางเครื่องที่มีการพัฒนาเครื่องแต่งกาย จากเดิมเพียงแค่คนในวงที่ว่างงานที่ช่วยเขย่าเครื่องดนตรี มาเป็นการเต้นประกอบเพลงด้วย รูปแบบเครื่องแต่งกายที่มีสีสัน มีการใช้ขนนก เลื่อม เพชรประดับตกแต่งให้ดูสวยงาม หรูหรา เห็นแล้วสะดุดตา ปัจจุบันมีการพัฒนาและประยุกต์ชุดหางเครื่องให้มีความทันสมัย เช่น การดัดแปลงจากชุดไทยให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเครื่องแต่งกายของนักร้องชายที่เห็นได้ชัดเจน คือ จักรพรรณ์ อาบครบุรี ซึ่งเจ้าของค่ายเพลงมีการลงทุนด้านเครื่องแต่งกายสูงมาก นับเป็นการปฏิวัติการแต่งกายของนักร้องที่จะต้องตกแต่งปักเลื่อมติดเพชร ให้มีความสวยงามสะดุดตาผู้ชม

จับไมค์ใส่ขนนก : ผู้ชม

ผู้ชม

การแสดงความนิยมชมชอบของผู้ชม ที่มีต่อนักร้องที่ตนชื่นชอบ คือ การช่วยสนับสนุน ซื้อผลงานของนักร้องผู้นั้น หรือการซื้อบัตรชมการแสดง ซึ่งเวลาชมการแสดงของนักร้อง ที่ตนนิยม นอกจากจะปรบมือแสดงความชื่นชมแล้ว ยังมีการมอบสิ่งของ เช่น พวงมาลัยคล้องคอ ของขวัญ ให้นักร้องในเวลาที่ร้องเพลงจบ หรือในช่วงที่ดนตรีบรรเลงคั่นเพลง พวงมาลัยมีทั้งแบบที่ซื้อจากหน้างาน ซึ่งมักเป็นการจำหน่ายของวงดนตรีวงนั้น ๆ เอง หรือเจ้าภาพนำมาจำหน่าย และแบบที่ผู้ชมจัดเตรียมมาเอง รูปแบบของพวงมาลัยอาจแบ่งได้ 4 ลักษณะ ได้แก่

1) พวงมาลัยที่ทำจากดอกไม้สด เช่น ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ และอื่นๆ
2) พวงมาลัยที่ทำจากริบบิ้นคล้องกันเป็นลูกโซ่
3) พวงมาลัยที่ทำจากธนบัตร และ
4) พวงมาลัยที่มีลักษณะผสมผสานกัน เช่น พวงมาลัยดอกดาวเรืองติดธนบัตร

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ลูกทุ่ง

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอแง่มุมอันหลากหลายของเพลงลูกทุ่งไทย แสดงให้เห็นการคลี่คลายจากเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้าน ผสมผสานเข้ากับรูปแบบของดนตรีตะวันตก เกิดเป็นการแสดงที่มีรูปแบบเฉพาะ ถูกใจประชาชนไทย รวมทั้งมีการพัฒนาควบคู่ไปกับสังคมไทยนับตั้งแต่ศิลปะการแสดงประเภทนี้ถือกำเนิดมา

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ระยะเวลาจัดแสดง
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ปริศนาแห่งลูกปัด : บรรพบุรุษของลูกปัด

เมื่อประมาณ 45,000 ปี มาแล้ว มนุษย์รู้จักทำลูกปัดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก และเชื่อกันว่า ลูกปัดเม็ดแรก ๆ ได้ถือกำเนิดขึ้นในแอฟริกา

ลูกปัดสมัยเริ่มแรกนั้น ทำจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น เปลือกไข่นกกระจอกเทศ กระดูกสัตว์ ปะการัง เป็นต้น

ปริศนาแห่งลูกปัด : สุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้าลูกปัด

สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกดินแดนแห่งความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี เรือสินค้าจากทั่วทุกสารทิศ ต่างมุ่งหน้าสู่สุวรรณภูมิ

ลูกปัด คือ หนึ่งในของนอกซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงของคนสุวรรณภูมิ ลูกปัดหลากชนิดเดินทางมาสู่สุวรรณภูมิ พร้อมกับงานช่างชั้นสูงที่ปรากฏในสีสัน ลวดลาย และความเชื่อทางศาสนา สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และสืบทอดในกลุ่มชนสุวรรณมาจนถึงปัจจุบัน

ปริศนาแห่งลูกปัด : โลกของลูกปัด

ความมหัศจรรย์ของลูกปัดทั่วโลกจากหลักฐานที่ค้นพบ แสดงให้เห็นว่า ลูกปัดได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของมนุษย์ที่สั่งสมผ่านกาลเวลา สืบทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชนจนถึงระดับภูมิภาค มีพัฒนาการทั้งด้านวัตถุดิบ เทคนิคการผลิต และรูปลักษณ์อันหลากหลาย

มนุษย์ใช้ลูกปัดด้วยเหตุผลหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นเครื่องประดับ เป็นสิ่งบ้งชี้สถานะทางสังคม เครื่องรางของขลัง สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเป็นสินค้า

ปริศนาแห่งลูกปัด : เส้นสีขีดแบ่งชั้น

ลูกปัดหินเขียนลาย เกิดขึ้นครั้งแรกในอารยธรรมเมโสโปเตเมียและแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 4,500-3,500 ปีมาแล้ว ต่อมานิยมผลิตกันมากที่อินเดียเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว ลวดลายสีขาวบนลูกปัดเกิดจากการเขียนลาย ด้วยสารผสมและการเผาไฟ ทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสีบนผิว เทคนิคพิเศษนี้เป็นความลับของช่างทำลูกปัดที่สืบทอดเฉพาะคนในตระกูล ลูกปัดหินเขียนลายจึงมีค่าสูงกว่าลุกปัดหินทั่วไป และสงวนไว้สำหรับชนชั้นปกครอง

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตตอนกลางของประเทศไทยปัจจุบัน

บริเวณภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน มีเมืองท่าสุวรรณภูมิที่สำคัญ ได้แก่ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว เมืองโบราณเหล่านี้เป็นเมืองใกล้ชายฝั่งทะเล สะดวกในการพักเรือและขนถ่ายสินค้า

เมืองท่าสุวรรณภูมิในเขตภาคกลางนั้น ปรากฏร่องรอยการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 3-5 และต่อเนื่องมาจนถึงพุทธสตวรรษที่ 12-13 ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วสีเดียว

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตคาบสมุทรมลายูปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ภูเขาทอง จังหวัดระนอง ท่าชนะ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา คลองท่อม จังหวัดกระบี่ รวมทั้งกัวลาเซลินซิง ประเทศมาเลเซีย

เมืองท่าสองฝั่งคาบสมุทรนี้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลซึ่งมีที่กำบังลมมรสุมเพื่อจอดพักเรือ และอยู่บริเวณปากแม่น้ำทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าถึงกันได้โดยใช้เส้นทางน้ำ เช่น แม่น้ำตะกั่วป่า และลำน้ำสาขา

ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ในเมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ ลูกปัดคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วหลากหลายรูปทรงและสีสัน รวมทั้งพบหลักฐานการผลิตลูกปัดจำนวนมากในบริเวณนี้ด้วย

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม

ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย

ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด

ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว

บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้

ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน ได้แก่ เมืองออกแก้ว อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เมืองนครบุรี อยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา เมืองท่าทั้งสองแห่งนี้เป็นประตูการค้าสำคัญระหว่างจีนและสุวรรณภูมิ ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกระทั่งกลองมโหระทีกเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ผลลัพธ์ 201 to 220 of 1901