Showing 1554 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1195 results with digital objects Show results with digital objects

จับไมค์ใส่ขนนก : เวที

เวที

วงดนตรีลูกทุ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ มีทั้งนักดนตรี เครื่องดนตรี เครื่องเสียง และหางเครื่อง จึงต้องใช้พื้นที่บนเวทีมากพอสมควร แต่เดิมเวทีกลางแจ้งอาจประกอบอย่างง่าย ๆ โดยเป็นเวทีทำด้วยไม้กระดานปูบนถังน้ำมันขนาดใหญ่ เวทีสูงจากพื้นประมาณ 2 - 2.5 เมตร ทั้งนี้ต้องไม่สูงเกินไปนัก เพื่อให้แฟนเพลงได้คล้องพวงมาลัยนักร้อง ด้านหน้าเวทีติดตั้งหลอดไฟหลากสี ฉากหลังมีชื่อวงดนตรี หรือชื่อนักร้องขนาดใหญ่พร้อมประดับไฟให้ดูเด่น ด้านหลังเวทีใช้เป็นที่แต่งตัวของหางเครื่องและเป็นที่เตรียมตัวของนักร้อง แต่ในปัจจุบันได้มีการประกอบเวทีชั่วคราวกลางแจ้งอย่างแข็งแรงมั่นคง มีอุปกรณ์เฉพาะที่ติดตั้งสะดวก ถอดประกอบง่าย โดยวงดนตรีที่ใหญ่ๆ อาจมีทีมงานเฉพาะสำหรับติดตั้งเวทีล่วงหน้า หรือจ้างจากบริษัทที่รับจัดงานโดยตรง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันอุบัติเหตุ

จับไมค์ใส่ขนนก : เพลงลูกทุ่ง

เพลงลูกทุ่ง หมายถึง เพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม อุดมคติและวัฒนธรรมไทย มีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง ลีลาการร้อง การบรรเลง ที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งให้บรรยากาศของความเป็นลูกทุ่ง โดยเฉพาะการร้องเอื้อนที่ใช้ลูกคอ

เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงไทยที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ มีการใช้ภาษาง่าย ๆ บรรยายเรื่องราวของชีวิต สภาพสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเน้นชีวิตของชาวชนบท โดยก่อนหน้านั้น ยังไม่มีการแบ่งแยกว่า เป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง เนื่องจาก เพลงไทยได้พัฒนามาจากเพลงไทยเดิมที่ใช้คำร้องที่มีลักษณะการเอื้อน และใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลง มาเป็นเพลงไทยสากล ที่มีเนื้อร้องเต็ม ใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลง ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากฟังง่าย ร้องง่าย จำได้ง่าย และมักเรียกลักษณะจากแนวการร้องของนักร้องแต่ละคนมากกว่า เช่น แนวรำวง แนวเพลงเพื่อชีวิต นอกจากนี้ นักประพันธ์เพลงรุ่นเก่า ๆ ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแบ่งแยกประเภทของเพลงไทยสากลว่า เป็นเพลงลูกทุ่ง และลูกกรุง เพราะถือว่า ดนตรีเป็นภาษาสากลและต่างเป็นเพลงไทยสากลเช่นเดียวกัน

จับไมค์ใส่ขนนก : เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกาย

ในยุคแรก ๆ นักร้องลูกทุ่งยังคงแต่งกายในรูปแบบการแต่งกายของชาวชนบท นักร้องชายใส่เสื้อม่อฮ่อม นักร้องหญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุง เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็พัฒนาให้มีความแปลกใหม่ตามไปด้วย นักร้องชายเริ่มมีการใส่สูท ส่วนชุดของนักร้องหญิงมีสีสันสดใส รูปแบบหลากหลาย และมีเครื่องประดับตกแต่งเพื่อให้มีความโดดเด่นที่สุดบนเวที ความสวยงามหรูหราของเครื่องแต่งกายนักร้อง มีการปักเลื่อม ติดระบาย รวมทั้งหางเครื่องที่มีการพัฒนาเครื่องแต่งกาย จากเดิมเพียงแค่คนในวงที่ว่างงานที่ช่วยเขย่าเครื่องดนตรี มาเป็นการเต้นประกอบเพลงด้วย รูปแบบเครื่องแต่งกายที่มีสีสัน มีการใช้ขนนก เลื่อม เพชรประดับตกแต่งให้ดูสวยงาม หรูหรา เห็นแล้วสะดุดตา ปัจจุบันมีการพัฒนาและประยุกต์ชุดหางเครื่องให้มีความทันสมัย เช่น การดัดแปลงจากชุดไทยให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเครื่องแต่งกายของนักร้องชายที่เห็นได้ชัดเจน คือ จักรพรรณ์ อาบครบุรี ซึ่งเจ้าของค่ายเพลงมีการลงทุนด้านเครื่องแต่งกายสูงมาก นับเป็นการปฏิวัติการแต่งกายของนักร้องที่จะต้องตกแต่งปักเลื่อมติดเพชร ให้มีความสวยงามสะดุดตาผู้ชม

จับไมค์ใส่ขนนก : เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีสากลที่ใช้ประกอบการบรรเลงเพลงลูกทุ่ง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเป่า ได้แก่ แซกโซโฟน ทรอมโบน ทรัมเป็ต กลอง กีตาร์ และเบส ส่วนเครื่องดนตรีไทย เช่น ฉิ่ง แคน ระนาด โทน ขลุ่ย ฯลฯ และมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ปรากฏอยู่ในเพลงลูกทุ่งระยะแรกจำนวนมาก คือ หีบเพลงชัก (accordion) ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเพลงลูกทุ่งในอดีตทีเดียว

การจะเลือกใช้เครื่องดนตรีชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับท่วงทำนอง และจังหวะของเพลง การใช้เครื่องดนตรีไทยประกอบเพลงลูกทุ่ง มีลักษณะใช้ประกอบเป็นช่วงสั้นๆ บรรเลงนำท่อนร้อง หรือบรรเลงรับเมื่อจบเนื้อร้องแต่ละท่อน ส่วนใหญ่ใช้กับเพลงที่มีพื้นฐานมาจากเพลงไทยเดิมหรือเพลงพื้นบ้าน และเพลงที่ต้องการให้เกิดบรรยากาศแบบไทย การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ส่วนใหญ่จะนำมาประกอบเครื่องดนตรีสากลตามแนวของเพลงในแต่ละท้องถิ่น เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้เป็นไปตามเนื้อร้อง ทำนอง และสำเนียงของบทเพลง เช่น ภาคเหนือ มักใช้พิณ ซอ ซึง ภาคกลาง มักใช้ระนาด ฉิ่ง กลองโทน กลองยาว รำมะนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักใช้แคน โปงลาง ภาคใต้ มักใช้โทน กลองชาตรี รำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี เป็นส่วนประกอบ

การใช้เครื่องดนตรีสากลในอดีตมักใช้เครื่องเป่า และเครื่องให้จังหวะเป็นหลัก ในสมัยต่อมามีการนำเครื่องดนตรีไฟฟ้ามาใช้ เช่น กีตาร์ เบส คีย์บอร์ด เพื่อให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่ และสร้างความนิยมให้กับผู้ฟัง จึงกลายเป็นเพลงลูกทุ่งที่มีความทันสมัย เทียบเท่าเพลงสตริงและเพลงป๊อปในปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากเพลงลูกทุ่งในอดีตอย่างสิ้นเชิง

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 3

หางเครื่อง 3

เมื่อ พ.ศ. 2518 ศกุนตลา พรหมสว่าง คู่ชีวิตของ เพลิน พรหมแดน ติดตาติดใจเครื่องทรงของโฟลี แบร์แฌร์ (Folies Bergeres) และ มูแลงรูจ (Moulin Rouge) เมื่อคราวไป "ดูงาน" ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาดัดแปลงใช้กับชุดหางเครื่องเพลงลูกทุ่งเป็นครั้งแรก จนเกิดเป็น "เทรนด์" ที่ปลุกกระแสแฟชั่นไปทั่ววงการ จากเพลงลูกทุ่งปกติธรรมดาจึงกลายเป็น "ศิลปะการแสดงระดับโลก หางเครื่องนับร้อย นุ่งน้อย ห่มนิด ฟิตเปรี๊ยะ" โดยจัดแสดงครั้งแรกในช่วงท้ายคอนเสิร์ตของ เพลิน พรมแดน

Results 1401 to 1420 of 1554