Showing 872 results

Archival description
รูปภาพและภาพถ่าย With digital objects
Print preview View:

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เส็จทอดพระเนตร นิทรรศการห้อง แผนที่ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ โดยมี นายปุญญภาพ ดินวูน เป็นผู้ถวายรายละเอียดเนื้อหานิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถวายบังคมพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงเศรษฐการพระองค์แรก

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรการจัดแสดงภายในห้อง ชีวิตนอกกรุงเทพฯ ห้องนิทรรศการนี้สื่อให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและความฉลาดหลักแหลมในเรื่องการคิดเครื่องมือทำกิน รวมถึงความเชื่อและพิธีกรรม วิถ๊การเกษตรที่มีความผูกพันธ์กับชาวไทยมาถึงปัจจุบัน โดยมีนางสาวจารุณี แย้มชื่น เป็นผู้ถวายเนื้อหาประจำห้องนิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลงนามพระนามาภิไธยลงในสมุดที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย และกราบพระรูปกรมพระจันทรบุรีนฤนาถฯ ซึ่งเป็นสมเด็จตาทวดของพระองค์

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สทเด็จพระเทพฯ เสด็จเข้าสู่ห้อง มองไปข้างหน้า โดยมีนางสาวอัญญพร จริยะบูรณ์ เป็นผู้ถวายรายละเอียดเนื้อหานิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ณ ห้องพิพิธเพลิน 1 อาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 มิวเซียมสยาม

แถวแรก (นั่งฝั่งซ้าย) นางอลิสา ภู่ชอุ่ม นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรี ชินธรรมมิตร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
(นั่งฝั่งขวา) พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน นางจินตนา ธีรวรางกูล นางรุ่งทิวา ศักดิ์วิทย์ นางสาวปฤษฎาพร โชติธรรม

แถวกลาง (ฝั่งซ้าย) นางจิระนันท์ พิตรปรีชา นางสาวอัญญาพร จริยาบูรณ์ นางสาวสุชารัตน์ ทับทิมจำรูญ นางสาวศิริพร เฟื่องฟูลอย นางสาวจารุณี แย้มชื่น นางรัชดา โชติพานิช นางวัชนี สินธุวงศานนท์ (ฝั่งขวา) นางวราพร ไตรรงค์ นางสาวศราวัณ วินทุพราหมณกุล นางสาวพัชรลดา จุลเพชร นางสาวรัตมา พงศ์พนรัตน์ นางสาวธัญธร ดุลยจินดา

แถวยืน (ฝั่งซ้าย) นายณฤทธิ์ รอดชนา นายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร นายสุทธิรัตน์ แก้วอาภรณ์ นายปุญญภาพ ดินวูน นายวรกานต์ วงษ์สุวรรณ นายพาฉัตร ทิพทัส (ฝั่งขวา) นางสาวณิชยา เทียนสิงหเดช นางสาวณัฐกานต์ จันทร์ไทย นางสาวพธู คูศรีพิทักษ์ นางเอมอร สายชุ่มดี นางสาวปิยมาศ สุขพลับพลา นางเกษรา วรวัฒนารักษ์ นายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องแปลงโฉมสยามประเทศ การติดต่อกับโลกตะวันตกทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ทางสังคมในหลายๆ ด้าน โดยมีนางสาวศราวัณ วินทุพราหมณกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ถวายรายละเอียดเนื้อหาในห้องนิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

รูปภาพและภาพถ่าย

  • TH NDMI PIC
  • Fonds

จัดเก็บรูปภาพและภาพถ่ายกิจกรรมต่างๆ ที่จัดโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ภาพถ่ายก่อนบูรณะกระทรวงพาณิชย์

กระทรวงท่าเตียน” คืออีกชื่อหนึ่งที่ผู้คนมักจะใช้เรียกขานกระทรวงพาณิชย์ เพราะอยู่บริเวณท่าเตียน ขุนวิจิตรมาตราได้เล่าว่า ในสมัยแรกเริ่มของการก่อสร้างนั้น ได้สร้างอาคารบนพื้นที่ว่างอันเป็นที่วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวง บดินทรไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ มีถนน ๓ สายโดยรอบ ได้แก่ ถนนสนามไชย ถนนมหาราช ถนนเขตต์ หรือซอยเศรษฐการในปัจจุบัน ใกล้กับที่ทำการศาลาแยกธาตุในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วัง กรมหมื่นภูมินทรภักดี ตัวอาคารนั้น ก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๔๖๔และในปี พ.ศ. ๒๔๖๕พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกระทรวงฯ
ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งเสนาบดี
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีชื่อว่า “กระทรวงเกษตรพาณิชย์การ” และเปลี่ยนชื่อศาลาแยกธาตุเป็น “กรมวิทยาศาสตร์”
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เนื่องด้วยการพาณิชย์รวมทั้งการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมและส่งเสริมกิจการค้าและประกันภัยจวบจนปัจจุบัน
กระทรวงพาณิชย์สร้างเป็นอาคารทรงฝรั่ง เนื่องจากรูปแบบงานมีลักษณะสมัยใหม่มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งมีความสำคัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางเข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมทำงานกับสถาปนิกคนอื่นๆ ในการออกแบบสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ มากมาย เช่น พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งดุสิต วัดเบญจมบพิตร สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบบ้านนรสิงห์ บ้านพิษณุโลก ราชตฤณมัยสมาคม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
สำหรับงานปูนปั้นหรืองานหล่ออันงดงามในตัวกระทรวงพาณิชย์นั้น เป็นฝีมือการออกแบบของ วิตโตริโอ โนวี นายช่างเอกแห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ผู้รังสรรค์ สลักเสลาความงามวิจิตร ตามอาคารต่างๆ แทบทุกโครงการที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม

Results 21 to 40 of 872