Showing 1554 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1195 results with digital objects Show results with digital objects

เครื่องรางของขลัง : เขี้ยวเสือ

เขี้ยวเสือ

ตำราแกะเขี้ยวเสือนั้น มี 2 แบบ คือ แกะเป็นรูปเสือ และแกะเป็นรูปภควัมบดี โดยใช้เขี้ยวของเสือ ที่เคยกินคนแล้วหรือเขี้ยวเสือโปร่งฟ้า คือเขี้ยวเสือกลวง เป็นโพลงตั้งแต่โคนเขี้ยว เนื้อเขี้ยวมีความบางกว่าเขี้ยวเสือทั่วไป คนโบราณคือว่า เขี้ยวเสือสามารถฝนเป็นยาได้ และพกติดตัวเป็นมหาอำนาจ กันคุณไสย ผีโป่งผีป่า

อันว่าเขี้ยวเสือที่ดีต้องกลวงดังคำพังเพยว่า กะลาตาเดียว งาช้างหัก เขี้ยวหมูตัน ฟันเสือกลวง ถือเป็นของทนสิทธิ์มีฤทธิ์ในตัว ถึงแม้ไม่ต้องปลุกเสกก็มีคุณวิเศษในตัวเอง เมื่อนำมาแกะเป็นรูปเสือ จะลงด้วยหัวใจพระไตรสรณาคมน์ตามจุดต่างๆ ตัว พุ ลงตาซ้าย ตัว ธะ ลงตาขวา ตัว สัง ลงหน้า ตัว มิ ลงหลัง เขี้ยวเสือแกะนี้มีการสร้างกันมาช้านานหลากหลายอาจารย์ แต่เสือที่โด่งดังที่สุดก็ต้องเสือของ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” หรือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)

ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)

ความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบเพลงแนวสตริง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ฟังกลุ่มผู้ใหญ่ บรรดาค่ายเทปเพลงต่างเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้จากผู้ฟังกลุ่มผู้ใหญ่ จึงได้นำเอาเพลงเก่าที่มีคุณค่าและเป็นที่รู้จัก คือ เพลงของวงสุนทราภรณ์มาเรียบเรียงเสียงประสานขับร้องใหม่ เช่น ชุด เยื่อไม้ เพลงหวานเมื่อวานนี้ ตราบนิรันดร์ มหาอมตะนิรันดร์กาล จึงเป็นกระแสของการอนุรักษ์เพลงเก่าซึ่งแพร่เข้ามาสู่วงการเพลงลูกทุ่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย" ขึ้น เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 โดยเชิญนักร้องเพลงลูกทุ่งยอดนิยมรุ่นเก่า มาแสดง และมีการอภิปรายของผู้ประพันธ์เพลง และนักวิชาการ ต่อมา มีการจัดงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2" เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 เป็นการปลุกกระแสความนิยมเพลงลูกทุ่งกลับมาอีกครั้ง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2535 ราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิตอย่างกะทันหัน

ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา เพลงลูกทุ่งยังคงได้รับความนิยมจากผู้ฟังอย่างต่อเนื่อง หลายเพลงเป็นเพลงยอดนิยมที่มีเนื้อหา ที่ประทับใจผู้ฟัง เช่น เพลง กระทงหลงทาง ของ ไชยา มิตรชัย เพลง จดหมายผิดซอง ของ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย เพลง ยาใจคนจน และเพลง รองเท้าหน้าห้อง ของ ไมค์ ภิรมย์พร เพลง ปริญญาใจ ของ ศิริพร อำไพพงษ์ เพลง ขอใจกันหนาว ของ ต่าย อรทัย เพลงลูกทุ่งเหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมทั่วประเทศ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน

สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ

สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่

สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย

น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
  • น้ำ 15 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • รำข้าว 150 กรัม

ไทยทำ...ทำทำไม : เถร อด เพล

เถร อด เพล

ไม่ใช่ชื่อของสิ่งของ แต่เป็นเทคนิควิธีการ “เข้าไม้” ที่ใช้หลักการ สอด ขัด ล็อค ดูซับซ้อนและสวยงามสามารถต่อยอดไปใช้ประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงโครงศาลา

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

Results 941 to 960 of 1554