Showing 905 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ Item
Print preview View:

890 results with digital objects Show results with digital objects

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า

เอกสารโครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในมุมมองใหม่

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก

เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน

สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ

สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่

สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย

น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
  • น้ำ 15 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • รำข้าว 150 กรัม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง

ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา

ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา

ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวป่า

ข้าวป่า เป็นข้าวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะพบเห็นในลำคลองข้าง ๆ ทาง ในแอ่งน้ำริมแปลงข้าวปลูกหรือในแปลงข้าวปลูก ชื่อข้าวป่าอาจถูกเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า หญ้าข้าวนก ภาคกลางเรียกข้าวละมาร หรือ หญ้าละมาน เป็นต้น

จากข้าวป่าที่สำรวจพบทั่วโลก 21 ชนิด พบว่า มีในประเทศไทย อย่างน้อย 5 ชนิด ข้าวป่าบางชนิดเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ปัจจุบัน มีการนำข้าวป่ามาทำประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ สาเหตุจากมนุษย์ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเกินไป ข้าวป่าเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ การขยายเมือง สร้างถนน สร้างเขื่อน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืช

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ

คันไถ

ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน

“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

โชงโลง

เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงยา

สูตรปรุงยา

ยาที่ข้าวต้องการมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “ยาบำรุง” และ “ยาป้องกันโรคและแมลง” โดยแทบจะไม่ต้องการยารักษาโรคเลยเพราะเมื่อเราบำรุงข้าวให้แข็งแรงตั้งแต่แรก ข้าวก็จะไม่เป็นโรคมาก ยาบำรุงนั้นจะทำจากของน่ากินทั้งนั้น อย่างไข่ไก่ นม กากน้ำตาล หรือแม้แต่นมเปรี้ยว ส่วนยาป้องกันโรคและแมลงก็จะเป็นของที่ไม่ค่อยอร่อยแต่มีประโยชน์อย่างพืชผักสมุนไพร หรือของที่มีพิษไปเลย เช่น เชื้อราต่างๆ ที่ช่วยฆ่าหนอนและแมลงได้ดี

ฮอร์โมนสูตรนมสด

  • นมพาสเจอร์ไรซ์ 5 ลิตร
  • กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
  • ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก
  • นมเปรี้ยวบีทาเก้น 1 ขวด (ขนาด 15 บาท)

หมักประมาณสามวันจนมีกลิ่นหอม แล้วกรองเอาแต่น้ำ 70 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ใช้ฉีดบำรุงข้าวเมื่อเริ่มแตกกอ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักพันธุกรรมศาสตร์ ผู้ปลุกปั้นดีเอ็นเอข้าว

คัด + ผสม = ข้าว x 1000d จะปลูกข้าวทั้งที เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ต้องเจ๋งจริงๆ ชาวนาให้ความสำคัญในการเลือกเฟ้นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับผืนนาของตน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง ปลูกง่าย รวมถึงยังต้องเก็บสต็อกข้าวไว้หลายๆพันธุ์ เผื่อเอาไว้ปลูกในกรณีฉุกเฉินที่สภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชาวโลก

นอกจากนี้ ชาวนายังเป็น “นักพันธุ์กรรมศาสตร์” อีกด้วย เพราะข้าวที่ปลูกจะค่อยๆกลายพันธุ์ไป จึงต้องทำการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเลือกเอาข้อเด่นของข้าวแต่ละพันธุ์มาผสมกันและปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นคัดเฉพาะต้นที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ มาปลูกซ้ำอีกแปดรอบ เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์แท้ ก่อนนำไปปลูกจริง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว

รู้ไหมว่า คนรุ่นก่อนคิดค้นพันธุ์ไว้ให้เรากว่า 60,000 ชนิด ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวมหาศาลนี้อย่างชาญฉลาด ชาวนาหนึ่งคนอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์ในคราวเดียวกัน เพราะนาหนึ่งผืน มีพื้นที่หลายลักษณะ แถมข้าวจะออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ทยอยเกี่ยวทีละแปลงได้ทันก่อนข้าวจะล้ม นอกจากนี้ชาวนาจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูกบ้างเพื่อลดการสะสมของโรคระบาด ผลพลอยได้ท้ายที่สุดจะอยู่ที่คนกินข้าว เพราะข้าวต่างพันธุ์ก็ให้สารอาหารต่างกัน ยิ่งกินข้าวหลากหลาย ก็ยิงแข็งแรง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

Results 121 to 140 of 905