Showing 1919 results

Archival description
Item With digital objects
Print preview View:

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย

ล้อเกวียน

ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก

ระหัดชกมวย

ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : เครื่องสีฝัด และเครื่องสีมือ

เครื่องสีฝัด

ช่วยแยกแกลบและเศษผงออกจากข้าวเปลือก เมื่อเราหมุนเครื่องสีฝัด เราจะหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเฟืองตัวเล็กที่ใช้ขับเคลื่อนใบพัดทำให้เกิดลมที่จะพัดเอาวัตถุมวลเบา เช่น เศษฝาง แกลบ แล้วข้าวลีบแยกออกไปจากข้าวเปลือกที่จะร่วงลงสู่ท้องเครื่อง เครื่องสีฝันช่วยให้ชาวนาฝัดข้าวได้ทีละมากๆ แทนการใช้กระด้งกับพัด

เครื่องสีมือ

ใช้สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร มีลักษณะเป็นภาชนะสานคล้ายกระบุงสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่ต้องการสีที่ด้านบน ก้นกระบุงจะโหว่เพื่อสวมครอบลงบนแป้นหมุนไม้สองชิ้นที่วางซ้อนกัน ด้านบนของแป้นหมุนชิ้นบนใส่ดินเหนียวเพื่อเพิ่มแรงกดบนแป้นชิ้นล่าง ด้านข้างเสียบเดือยไม้เชื่อมต่อกับไม้คานด้วยข้อต่ออิสระ มีมือจับที่ปลายคานซึ่งแขวนจากเพดานเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักคานไว้ เมื่อเราออกแรงผลักมือจับไปข้างหน้า คานจะช่วยหมุนแป้นหมุน ก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างแป้นไม้ทั้งสองที่บากร่องไว้ที่พื้นผิวด้านใน ช่วยขยี้ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าวแล้วร่วงตกลงบนกระบะที่รองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อเราหมุนไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ทำให้เกิดแรงหมุนกลับมาได้เองทำให้เราไม่ต้องออกแรงดันมาก กลไกแบบนี้เรียกว่า “ข้อเหวี่ยง”

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว

เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด และยาฆ่าหนอน

ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด สูตรสมุนไพร

  • ใบสะเดา เป็นวัตถุดิบหลักประมาณ 5 กิโลกรัม
  • ใบน้อยหน่า หรือใบน้อยโหน่ง ยอดต้นรัก ยอดสาบเสือ และเถามะระขี้นก อย่างละ 1 กิโลกรัม
  • เหล้าขาว 1 ขวดกลม
  • น้ำสมสายชู ครึ่งขวด

นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับหยาบๆ แล้วแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดแรกหมักกับเหล้าขาวและน้ำส้มสายชู ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจนน้ำเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง นำน้ำสมุนไพรที่ได้ไปเจือจางกับน้ำสะอาดอีก 5 ลิตร แล้วใช้ต้มกับสมุนไพรชุดที่สอง แล้วต้มสมุนไพรชุดที่สาม ด้วยขั้นตอนเดียวกัน รวม 3 ขั้นตอน ก็จะได้ยาไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูง

เวลาใช้ให้นำยา 50 ซีซี ไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวในระยะกล้าอายุ 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุก 10 วัน ไปจนกระทั่งข้าวออกรวงเข้าระยะน้ำนมจึงหยุดฉีด

ยาฆ่าหนอน สูตรเชื้อราทำมือ

ลุงชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนา ค้นพบว่าหนอนที่มากัดกินต้นข้าวนั้นตายเพราะเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อเอาลักษณะมาเทียบกับในหนังสือแล้วพบว่าตรงกับลักษณะของเชื้อโนมูเรีย จึงนำเอาหนอนที่ตายมาเพาะเชื้อราต่อด้วยการใส่นม กากน้ำตาล และตีออกซิเจนใส่ เวลาใช้กรองเอาแต่น้ำมา 100 ซีซี ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนแดดไม่จัดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราตาย

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต

ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต

น้ำเป็นผู้ช่วยแสนวิเศษในการทำนาแต่ละขั้นตอน ในช่วงไถต้องเอาน้ำเข้าเพื่อเร่งการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์และช่วยให้ดินนิ่ม จากนั้นต้องไขน้ำออกไปไว้แปลงข้างๆ เพื่อหว่านกล้าไม่อย่างนั้นข้าวจะลอย เมื่อกล้าหยั่งรากแล้วจึงวิดน้ำเข้าอีกทีเพื่อเร่งให้ข้าวโต เพราะข้าวจะยืดตัวหนีน้ำ แถมน้ำยังช่วยท่วมหญ้าอีกด้วย หลังจากดำนาก็ต้องคอยไขน้ำออกหากมีโรคจากความชื้นและเพลี้ย เมื่อโตเต็มที่ก่อนตั้งท้องแล้วก็ไขน้ำออกจะช่วยให้ข้าวอ้วนให้รวงสวย

ฟื้นดินด้วยพืช

ชาวปกาเกอะญอที่ทำนาบนภูเขาลาดชั้นที่ธาตุอาหารในดินพร้อมจะถูกชะหายไปพร้อมกับฝนหลากหนัก นอกจากการทำนาขั้นบันไดเพื่อกักเก็บน้ำและธาตุอาหารแล้ว ชาวปกาเกอะญอยังมีวิธีฟื้นดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยการทำ “ไร่หมุนเวียน” แต่ละครอบครัวจะมีที่ทำนาเจ็ดแห่ง เสร็จจากไร่ปีนี้ก็จะทิ้งให้ต้นไม้ที่ฟันไว้แค่ระดับเอวแตกยอดขึ้นมาใหม่แข่งกับพืชคลุมดินและไม้พุ่มนานาชนิดที่จะงอกงามเติบโต ช่วยฟื้นดินให้อุดมสมบูรณ์อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมสำหรับการกลับมาทำนาที่ไร่แห่งนี้ในอีกแปดปีข้างหน้า

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ดอกข้าว

ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกสองแผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกแผ่นใหญ่เรียกว่า lemma ส่วนเปลือกนอกแผ่นเล็กเรียกว่า palea ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกนี้ไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิวเรียบด้วย ที่ปลายสุดของ lemma จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมา เรียกว่า หาง (awn) พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บเกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้ อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย

ที่ปลายด้านล่างของ lemma และ palea เท่านั้นที่ประสานติดกันอยู่บนก้านสั้น ๆ ที่เรียกว่า rachilla และที่ด้านบนของ rachilla นี้จะมีแผ่นบาง ๆ สองแผ่นขนาดเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่บังคับให้ lemma และ palea ดังกล่าวปิดหรือเปิดได้ แผ่นบาง ๆ สองแผ่นนี้เรียกว่า lodicules

ที่ฐานของ rachilla จะมีเปลือกบาง ๆ อีกสองแผ่นขนาดเล็กกว่า lemma และ palea และมีรูปร่างค่อนข้างยาวประกบอยู่ที่ฐานของ lemma และ palea เรียกว่า sterile lemmas ซึ่งที่ปลายด้านล่างของ sterile lemmas ก็ประสานติดกันอยู่รอบ ๆ ข้อซึ่งเรียกว่า rudimentary glumes

ต่อลงมาก็จะเป็นก้านดอก (pedicel) ซึ่งติดอยู่บนระแง้ทุติยภูมิของช่อดอกข้าวดังกล่าว ส่วนที่อยู่ภายในซึ่ง lemma และ palea ห่อหุ้มไว้นั้น ได้แก่ เกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) เกสรตัวผู้ประกอบด้วยกระเปาะสีเหลือง (anther) ซึ่งภายในมีละอองเกสร (pollen grains) ขนาดเล็กจำนวนมาก กระเปาะนี้ติดอยู่บนก้านยาวเรียกว่า filament และเชื่อมติดอยู่กับฐานของดอก

ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวนสองอัน แต่ละอันมีก้าน (style) เชื่อมติดอยู่กับรังไข่ (ovary) ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลายเป็น เมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น การผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง (self-pollination) และมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) เป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ 0.5-5 % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า และก่อนที่ lemma และ palea จะบานออกเล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่ โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเจ้า

ข้าวเจ้า มีลักษณะเมล็ดยาวรี ต้นสูง เป็นข้าวที่ปลูกในเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา ข้าวพันธุ์นี้ค้นพบครั้งแรกในอินเดียและต่อมาได้พัฒนาไปปลูกที่ทวีปอเมริกา

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว (Glutinous Rice) เป็นข้าวชนิดหนึ่ง เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่าย ๆ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อย ๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบ ๆ ปกคลุม ต้นมีสีเหลืองนวล สีเขียว ผลเป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดแก่มีสีเหลืองทอง สีม่วงแดง ตามสายพันธุ์ ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีขาวขุ่น สีดำ ตามสายพันธุ์

ข้าวเหนียวหุงสุกแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกันเหมือนกาว มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย มีปลูกกันในเขตร้อนหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก

เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

แผ่นพับ กิจกรรม Workshop : ลูกชุบ ขนมไทยตำรับเทศ

แผ่นพับกิจกรรม Workshop ลูกชุบ "ขนมไทยตำรับเทศ"

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกกิจกรรมการเรียนรู้

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า

เอกสารโครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในมุมมองใหม่

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ภาพถ่ายพิธีเปิดนิทรรศการถอดรหัสไทย

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ลงนามในสมุดเยี่ยมชม มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

Results 101 to 120 of 1919