Showing 2211 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
With digital objects
Print preview View:

เข็มกลัด

เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 2

หางเครื่อง 2

จินตนา ดำรงค์เลิศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง หางเครื่อง โดยนำมาจากหนังสือ "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2" ตอนหนึ่งมีใจความว่า ในตอนแรกผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่อง มีทั้งหญิงและชาย บางครั้งเป็นตัวตลกประจำวง ต่อมา จึงพัฒนาขึ้น โดยใช้หญิงสาวสวย ๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ยังไม่ออกลีลาเต้น การแต่งกายสุดแล้วแต่เจ้าตัวจะใส่ ต่อมาช่วง พ.ศ. 2509 - 2510 ผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่องประกอบจังหวะการร้องเพลงลูกทุ่ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4 - 7 คน การแต่งกายเหมือนกันโดยใช้ชุดเดียวตลอดการแสดง วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ และวงสมานมิตร เกิดกำแพง มีหางเครื่องเป็นที่กล่าวขวัญ ต่อมาวงดนตรีของศรีนวล ภรรยาของสุรพล สมบัติเจริญ ได้จัดผู้เต้นระบำประกอบเพลงโดยใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน มีลีลาการเต้นแบบระบำฮาวาย หลังจากนั้น วงดนตรีลูกทุ่งก็ได้มีการแข่งขันด้านหางเครื่อง การแสดงของวงดนตรีใหญ่ๆ จะมีหางเครื่องเต้นประกอบทุกเพลง และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทุกเพลง จำนวนผู้เต้นประมาณ 15 - 16 คน แต่ถ้าเป็นเพลงเด่นจะมีถึง 40 คน

ผลลัพธ์ 1061 to 1080 of 2211