Showing 2730 results

Archival description
Print preview View:

2179 results with digital objects Show results with digital objects

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย (Decoding Thainess)

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย นำเสนอพัฒนาการความเป็น ไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวในมิติต่าง ๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของนิทรรศการอยู่ที่รูปแบบการนำเสนอและการเล่าเรื่องผ่านเรื่องราว วัตถุจัดแสดง ที่ปัจจุบันทันสมัย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพื่อชวนให้ผู้เข้าชมสามารถผูกโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบด้วย 14 ห้องนิทรรศการ ได้แก่

  • ห้องที่ 1 ห้องไทยรึเปล่า? : นำเสนอประเด็นคำถาม โดยหยิบยกกรณีตัวอย่างปรากฏการณ์ “ความเป็นไทย” ที่เป็นข้อถกเถียงในสังคม อาทิ เลดี้กาก้าสวมชฎา ชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์ส นักแสดงหน้าฝรั่งเล่นละครไทย เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าตั้งคำถามถึงความเป็นไทยรอบตัว ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ว่าแท้จริงแล้ว อะไรคือความเป็นไทย

  • ห้องที่ 2 ห้องไทยแปลไทย : ห้องจัดแสดงที่เต็มไปด้วยตู้โชว์ ลิ้นชัก ที่ภายในบรรจุวัตถุจัดแสดง นำเสนอประเด็นสิ่งของความเป็นไทยในแต่ละยุคสมัย ให้ผู้เข้าชมมาเรียนรู้และค้นหา “ความเป็นไทย” ในสิ่งของเหล่านั้นที่ส่งผลถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในปัจจุบัน

  • ห้องที่ 3 ห้องไทยตั้งแต่เกิด : โชว์การพัฒนาการความเป็นไทย ที่นำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และสิ่งแสดงความเป็นไทยในสมัยต่างๆ 9 ยุคสมัย ผ่านเทคโนโลยีโมดูลไฮดรอลิก เสียงบรรยาย และกราฟิก ที่ถูกนำมาใช้ในนิทรรศการครั้งแรกของไทย

  • ห้องที่ 4 ไทยสถาบัน : นำเสนอแก่นแนวคิดเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3 สถาบันหลัก ที่สะท้อนรูปแบบการแสดงออกของความเป็นไทย ผ่านเทคโนโลยีเออาร์ ออกแบบคล้ายเกมส์จิ๊กซอว์ ที่ผู้ชมสามารถประกอบคิวบิกบนโต๊ะกลางห้อง และภาพจำซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็น ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงผล

  • ห้องที่ 5 ห้องไทยอลังการ : ภายในจำลองบรรยากาศของท้องพระโรงและพระที่นั่ง เพื่อแสดงถึงสุนทรียะ ความงดงามของสถาปัตยกรรม และงานหัตศิลป์ไทย รวมถึงสะท้อนความหมาย ความศรัทธา คติฮินดู และความเชื่อพุทธศาสนา ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นศูนย์กลางของประชาชน

  • ห้องที่ 6 ห้องไทยแค่ไหน : นำเสนอความเป็นไทยผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จัดแสดงด้วยหุ่นเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆ วางกระจายอยู่บนฐานเกลียวก้นหอย จากสูงลงมาต่ำ เพื่อแสดงถึงสถานะและลำดับความเข้มข้นของความเป็นไทย

  • ห้องที่ 7 ห้องไทย Only : ห้องที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตาในชีวิตประจำวัน ที่เห็นแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นของไทยแน่นอน อาทิ พวงเครื่องปรุง ถุงหิ้วกาแฟผูกหนังยาง โครเชต์หุ้มหูกระเป๋าแบรนด์เนม มาม่าสารพัดรส รวมถึงไฮไลท์เด็ด คุณเอิบทรัพย์ หุ่นนางกวักยักษ์สูงกว่า 4 เมตร เป็นต้น ซึ่งสะท้อนบุคลิกภาพความเป็นคนไทยช่างประดิษฐ์ ปรับปรุง เพื่อนำไปแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

  • ห้องที่ 8 ห้องไทย Inter : นำเสนอประเด็นมุมมองความเป็นไทยของสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันในสายตาชาวไทยกับชาวต่างประเทศ อาทิ เรือสุพรรณหงส์คู่กับเรือหางยาว ผลไม้แกะสลักคู่กับผลไม้รถเช็น สำหรับอาหารชาววังคู่กับอาหารไทยดั้งเดิม สะท้อนมุมมองความเป็นไทย ที่ต้องการให้คนอื่นเห็น กับ สิ่งที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น

  • ห้องที่ 9 ห้องไทยวิทยา : ภายในจำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย ความเป็นไทยยุค 25000 ความเป็นไทยยุคโลกาภิวัตน์ และความเป็นไทยยุคพอเพียง ซึ่งสะท้อนความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่ถูกสอดแทรกไว้ผ่านการศึกษา แบบเรียน และบทเพลงแต่ละยุคสมัย

  • ห้องที่ 10 ห้องไทยชิม : ห้องครัวมีชีวิต ที่พาคุณไปเรียนรู้ที่มาของอาหารไทยขึ้นชื่อต่างๆ อย่าง ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ผัดไทย เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์สแกน พร้อมโมชันกราฟิกสีสันสวยงาม รวมถึงแผ่นพับรูปจาน ที่สอดแทรกเกร็ดความรู้อาหารเหล่านั้น บอร์ดกราฟิกชวนตั้งคำถามกับเมนูอาหารไทยที่มีชื่อต่างประเทศ อาทิ ขนมจีน ข้าวผัดอเมริกัน ขนมโตเกียว เป็นต้น

  • ห้องที่ 11 ห้องไทยดีโคตร : นำเสนอพัฒนาการของความเป็นไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอื่น อาทิ พระปรางค์วัดอรุณ ที่สุดของสถาปัตยกรรม ตัวอักษรไทย รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น ผ่านรูปแบบการนำเสนอด้วยภาพ ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เลเซอร์คัท 3 มิติ โซโทรป ฟลิปบุ๊ก เป็นต้น

  • ห้องที่ 12 ห้องเชื่อ : ห้องที่รวบรวมวัตถุด้านความเชื่อของเมืองไทย กว่า 108 สิ่ง ครอบคลุมทั้งความเชื่อเรื่อง ผี พุทธศาสนา พราหมณ์และความเชื่อแบบไทยๆ ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต พร้อมเวิร์กชอปความเชื่อให้ทดลองกันได้จริง อาทิ การทำนายโชคชะตา การเสี่ยงทายรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

  • ห้องที่ 13 ไทยประเพณี : ห้องจัดแสดงในรูปแบบโกดังเก็บของ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณี เทศกาล และมารยาท อันเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ใส่ไว้ในกล่อง ภายในมีเอกสารอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ภาพประกอบของจริงที่จับต้องได้ เล่นได้ และมีเกมที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวได้สนุกยิ่งขึ้น

  • ห้องที่ 14 ไทยแชะ : สตูดิโอถ่ายภาพ นำเสนอประเด็นความสำคัญของ ภาพถ่าย เป็นหลักฐานที่บ่งบอกความเป็นไทยและทำให้เรารู้จักผู้คน และบ้านในยุคสมัยต่างๆ ได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้ชมสามารถเลือกชุด เครื่องประดับ ฉาก และเครื่องประกอบฉาก สำหรับถ่ายภาพบันทึกความทรงจำไว้ได้ตามอัธยาศัย

ภาพถ่ายก่อนบูรณะกระทรวงพาณิชย์

กระทรวงท่าเตียน” คืออีกชื่อหนึ่งที่ผู้คนมักจะใช้เรียกขานกระทรวงพาณิชย์ เพราะอยู่บริเวณท่าเตียน ขุนวิจิตรมาตราได้เล่าว่า ในสมัยแรกเริ่มของการก่อสร้างนั้น ได้สร้างอาคารบนพื้นที่ว่างอันเป็นที่วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวง บดินทรไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ มีถนน ๓ สายโดยรอบ ได้แก่ ถนนสนามไชย ถนนมหาราช ถนนเขตต์ หรือซอยเศรษฐการในปัจจุบัน ใกล้กับที่ทำการศาลาแยกธาตุในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วัง กรมหมื่นภูมินทรภักดี ตัวอาคารนั้น ก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๔๖๔และในปี พ.ศ. ๒๔๖๕พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกระทรวงฯ
ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งเสนาบดี
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีชื่อว่า “กระทรวงเกษตรพาณิชย์การ” และเปลี่ยนชื่อศาลาแยกธาตุเป็น “กรมวิทยาศาสตร์”
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เนื่องด้วยการพาณิชย์รวมทั้งการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมและส่งเสริมกิจการค้าและประกันภัยจวบจนปัจจุบัน
กระทรวงพาณิชย์สร้างเป็นอาคารทรงฝรั่ง เนื่องจากรูปแบบงานมีลักษณะสมัยใหม่มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งมีความสำคัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางเข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมทำงานกับสถาปนิกคนอื่นๆ ในการออกแบบสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ มากมาย เช่น พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งดุสิต วัดเบญจมบพิตร สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบบ้านนรสิงห์ บ้านพิษณุโลก ราชตฤณมัยสมาคม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
สำหรับงานปูนปั้นหรืองานหล่ออันงดงามในตัวกระทรวงพาณิชย์นั้น เป็นฝีมือการออกแบบของ วิตโตริโอ โนวี นายช่างเอกแห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ผู้รังสรรค์ สลักเสลาความงามวิจิตร ตามอาคารต่างๆ แทบทุกโครงการที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม

Results 41 to 60 of 2730