Showing 2229 results

Archival description
With digital objects
Print preview View:

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

เครื่องรางของขลัง : ควายธนู

ควายธนู

วัวธนูหรือควายธนูนั้นเป็นเครื่องรางของขลังจำพวกอาถรรพ์พระเวทไม่ใช่เครื่องรางของขลังสามัญทั่วไป ผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้มีวิชาอยู่พอสมควรสามารถเรียก ปลุก ใช้ และเรียกกลับมาได้

วัวธนูหรือควายธนูเป็นวิชาของคนไทยแต่โบราณใช้เขาวัวที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแกะเป็นรูปวัวแล้วเจาะรูสำหรับบรรจุของอาถรรพ์ (ผมผีตายโหง 2 ศพ ปิดด้วยชันนางโลมใต้ดิน) แล้วลงอักขระธาตุพระกรณี (จะภะกะสะ) ที่ตัววัวหรือสร้างขึ้นมาจากสิ่งมีอาถรรพ์ (ตะปูจากโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง ทองแดงเถื่อน ดีบุก เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์) นำมาหล่อเป็นรูปโคหรือรูปกระทิงโทนแล้วลงอักขระยันต์

การทำวัวธนู นั้นจะมีเวทมนตร์คาถากำกับแตกต่างกัน โดยในการสร้างนั้นจะมีคาถาเชิญเทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสิงสถิต เวลาจะใช้วัวให้ออกไปต่อสู้กับศัตรูหรือภูตผีปีศาจก็ใช้คาถาปลุกแล้วสั่งให้ไป

เครื่องรางของขลัง : กุมารทอง

กุมารทอง

ตุ๊กตาทอง หรือกุมารทอง ในตำราเดิมสร้างด้วยดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู มาปั้นแจกชาวบ้าน เพื่อเป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะเชื่อกันว่าดินดังกล่าวมีเทวดารักษา มีความศักดิ์สิทธิ์ ใช้ดินอาถรรพ์ทั้งหมดมาผสมรวมกัน และปั้นขึ้นรูปกุมารตามตำราหลวงพ่อเต๋ และหาฤกษ์ยามวันเวลาก่อนนำองค์กุมารที่ปั้นเสร็จไปเข้าเตาเผาดินให้ดินสุกตามฤกษ์ก่อนฟ้าสาง

การนำกุมารมาปลุกเสกด้วยวิทยาคมบริกรรมคาถาเรียกดวงวิญญาณสถิต โดยนั่งสมาธิขอเชิญพญามัจจุราชในยมโลกเพื่อขออนุญาตนำดวงวิญญาณเด็กมาสถิตในองค์กุมารทอง เสริมสร้างบุญบารมี โดยการช่วยเหลือมนุษย์ในเรื่องของการค้าขาย ป้องกันภัย ดวงวิญญาณนั้นก็จะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

ของที่ระลึกนิทรรศการ สืบจากส้วม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

ของที่ระลึกนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เข็มกลัด

เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน ศาสนากับคนรุ่นใหม่

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “ศาสนากับคนรุ่นใหม่" โดย คุณวิจักขณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธา นำเสนอศาสนาในมิติของคุณค่าทางจิตวิญญาณ การเยียวยาจิตใจ ความสัมพันธ์ของศาสนากับการดำเนินชีวิต วิถีชีวิตของคนในสังคม ศาสนากับโครงสร้างทางสังคม อิทธิพลของสังคมและการเมืองต่อศาสนา บทบาทขององค์กรทางศาสนา พุทธศาสนาในโลกร่วมสมัย คุณค่าของศาสนา การปรับตัวและความคงอยู่ของศาสนา พื้นที่ในการเรียนรู้ด้านศาสนา พื้นที่ทางศาสนา การภาวนาและพื้นที่ในการภาวนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน ท่องบรรณโลก คณะราษฎรและเสรีไทย

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “ท่องบรรณโลก คณะราษฎรและเสรีไทย" โดย คุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ นำเสนอประวัติศาสตร์การเมืองช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 3 ตอน 2475 กับวันเวลาที่หมุนไป

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 3 ในธีม “สิ่งสำคัญในเดือน ๆ หนึ่ง” ตอน “2475 กับวันเวลาที่หมุนไป” โดย ผศ. ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในประเทศสยาม เดือนที่มีวันแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองโดยประชาชน เป็นวันเริ่มต้นการปกครองที่ประชาชนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับการเมืองครั้งแรก การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมโยงประเด็นหลายๆ ประเด็น ทั้งประเด็นของเศรษฐกิจ สังคม และบริบทของความร่วมสมัย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 2 ตอน เคล็ด(ไม่)ลับ ยูทูบเบอร์ : ปริญญ์ วงศกร เชยสุวรรณ

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 2 ในธีม “แรงบันดาลใจสู่อาชีพ” ตอน ”เคล็ด(ไม่)ลับยูทูบเบอร์ นำเสนอเทคนิคการทำงานของคุณปริญญ์ วงศกร เชยสุวรรณ ยูทูบเบอร์ เจ้าของเพจ Pinnary Prin การก้าวสู่อาชีพและความมั่นคงในงาน รายได้ และสิ่งดึงดูดอื่นที่ชวนติดตามของผู้ที่จะมาทำงานอาชีพนี้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 2 ตอน อาหาร : นักปรุง สูตรสำเร็จหรือพรสวรรค์

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 2 ในธีม “แรงบันดาลใจสู่อาชีพ” ตอน “อาหาร : นักปรุง สูตรสำเร็จหรือพรสวรรค์” นำเสนอแนวความคิด แรงบันดาลใจ การเดินตามความฝัน และการมุ่งสู่เป้าหมายและความสำเร็จ ของ เชฟแม็กซ์ นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต MasterChef Thailand Season 3 หนึ่งในบุคคลที่สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเยาวชนไทย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 2 ตอน บิวตี้ บล็อกเกอร์ ให้คุณสวยได้ดังเนรมิต

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 2 ในธีม “แรงบันดาลใจสู่อาชีพ” ตอน ”บิวตี้ บล็อกเกอร์ ให้คุณสวยได้ดังเนรมิต” พาทุกคนไปรู้จักกับอาชีพบิวตี้ บล็อกเกอร์ / Make up creator ผ่านแนวคิด วิธีการทำงาน และประสบการณ์ของ คุณธีรดนย์ แสนยาวุฒิ บิวตี้บล็อกเกอร์ช่อง Tiathekweenz รับฟังวิธีการก้าวสู่อาชีพ ความมั่นคงในงาน รายได้ และสิ่งดึงดูดอื่นที่ชวนติดตามของผู้ที่จะมาทำงานอาชีพนี้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 2 ตอน Streamer : Adventurer บนโลกออนไลน์

หนังสือมนุษย์ ปีที่ 2 ในธีม “แรงบันดาลใจสู่อาชีพ” ตอน “Streamer: Adventurer บนโลกออนไลน์” พาทุกคนไปรู้จักกับคุณภรัณยู ยิ่งเพิ่มทรัพย์ หรือ พี่เอก KS 139 ที่มาบอกเล่าถึงเรื่องราวของอาชีพและแง่คิดของสตรีมเมอร์เกม หนึ่งในอาชีพในฝันของเยาวชนยุคใหม่

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 8 โมฮำมัด : ร้านเครื่องเขียนขวัญใจนักเรียน

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา การบริหารจัดการธุรกิจ และการสืบทอดธุรกิจร้านเครื่องเขียนผ่านประสบการณ์ของคุณปรียา โมราศิริ ทายาทรุ่นที่ 3 และ คุณอรรัตน์ พาประเสริฐและคุณชวัลรัฐ พาประเสริฐ ทายาทรุ่นที่ 4 ของร้าน "โมฮำมัด" ร้านเครื่องเขียน ขวัญใจนักเรียน นักศึกษา มามากกว่า 50 ปี

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 7 เซ่งชง : ร้านรองเท้าเครื่องหนังชั้นนำ

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา การบริหารจัดการธุรกิจ และการสืบทอดธุรกิจร้านเครื่องหนังผ่านประสบการณ์ของคุณอาจฤทธิ์ ประดิษฐ์บาทุกา ทายาทรุ่นที่ 4 ของร้าน "เซ่งชง" ร้านรองเท้าเครื่องหนังชั้นนำอยู่คู่สังคมไทยมากว่า 126 ปี

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 6 โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ : โรงเรียนสตรีเอกชน

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา การบริหารจัดการธุรกิจ และการสืบทอดธุรกิจโรงเรียนสตรีเอกชน (ฝั่งธนบุรี) แห่งแรกของประเทศไทยซึ่งก่อตั้งมาครบ 90 ปี ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ผ่านประสบการณ์ของคุณเปรมอนงค์ รัตนะสาขา ทายาทรุ่นที่ 3 และผู้อำนวยการโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 5 นางเลิ้งอ๊าร์ต : ร้านล็อกเก๊ตหิน

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา การบริหารจัดการธุรกิจ และการสืบทอดธุรกิจร้านทำล็อกเก๊ตหินแห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 สมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านประสบการณ์ของคุณชวลิต เสือสง่า ทายาทรุ่นที่ 3 ของร้านนางเลิ้งอ๊าร์ต

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 4 หัตถกรรมมาคาร : ร้านทำซอสพริกศรีราชา

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา และแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจร้านทำซอสพริกผ่านประสบการณ์ของคุณลคุฑ สุวรรณประสพ เจ้าของร้านซอสพริกเหรียญทอง ซอสพริกศรีราชา เจ้าแรกของประเทศไทย และคุณสุลักขิณ สุวรรณประสพ ทายาทผู้สืบทอดกิจการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ห้องสมุดมนุษย์ ปีที่ 1 ตอนที่ 3 มิตรโกหย่วน : ร้านอาหารไทยจีน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

เรียนรู้ประวัติความเป็นมา การบริหารจัดการธุรกิจ และการสืบทอดธุรกิจร้านอาหารผ่านประสบการณ์ของคุณเสกสรร หาญจีระปัญญา ทายาทรุ่นที่ 3 ของร้านอาหาร มิตรโกหย่วน : ร้านอาหารไทย-จีน ที่เปิดกิจการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

Results 121 to 140 of 2229