Showing 2733 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
Print preview View:

2182 results with digital objects Show results with digital objects

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก

เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ลูกทุ่ง

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอแง่มุมอันหลากหลายของเพลงลูกทุ่งไทย แสดงให้เห็นการคลี่คลายจากเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้าน ผสมผสานเข้ากับรูปแบบของดนตรีตะวันตก เกิดเป็นการแสดงที่มีรูปแบบเฉพาะ ถูกใจประชาชนไทย รวมทั้งมีการพัฒนาควบคู่ไปกับสังคมไทยนับตั้งแต่ศิลปะการแสดงประเภทนี้ถือกำเนิดมา

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ระยะเวลาจัดแสดง
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า

เอกสารโครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในมุมมองใหม่

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

image 01

นิทรรศการเรื่องหนักหัว นิทรรศการเบาๆ กับนานาประดิษฐ์กรรมสวมกบาล” เป็นนิทรรศการที่จะเชิญชวนทุกท่านเข้ามาค้นหาความเป็นไทย เปิดมุมมอง เรื่องราว และความเป็นมาเป็นไปของผู้คนที่อาศัยอยู่กันบนดินแดนสุวรรณภูมิในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่องด้วย หมวก และเครื่องประกอบศีรษะต่างๆ ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่หลายๆ อย่างได้กลายมาเป็นธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการรับเอาวัฒนธรรมและอิทธิพลในเรื่องของหมวกจากต่างประเทศตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เรื่องของหมวกจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนคนไทยในห้วงเวลาและแง่มุมต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว (พ.ศ. 2555)

เรื่องหนักหัว
มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จัดนิทรรศการชั่วคราว "เรื่องหนักหัว" เพื่อเปิดมุมมองใหม่และค้นหาตัวตนของคนไทย นำเสนอเรื่องราวของ "หมวก" เครื่องศิราภรณ์" และ "เครื่องประกอบศีรษะ" เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความเป็นมาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่านหมวกมากมายหลากหลายชนิดที่ถูกนำไปสวมใส่อยู่บนหัว ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและความสำคัญในแง่มุมต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยนิทรรศการ "เรื่องหนักหัว" เป็นนิทรรศการรูปแบบใหม่ ที่จะแทรกเข้าไปอยู่ในนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ตามห้องต่างๆ ภายในมิวเซียมสยามอย่างกลมกลืน และสอดคล้องกับช่วงยุคสมัยนั้น
ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ
นำเสนอเรื่องของ “หน้ากาก ตัวแทนแห่งผีและพิธีศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝนของคนยุคก่อน เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้อ้อนวอนธรรมชาติ ให้ช่วยดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ เพราะพวกเขารู้จักการทำนาปลูกข้าวและเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่พบได้ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย และพิธีกรรมเต้นรำใส่หน้ากากของชนเผ่าในเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
หมวกทวาฯ นานาชาติ
สมัยทวารวดี นิทรรศการได้นำเสนอ “หัวปูนปั้นประดับฐานสถูป” โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “หมวกทวาฯ นานาชาติ” ที่พบในเมืองโบราณแห่งต่างๆ ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอินเดียมีอิทธิพลอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การค้าขาย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชสำนักไทยสยามก็มี “ขันที” ขุนนางในสมัยอยุธยาสวม “หมวกเครื่องแบบ” ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ลอมพอก” คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากขันทีชาวเปอร์เซียที่เคยเข้ามาปฏิบัติงานในราชสำนักฝ่ายใน ด้วยรูปทรงที่แปลกตาจึงเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ปัจจุบันเรายังคงได้เห็น “พระยาแรกนา” ใส่ลอมพอกในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือแม้แต่นาคก็ใส่เข้าพิธีบรรพชา

ชฎากับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ค้นหาคำตอบว่าชฎาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยจริงหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องราวของ “เลดี้กาก้า” กับชฎาที่ตกเป็นข่าว ที่ใส่โชว์บนคอนเสิร์ตในประเทศไทย ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ถึงความเหมาะสมถูก-ผิดกันต่อไป
ในตอนนี้จะมีสักกี่คนสำนึกรู้ว่า“ชฎา”คือสิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ และใช้ในการแสดงมหรสพทางประเพณีไทยมาช้านาน นั่นเท่ากับว่ามูลค่าแห่งความสำคัญของชฎา มิใช่เพียงเครื่องแสดงอัตลักษณ์ แต่มันคือวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย

สุภาพบุรุษชาวสยามกับความศิวิไลซ์
การเข้ามาของ “ฝรั่ง” นักล่าอาณานิคมจากประเทศยุโรป ทำให้สยามต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ต่างทรงปรับตัวให้ทันกระแสของโลก แฟชั่นสวมหมวกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของชาวตะวันตกในยุคนั้น จึงถูกราชสำนักสยามนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการแสดงความ “ศิวิไลซ์”
และเป็นที่รู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด “โบวเลอร์แฮ็ต” มาก ถึงแม้ว่าหมวกดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพชาวเมืองผู้ดีก็ตาม

เกี่ยวข้าวก็เย็นได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติ
“งอบ” ภูมิปัญญาเกษตรกรไทยไม่ว่าจะเกี่ยวข้าว พายเรือ หรือเมื่อต้องออกแดดทุกครั้งชาวนา แม่ค้า หรือคนไทยอย่างเราๆ ต่างก็ต้องพึ่งพาหมวกครอบจักรวาลใบนี้ ประดิษฐกรรมสวมหัวที่ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเราก็เป็นเลิศด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการสานงอบ ที่แสดงถึงความเข้าใจในหลักการระบายอากาศเป็นอย่างดี เป็นเทคนิคเดียวกับการปลูกเรือนให้อยู่สบายในสภาพอากาศร้อนและชื้น

ราวกับว่า “มาลา” จะ “นำไทย” สู่ความเป็นอารยะได้เช่นนั้นหรือ
การปฏิวัติขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านผู้นำเชื่อว่า การแต่งกายเยี่ยงตะวันตกนั้น จะเป็นหนทางหนึ่งในการนำชาติไทย รุดหน้าเช่นอารยธรรมประเทศ มีการออกกฎบังคับให้ประชาชนชาวไทย สวมหมวก ทุกคราวที่ออกจากบ้าน โดยมีการแต่งบทเพลงชักชวนให้คนไทยสวมหมวกอย่างเพลง ‘สวมหมวกไทย’ ขับร้องโดย 'มัณฑนา โมรากุล'

มงกุฎนางงาม สาวไทยในยุคสงครามเย็น
สถานะและบทบาทระหว่างสตรีกับการเมืองในสมัยทุนนิยมยุคสงครามเย็น ผ่านมงกุฎนางงามจักรวาลคนแรกของประเทศไทย อาภัสรา หงสกุล จนกลายเป็นกระแส “อาภัสราฟีเวอร์” ที่สาวไทยทั้งหลายอยากจะสวมมงกุฎเพื่อให้สวยอย่างอภัสรา ซึ่งเธอนั้นได้รับตำแหน่งมาพร้อมกับการยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกาที่อู่ตะเภา ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้วการเมืองทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนาม ในปีค.ศ.1965

ภาพถ่ายก่อนบูรณะกระทรวงพาณิชย์

ปี พ.ศ.2547 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร). ได้เข้าสำรวจพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร เพื่อเตรียมดำเนินการวางแผนอนุรักษ์อาคารและปรับปภูมิทัศน์ เพื่อเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งที่ 1

ผลลัพธ์ 1 to 20 of 2733