Showing 606 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
With digital objects นิทรรศการชั่วคราว
Print preview View:

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว (Glutinous Rice) เป็นข้าวชนิดหนึ่ง เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่าย ๆ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อย ๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบ ๆ ปกคลุม ต้นมีสีเหลืองนวล สีเขียว ผลเป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดแก่มีสีเหลืองทอง สีม่วงแดง ตามสายพันธุ์ ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีขาวขุ่น สีดำ ตามสายพันธุ์

ข้าวเหนียวหุงสุกแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกันเหมือนกาว มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย มีปลูกกันในเขตร้อนหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวป่า

ข้าวป่า เป็นข้าวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะพบเห็นในลำคลองข้าง ๆ ทาง ในแอ่งน้ำริมแปลงข้าวปลูกหรือในแปลงข้าวปลูก ชื่อข้าวป่าอาจถูกเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า หญ้าข้าวนก ภาคกลางเรียกข้าวละมาร หรือ หญ้าละมาน เป็นต้น

จากข้าวป่าที่สำรวจพบทั่วโลก 21 ชนิด พบว่า มีในประเทศไทย อย่างน้อย 5 ชนิด ข้าวป่าบางชนิดเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ปัจจุบัน มีการนำข้าวป่ามาทำประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ สาเหตุจากมนุษย์ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเกินไป ข้าวป่าเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ การขยายเมือง สร้างถนน สร้างเขื่อน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืช

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ดอกข้าว

ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกสองแผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกแผ่นใหญ่เรียกว่า lemma ส่วนเปลือกนอกแผ่นเล็กเรียกว่า palea ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกนี้ไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิวเรียบด้วย ที่ปลายสุดของ lemma จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมา เรียกว่า หาง (awn) พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บเกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้ อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย

ที่ปลายด้านล่างของ lemma และ palea เท่านั้นที่ประสานติดกันอยู่บนก้านสั้น ๆ ที่เรียกว่า rachilla และที่ด้านบนของ rachilla นี้จะมีแผ่นบาง ๆ สองแผ่นขนาดเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่บังคับให้ lemma และ palea ดังกล่าวปิดหรือเปิดได้ แผ่นบาง ๆ สองแผ่นนี้เรียกว่า lodicules

ที่ฐานของ rachilla จะมีเปลือกบาง ๆ อีกสองแผ่นขนาดเล็กกว่า lemma และ palea และมีรูปร่างค่อนข้างยาวประกบอยู่ที่ฐานของ lemma และ palea เรียกว่า sterile lemmas ซึ่งที่ปลายด้านล่างของ sterile lemmas ก็ประสานติดกันอยู่รอบ ๆ ข้อซึ่งเรียกว่า rudimentary glumes

ต่อลงมาก็จะเป็นก้านดอก (pedicel) ซึ่งติดอยู่บนระแง้ทุติยภูมิของช่อดอกข้าวดังกล่าว ส่วนที่อยู่ภายในซึ่ง lemma และ palea ห่อหุ้มไว้นั้น ได้แก่ เกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) เกสรตัวผู้ประกอบด้วยกระเปาะสีเหลือง (anther) ซึ่งภายในมีละอองเกสร (pollen grains) ขนาดเล็กจำนวนมาก กระเปาะนี้ติดอยู่บนก้านยาวเรียกว่า filament และเชื่อมติดอยู่กับฐานของดอก

ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวนสองอัน แต่ละอันมีก้าน (style) เชื่อมติดอยู่กับรังไข่ (ovary) ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลายเป็น เมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น การผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง (self-pollination) และมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) เป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ 0.5-5 % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า และก่อนที่ lemma และ palea จะบานออกเล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่ โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเจ้า

ข้าวเจ้า มีลักษณะเมล็ดยาวรี ต้นสูง เป็นข้าวที่ปลูกในเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา ข้าวพันธุ์นี้ค้นพบครั้งแรกในอินเดียและต่อมาได้พัฒนาไปปลูกที่ทวีปอเมริกา

ไทยทำ...ทำทำไม : เสียงของไม่จำเป็น

สังคมที่เราอาศัยอยู่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยสิ่งต่างๆมากมาย ชิ้นเล็กบ้าง ชิ้นใหญ่บ้าง จำเป็นบ้าง เกินจำเป็นบ้าง และบางอย่างก็ถูกมองว่า “ไม่จำเป็น” อีกต่อไป ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครรู้จัก ถูกมองข้าม ถูกลืม ไม่มี “เสียง” ให้ได้ยินอีกต่อไป

ตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน เราปล่อยให้เสียงเหล่านั้นที่เคยกังวานในยุคสมัยของมัน ให้เงียบงันและหายไปกับกาลเวลา

ไทยทำ...ทำทำไม : โปง

โปง

ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ไทยทำ...ทำทำไม : ระหัดวิดน้ำ

ระหัดวิดน้ำ

การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา

ไทยทำ...ทำทำไม : ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีฝัด

เครื่องสีฝัด

ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีมือ

เครื่องสีมือ

เวลาสีข้าวเปลือกต้องเทข้าวลงในกระบุงด้านบน ก้นกระบุงโหว่เพื่อครอบแป้นหมุนไม้สองชิ้น เมื่อออกแรงผลักมือจับ คานจะหมุนแป้นหมุนให้เสียดสีกัน ช่วยขยี้ข้าวเปลือกให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว

ไทยทำ...ทำทำไม : เถร อด เพล

เถร อด เพล

ไม่ใช่ชื่อของสิ่งของ แต่เป็นเทคนิควิธีการ “เข้าไม้” ที่ใช้หลักการ สอด ขัด ล็อค ดูซับซ้อนและสวยงามสามารถต่อยอดไปใช้ประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงโครงศาลา

ไทยทำ...ทำทำไม : กระแตเวียน

กระแตเวียน

ใช้หลักการของ “หลักเวียน” ให้เด็กเล็กเดินเข็นปลายไม้ที่ยื่นออกกมาจากแกนหมุนแล้วเดินวนไปเรื่อยๆ เพื่อฝึกการเดินและการทรงตัว ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเก้าอี้หัดเดินในปัจจุบัน จะดีกว่าตรงที่ราคาน่าจะถูกกว่ามาก และเด็กไม่ไปไหนเลยเดินวนไปเรื่อย ๆ จนเหนื่อยก็พาไปอาบน้ำนอน

ไทยทำ...ทำทำไม : กะลากันมด

กะลากันมด

ทำจากกะลามะพร้าว เจาะรู ใช้ไม้เหลาสอดเข้าไปพอดีกับรูที่เจาะไว้ ถ้าไม่ถนัดดีชาวบ้านมักใช้ขี้ขะย้า (ยางไม้) อุดรู ปลายไม้ทั้งสองด้าน ใส่เหล็กเส้นยาวพอที่จะแขวนไว้ โดยด้านบนใช้แขวนกับเพดานหรือตะปู ด้านล่างใช้แขวนอาหาร เหล็กขอด้านล่าง จะสั้นกว่าด้านบน เวลานำอาหารมาแขวนถ้าต้องการใช้เก็บอาหารได้มากก็ใช้ตะกร้า หรือตะแกรงใส่อาหารแล้วนำไปแขวน การป้องกันมดจะทำได้โดยเติมน้ำลงในกะลา มดก็จะเข้าไปตอมหรือไปกัดกินอาหารไม่ได้ เพราะมีน้ำกั้นอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : สลากย้อม

สลากย้อม

สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องราง

เครื่องราง

ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องราง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง

ไทยทำ...ทำทำไม : คาเฟ่ไทยไทย

คาเฟ่ไทยไทย

ทำไมวัฒนธรรมการกินกาแฟแบบไทยไทย ถึงมักต่อท้ายด้วยคำว่าโบราณ ที่คาเฟ่ไทยไทยแห่งนี้ เราเปิดโอกาสให้คุณดื่มด่ำกาแฟไทยเคล้าขนมหวานท่ามกลางบรรยากาศไท้ย-ไทย หันไปมองโดยรอบจะเห็นรายละเอียดทั้งมวลในร้านอันประกอบสร้างขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “ไทยทำ” ทั้งที่คุณคุ้นเคยและไม่คุ้นตา ขอเชิญคุณสั่งเครื่องดื่ม แล้วนั่งละเลียดให้ความคิดแล่น พลางจิบขนมเพลินปาก แล้วฝากคำถามไปให้นึกกันเล่นๆ ว่ากาแฟ “ไทยไทย” คู่ควรกับคำว่า “โบราณ” จริงไหม?

แม้จะรู้กันดีว่าภูมิปัญญาของการขนมไทยนั้นได้มาจากประเทศโปรตุเกส นำเข้าโดยท้าวทองกีบม้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ขนมไทยแบบไทยแท้ดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ความประณีตละเอียดอ่อนที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยยังแสดงออกมาผ่านบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อขนมไทยที่หลากหลาย

นอกเหนือจากความหมายเชิงศิลปวัฒนธรรม ถ้าวิเคราะห์กันตามเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ วัสดุที่คนไทยใช้ห่อขนมหวานล้วนนำมาจากพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบตอง ใบเตย ใบลาน ใบจาก ใบกะพ้อ ต้นอ้อ กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือแม้กระทั่งกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งส่วนใหญ่ทนทานต่อทั้งความเย็นและความร้อน เมื่อนำมาห่อขนมหวานจะยังรักษาความชื้นไว้ได้ บางชนิดเมื่อนำไปนึ่ง ปิ้ง หรือต้ม ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้ขนมชนิดนั้นยิ่งหวานหอมอร่อย แถมวิธีการห่อที่หลากหลายช่วยสร้างเอกลักษณ์ของขนมชนิดนั้น ห่อหุ้มขนมให้มิดชิด สะอาด สวยงาม และหยิบสะดวกพอดีมือ พอดีคำ

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการขนมไทย

รายการขนมไทย

  1. ห่อด้วยใบตอง

    • ขนมใส่ไส้
    • ตะโก้ (ขนมหางหนู)
    • ข้าวต้มมัด
    • ข้าวเหนียวสังขยา
  2. ห่อด้วยใบลาน

    • ขนมตาล
  3. ห่อด้วยใบเตย

    • ตะโก้
  4. ห่อด้วยใบจาก

    • ขนมจาก
    • ข้าวต้มมัดลูกโยน
  5. ห่อด้วยใบกะพ้อ

    • ข้าวเหนียวใบกะพ้อ
  6. ใส่ในต้นอ้อ

    • ข้าวหลามต้นอ้อ
  7. ใส่ในกระบอกไม้ไผ่

    • ข้าวหลาม
  8. ใส่ในกะลามะพร้าว

    • วุ้นในลูกมะพร้าว (วุ้นพรก)
  9. ใส่ในกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

    • ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการเครื่องดื่มไทยไทย

รายการเครื่องดื่มไทยไทย

  1. กาแฟดำ อาข่า อ่ามา
    กาแฟอาราบิก้าสัญชาติไทยปลูกแบบไทยๆ บนยอดดอนสูงในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ริเริ่มจากความตั้งใจของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี-อายุ จือปา ที่ยื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านชาวอาข่าที่ปลูกกาแฟดีแต่ถูกกดราคาอย่างไม่เป็นธรรม จึงเกิดแบรนด์กาแฟอาข่า อ่ามา ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูก คั่ว บด โด่งดังไปทั่วประเทศและในระดับโลก

กาแฟดำในขวดแก้วนี้ผ่านกรรมวิธีการบดจนได้ที่แล้วนำมาหมักที่อุณหภูมิห้อง 9 ชั่วโมง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวดแช่เย็นให้ดื่มรสชาติเข้มแบไทยแท้แต่สดชื่น

  1. กาแฟถุงกระดาษ
    กาแฟเย็นใส่นมแบบไทยในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ บรรจุถุงกาแฟพลาสติกซ้อนลงในถุงกระดาษสีน้ำตาลขนาดประมาณ 5 x 7 x 3 นิ้ว อีกชั้นหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการละลายเร็วของกาแฟเย็นฉ่ำ โดยกระดาษที่มีความหน้า 125 และ 150 แกรม เก็บความเย็นได้ยาวนานถึง 5 และ 9 ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ภายนอกยังคงภาพลักษณ์ความโบราณอันเป็นจุดขายที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

  2. โคโค่-อีซี่
    มะพร้าวน้ำหอมเผาพร้อมฝาเปิดในตัว นวัตกรรมที่บรรพต เคลียพวงทิพย์ ใช้เวลานาน 5 ปีในการคิดค้นและทดลองเจาะฝาลูกมะพร้าวด้วยเครื่องเลเซอร์ให้ไม่ส่งผลต่อน้ำและเนื้อมะพร้าวที่อยู่ข้างใน ถือเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ความสวยงาม สะดวกสบาย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์อะไรเลย ดื่มน้ำมะพร้าวเผาเย็นสดชื่นได้เลยทันทีโดยไม่ต้องง้อใครมาช่วยเฉาะ

  3. น้ำวุ้น
    ยืนยันอีกครั้งว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนแม้กระทั้งน้ำเปล่าในขวดธรรมดาเรายังหาวิธีการแช่และทำให้น้ำกลายเป็นวุ้นเย็นชื่นใจ

  4. ชาร้อนในถังน้ำชา
    เมืองไทยเป็นเมืองร้อน คนไทยจึงนิยมชงชาร้อนทิ้งไว้ในกาและวางไว้ให้รินดื่มได้ทั้งวัน แตกต่างจากชาวจีนและญี่ปุ่นที่มีพิธีการชงและใช้ความร้อนที่เหมาะสมคนไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการประดิษฐ์ถังใส่กาน้ำชาที่บุด้วยผ้าและทำฝาปิดไว้เพื่อรักษาความร้อนให้คงอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว

ผลลัพธ์ 101 to 120 of 606