Showing 1944 results

Archival description
Item
Print preview View:

1901 results with digital objects Show results with digital objects

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน ได้แก่ เมืองออกแก้ว อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เมืองนครบุรี อยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา เมืองท่าทั้งสองแห่งนี้เป็นประตูการค้าสำคัญระหว่างจีนและสุวรรณภูมิ ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ

สืบจากส้วม : ส้วมพระ มาจากไหน

ส้วมพระ มาจากไหน
ในสมัยสุโขทัย มีการเชื่อมสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น นอกจากหลักคำสอนแล้ว สุโขทัยยังรับ “กฎ กติกา มารยาท” และเทคโนโลยีในการขับถ่ายมาจากลังกาด้วย หนึ่งในนั้นก็ คือ “ถานพระ”

“ถานพระ” มีรูและร่อง ที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ช่วยแยกอุจจาระไม่ให้ปนกับปัสสาวะ เมื่ออุจจาระแห้งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็ลดลงไปอย่างมาก แต่เนื่องจากพื้นดินของประเทศไทยมีความชุ่มน้ำมาก ทำให้อุจจาระที่แม้ไม่เปียกด้วยปัสสาวะ ก็ต้องมาเปียกด้วยน้ำในหลุมดินอยู่ดี ถานพระชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักในดินแดนประเทศไทย

“เว็จ”
พระสงฆ์ มีคำเรียกสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะ คือ “เว็จ” มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตในคำว่า “วจฺจกุฏิ” ซึ่งหมายถึงสถานที่ขับถ่ายของสงฆ์ในวัด ต่อมาคำว่า “วจฺจ” แผลงเป็น “เว็จ” และใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึงส้วมโดยทั่วไป

สืบจากส้วม : ชนชั้นสูง

ชนชั้นสูง : หน้าด่านของความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 การทำบ้านเมืองให้มี “ความศิวิไลซ์” เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อดูหมิ่นที่ชาติตะวันตกอาจใช้เป็นข้าอ้างในการคุกคามล่าอาณานิคม ชนชั้นสูงในสมัยนั้นจึงเป็นคนกลุ่มแรกที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมี “อารยธรรม” ในทุกด้าน ไม่เว้นแต่เรื่องส่วนตัวในห้องน้ำ

ห้องน้ำของเจ้านายในสมัยนั้น เรื่อยต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 6 จึงคลาคล่ำไปด้วยเครื่องใช้แบบตะวันตก เช่น อ่างอาบน้ำ ฝักบัว รวมไปถึงชุดเครื่องสุขภัณฑ์แบบใหม่ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ โถชักโครก บิเดต์ หรือจากุซซี่

เล่ากันว่า บางครั้ง “ของนอก” เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงเท่าใดนัก เพราะเจ้านายบางพระองค์ยังคงโปรดปฏิบัติพระกิจวัตรแบบเดิม แต่ที่ต้องซื้อหามาไว้ ก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องประดับที่แสดงถึงความมีอารยะ เท่านั้นเอง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว (Glutinous Rice) เป็นข้าวชนิดหนึ่ง เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่าย ๆ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อย ๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบ ๆ ปกคลุม ต้นมีสีเหลืองนวล สีเขียว ผลเป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดแก่มีสีเหลืองทอง สีม่วงแดง ตามสายพันธุ์ ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีขาวขุ่น สีดำ ตามสายพันธุ์

ข้าวเหนียวหุงสุกแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกันเหมือนกาว มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย มีปลูกกันในเขตร้อนหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง

เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

ของที่ระลึกนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สูจิบัตรนิทรรศการปรากฏการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก

เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

Results 1921 to 1940 of 1944