ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
- TH NDMI EXH-TMP-25-03-027
- Item
- 2021
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
โปง
ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เกราะลอ
เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เครื่องสีฝัด
ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ
ไทยทำ...ทำทำไม : เสียงของไม่จำเป็น
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สังคมที่เราอาศัยอยู่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยสิ่งต่างๆมากมาย ชิ้นเล็กบ้าง ชิ้นใหญ่บ้าง จำเป็นบ้าง เกินจำเป็นบ้าง และบางอย่างก็ถูกมองว่า “ไม่จำเป็น” อีกต่อไป ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครรู้จัก ถูกมองข้าม ถูกลืม ไม่มี “เสียง” ให้ได้ยินอีกต่อไป
ตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน เราปล่อยให้เสียงเหล่านั้นที่เคยกังวานในยุคสมัยของมัน ให้เงียบงันและหายไปกับกาลเวลา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เถร อด เพล
ไม่ใช่ชื่อของสิ่งของ แต่เป็นเทคนิควิธีการ “เข้าไม้” ที่ใช้หลักการ สอด ขัด ล็อค ดูซับซ้อนและสวยงามสามารถต่อยอดไปใช้ประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงโครงศาลา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
กะลากันมด
ทำจากกะลามะพร้าว เจาะรู ใช้ไม้เหลาสอดเข้าไปพอดีกับรูที่เจาะไว้ ถ้าไม่ถนัดดีชาวบ้านมักใช้ขี้ขะย้า (ยางไม้) อุดรู ปลายไม้ทั้งสองด้าน ใส่เหล็กเส้นยาวพอที่จะแขวนไว้ โดยด้านบนใช้แขวนกับเพดานหรือตะปู ด้านล่างใช้แขวนอาหาร เหล็กขอด้านล่าง จะสั้นกว่าด้านบน เวลานำอาหารมาแขวนถ้าต้องการใช้เก็บอาหารได้มากก็ใช้ตะกร้า หรือตะแกรงใส่อาหารแล้วนำไปแขวน การป้องกันมดจะทำได้โดยเติมน้ำลงในกะลา มดก็จะเข้าไปตอมหรือไปกัดกินอาหารไม่ได้ เพราะมีน้ำกั้นอยู่
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สลากย้อม
สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
รายการขนมไทย
ห่อด้วยใบตอง
ห่อด้วยใบลาน
ห่อด้วยใบเตย
ห่อด้วยใบจาก
ห่อด้วยใบกะพ้อ
ใส่ในต้นอ้อ
ใส่ในกระบอกไม้ไผ่
ใส่ในกะลามะพร้าว
ใส่ในกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ
ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ผ้าหมักโคลน
ภูมิปัญญาที่มาจากความบังเอิญของชาวบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย เวลาออกไปทำนาแล้วสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้าส่วนล่างที่เปรอะเปื้อนโคลนเมื่อนำไปซักแล้วนิ่มกว่าผ้าส่วนบน บรรพบุรุษจึงคิดค้นกรรมวิธีการทำผ้าหมักโคลน เริ่มจากย้อมฝ้ายแล้วทอเป็นลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ แล้วนำมาหมักโคลนทิ้งไว้ 1 คืน ธาตุเหล็กในโคลนจะทำให้เส้นใยผ้าขยายตัว ได้ผ้าที่มีสีคุ่นลงแต่แลกมาด้วยความนุ่มเป็นพิเศษ แล้วค่อยนำไปย้อมสีทับ กลายเป็นนวัตกรรมสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อมา
ไทยทำ...ทำทำไม : เสื่อกกจันทบูร
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เสื่อกกจันทบูร
งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชองชาวจันทบุรี คิดค้นขึ้นจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกกที่ขึ้นตามบริเวณน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่งทะเล มีเส้นใยหนาทนทานและรับภูมิปัญญาในการทอเสื่อมาจากกลุ่มแม่ชีคาทอลิคที่อพยพมาเมืองจันท์ ช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาชาวจันท์จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกอีกมากมาย จนมีชื่อเสียงจนถึงขั้นไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดจันทบุรี
ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องแขวนดอกไม้สด
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เครื่องแขวนดอกไม้สด
ดอกไม้พื้นถิ่นของไทยมีขนาดเล็กและส่งกลิ่นหอม อาทิ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่มีดอกไม้ขนาดใหญ่ มีก้านยาว และนำมาจัดตกแต่งเป็นช่อได้ ดังนั้น ศิลปะการจัดดอกไม้แบบไทยจึงเป็นการนำดอกไม้มาร้อยเรียงกันให้เป็นเครื่องแขวนรูปทรงต่างๆ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่ประณีตและวิจิตร
นอกจากใช้แขวนเพดาน ข้างฝา ช่องประตูหน้าต่าง ช่องม่านแหวกในงานพิธีหรือวันสำคัญต่างๆ ยังทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอากาศ ยามลมพัดมาคราใด จะพาเอากลิ่นหอมเย็นสบายของดอกไม้ไทยโชยมาด้วย