Showing 302 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
เรื่อง With digital objects นิทรรศการชั่วคราว
Print preview View:

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ปริศนาแห่งลูกปัด : โลกของลูกปัด

ความมหัศจรรย์ของลูกปัดทั่วโลกจากหลักฐานที่ค้นพบ แสดงให้เห็นว่า ลูกปัดได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของมนุษย์ที่สั่งสมผ่านกาลเวลา สืบทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชนจนถึงระดับภูมิภาค มีพัฒนาการทั้งด้านวัตถุดิบ เทคนิคการผลิต และรูปลักษณ์อันหลากหลาย

มนุษย์ใช้ลูกปัดด้วยเหตุผลหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นเครื่องประดับ เป็นสิ่งบ้งชี้สถานะทางสังคม เครื่องรางของขลัง สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเป็นสินค้า

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคต้น (พ.ศ. 2481 - 2507)

ยุคต้น (พ.ศ. 2481 - 2507)

นับว่า เป็นยุคบุกเบิกเพลงลูกทุ่ง เนื้อหาเพลงลูกทุ่งช่วงนี้ มักกล่าวถึงธรรมชาติ ที่สวยงามของชนบท ส่วนวิถีชีวิตของชาวชนบทมักกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาว ความยึดมั่นในศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี นักร้องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อวงการเพลงลูกทุ่งไทย ในแง่ที่เป็นผู้ริเริ่มเสนอผลงานเพลงอันทรงคุณค่าในยุคแรก ๆ เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข ปรีชา บุญญเกียรติ วงจันทร์ ไพโรจน์ เบญจมินทร์ สมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียง เช่น ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร วงดนตรีที่เด่น ๆ เช่น วงจุฬารัตน์ ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรีพยงค์ มุกดา

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

สืบเนื่องจากการที่มีคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

เครื่องรางของขลัง : เบี้ยแก้

เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ มีคุณในด้านการป้องกันการกระทำคุณไสยได้ทุกชนิด รวมถึงจาก วิญญาณร้ายภูตผีปีศาจ ดังนั้น คนโบราณเวลาเดินทางไปไหนมาไหน มักจะพกเบี้ยแก้โดยการแขวนร้อยเข้ากับเชือกขาดเอวเหมือนตะกรุด ติดตัวไว้เสมอ

เบี้ยแก้ทำจากเบี้ยจั่น (หอยทะเลชนิดหนึ่ง) ที่มีซี่ฟันครบ 32 ซี่ และมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพื่อบรรจุปรอทได้น้ำหนักที่ 1 บาท อุดด้วยชันโรงใต้ดิน

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ

คันไถ

ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน

“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ผลลัพธ์ 41 to 60 of 302