Showing 68 results

Archival description
Series
Print preview View:

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย (Decoding Thainess)

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย นำเสนอพัฒนาการความเป็น ไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวในมิติต่าง ๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของนิทรรศการอยู่ที่รูปแบบการนำเสนอและการเล่าเรื่องผ่านเรื่องราว วัตถุจัดแสดง ที่ปัจจุบันทันสมัย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพื่อชวนให้ผู้เข้าชมสามารถผูกโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบด้วย 14 ห้องนิทรรศการ ได้แก่

  • ห้องที่ 1 ห้องไทยรึเปล่า? : นำเสนอประเด็นคำถาม โดยหยิบยกกรณีตัวอย่างปรากฏการณ์ “ความเป็นไทย” ที่เป็นข้อถกเถียงในสังคม อาทิ เลดี้กาก้าสวมชฎา ชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์ส นักแสดงหน้าฝรั่งเล่นละครไทย เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าตั้งคำถามถึงความเป็นไทยรอบตัว ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ว่าแท้จริงแล้ว อะไรคือความเป็นไทย

  • ห้องที่ 2 ห้องไทยแปลไทย : ห้องจัดแสดงที่เต็มไปด้วยตู้โชว์ ลิ้นชัก ที่ภายในบรรจุวัตถุจัดแสดง นำเสนอประเด็นสิ่งของความเป็นไทยในแต่ละยุคสมัย ให้ผู้เข้าชมมาเรียนรู้และค้นหา “ความเป็นไทย” ในสิ่งของเหล่านั้นที่ส่งผลถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในปัจจุบัน

  • ห้องที่ 3 ห้องไทยตั้งแต่เกิด : โชว์การพัฒนาการความเป็นไทย ที่นำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และสิ่งแสดงความเป็นไทยในสมัยต่างๆ 9 ยุคสมัย ผ่านเทคโนโลยีโมดูลไฮดรอลิก เสียงบรรยาย และกราฟิก ที่ถูกนำมาใช้ในนิทรรศการครั้งแรกของไทย

  • ห้องที่ 4 ไทยสถาบัน : นำเสนอแก่นแนวคิดเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3 สถาบันหลัก ที่สะท้อนรูปแบบการแสดงออกของความเป็นไทย ผ่านเทคโนโลยีเออาร์ ออกแบบคล้ายเกมส์จิ๊กซอว์ ที่ผู้ชมสามารถประกอบคิวบิกบนโต๊ะกลางห้อง และภาพจำซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็น ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงผล

  • ห้องที่ 5 ห้องไทยอลังการ : ภายในจำลองบรรยากาศของท้องพระโรงและพระที่นั่ง เพื่อแสดงถึงสุนทรียะ ความงดงามของสถาปัตยกรรม และงานหัตศิลป์ไทย รวมถึงสะท้อนความหมาย ความศรัทธา คติฮินดู และความเชื่อพุทธศาสนา ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นศูนย์กลางของประชาชน

  • ห้องที่ 6 ห้องไทยแค่ไหน : นำเสนอความเป็นไทยผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จัดแสดงด้วยหุ่นเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆ วางกระจายอยู่บนฐานเกลียวก้นหอย จากสูงลงมาต่ำ เพื่อแสดงถึงสถานะและลำดับความเข้มข้นของความเป็นไทย

  • ห้องที่ 7 ห้องไทย Only : ห้องที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตาในชีวิตประจำวัน ที่เห็นแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นของไทยแน่นอน อาทิ พวงเครื่องปรุง ถุงหิ้วกาแฟผูกหนังยาง โครเชต์หุ้มหูกระเป๋าแบรนด์เนม มาม่าสารพัดรส รวมถึงไฮไลท์เด็ด คุณเอิบทรัพย์ หุ่นนางกวักยักษ์สูงกว่า 4 เมตร เป็นต้น ซึ่งสะท้อนบุคลิกภาพความเป็นคนไทยช่างประดิษฐ์ ปรับปรุง เพื่อนำไปแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

  • ห้องที่ 8 ห้องไทย Inter : นำเสนอประเด็นมุมมองความเป็นไทยของสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันในสายตาชาวไทยกับชาวต่างประเทศ อาทิ เรือสุพรรณหงส์คู่กับเรือหางยาว ผลไม้แกะสลักคู่กับผลไม้รถเช็น สำหรับอาหารชาววังคู่กับอาหารไทยดั้งเดิม สะท้อนมุมมองความเป็นไทย ที่ต้องการให้คนอื่นเห็น กับ สิ่งที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น

  • ห้องที่ 9 ห้องไทยวิทยา : ภายในจำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย ความเป็นไทยยุค 25000 ความเป็นไทยยุคโลกาภิวัตน์ และความเป็นไทยยุคพอเพียง ซึ่งสะท้อนความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่ถูกสอดแทรกไว้ผ่านการศึกษา แบบเรียน และบทเพลงแต่ละยุคสมัย

  • ห้องที่ 10 ห้องไทยชิม : ห้องครัวมีชีวิต ที่พาคุณไปเรียนรู้ที่มาของอาหารไทยขึ้นชื่อต่างๆ อย่าง ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ผัดไทย เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์สแกน พร้อมโมชันกราฟิกสีสันสวยงาม รวมถึงแผ่นพับรูปจาน ที่สอดแทรกเกร็ดความรู้อาหารเหล่านั้น บอร์ดกราฟิกชวนตั้งคำถามกับเมนูอาหารไทยที่มีชื่อต่างประเทศ อาทิ ขนมจีน ข้าวผัดอเมริกัน ขนมโตเกียว เป็นต้น

  • ห้องที่ 11 ห้องไทยดีโคตร : นำเสนอพัฒนาการของความเป็นไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอื่น อาทิ พระปรางค์วัดอรุณ ที่สุดของสถาปัตยกรรม ตัวอักษรไทย รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น ผ่านรูปแบบการนำเสนอด้วยภาพ ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เลเซอร์คัท 3 มิติ โซโทรป ฟลิปบุ๊ก เป็นต้น

  • ห้องที่ 12 ห้องเชื่อ : ห้องที่รวบรวมวัตถุด้านความเชื่อของเมืองไทย กว่า 108 สิ่ง ครอบคลุมทั้งความเชื่อเรื่อง ผี พุทธศาสนา พราหมณ์และความเชื่อแบบไทยๆ ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต พร้อมเวิร์กชอปความเชื่อให้ทดลองกันได้จริง อาทิ การทำนายโชคชะตา การเสี่ยงทายรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

  • ห้องที่ 13 ไทยประเพณี : ห้องจัดแสดงในรูปแบบโกดังเก็บของ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณี เทศกาล และมารยาท อันเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ใส่ไว้ในกล่อง ภายในมีเอกสารอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ภาพประกอบของจริงที่จับต้องได้ เล่นได้ และมีเกมที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวได้สนุกยิ่งขึ้น

  • ห้องที่ 14 ไทยแชะ : สตูดิโอถ่ายภาพ นำเสนอประเด็นความสำคัญของ ภาพถ่าย เป็นหลักฐานที่บ่งบอกความเป็นไทยและทำให้เรารู้จักผู้คน และบ้านในยุคสมัยต่างๆ ได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้ชมสามารถเลือกชุด เครื่องประดับ ฉาก และเครื่องประกอบฉาก สำหรับถ่ายภาพบันทึกความทรงจำไว้ได้ตามอัธยาศัย

นิทรรศการ ชุด ไทยทำ...ทำทำไม (พ.ศ. 2560)

ความรู้ในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จนเกิดเป็น “ภูมิปัญญา” แบบไทยๆ ขึ้นมา ถึงแม้ว่าของเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ซับซ้อนหรือแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมายก็ตาม แต่ของ “ไทยทำ” กลับแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราอยู่อาศัยกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข และเก่งนักในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia)

วันที่ 20-29 ตุลาคม 2548 บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้จัดนิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia) เพื่อแสดงประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซีย ซึ่งยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องในวโรกาสวันปิยะมหาราช และการเปิดเส้นทางบินใหม่สู่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย ของการบินไทย โดยนิทรรศการ "้เส้นทางสู่รัสเซีย" จัดขึ้น ณ ชั้น G เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก - เขียนไม่ได้ – นึกไม่ถึง (พ.ศ. 2554)

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก- เขียนไม่ได้- นึกไม่ถึง จัดทำโดยเยาวชนทีมเลขเด็ดที่ชนะเลิศจากโครงการ ปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ ๑ (Young Muse Project) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มิวเซียมสยาม

นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว (พ.ศ. 2555)

เรื่องหนักหัว
มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จัดนิทรรศการชั่วคราว "เรื่องหนักหัว" เพื่อเปิดมุมมองใหม่และค้นหาตัวตนของคนไทย นำเสนอเรื่องราวของ "หมวก" เครื่องศิราภรณ์" และ "เครื่องประกอบศีรษะ" เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความเป็นมาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่านหมวกมากมายหลากหลายชนิดที่ถูกนำไปสวมใส่อยู่บนหัว ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและความสำคัญในแง่มุมต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยนิทรรศการ "เรื่องหนักหัว" เป็นนิทรรศการรูปแบบใหม่ ที่จะแทรกเข้าไปอยู่ในนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ตามห้องต่างๆ ภายในมิวเซียมสยามอย่างกลมกลืน และสอดคล้องกับช่วงยุคสมัยนั้น
ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ
นำเสนอเรื่องของ “หน้ากาก ตัวแทนแห่งผีและพิธีศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝนของคนยุคก่อน เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้อ้อนวอนธรรมชาติ ให้ช่วยดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ เพราะพวกเขารู้จักการทำนาปลูกข้าวและเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่พบได้ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย และพิธีกรรมเต้นรำใส่หน้ากากของชนเผ่าในเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
หมวกทวาฯ นานาชาติ
สมัยทวารวดี นิทรรศการได้นำเสนอ “หัวปูนปั้นประดับฐานสถูป” โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “หมวกทวาฯ นานาชาติ” ที่พบในเมืองโบราณแห่งต่างๆ ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอินเดียมีอิทธิพลอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การค้าขาย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชสำนักไทยสยามก็มี “ขันที” ขุนนางในสมัยอยุธยาสวม “หมวกเครื่องแบบ” ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ลอมพอก” คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากขันทีชาวเปอร์เซียที่เคยเข้ามาปฏิบัติงานในราชสำนักฝ่ายใน ด้วยรูปทรงที่แปลกตาจึงเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ปัจจุบันเรายังคงได้เห็น “พระยาแรกนา” ใส่ลอมพอกในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือแม้แต่นาคก็ใส่เข้าพิธีบรรพชา

ชฎากับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ค้นหาคำตอบว่าชฎาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยจริงหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องราวของ “เลดี้กาก้า” กับชฎาที่ตกเป็นข่าว ที่ใส่โชว์บนคอนเสิร์ตในประเทศไทย ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ถึงความเหมาะสมถูก-ผิดกันต่อไป
ในตอนนี้จะมีสักกี่คนสำนึกรู้ว่า“ชฎา”คือสิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ และใช้ในการแสดงมหรสพทางประเพณีไทยมาช้านาน นั่นเท่ากับว่ามูลค่าแห่งความสำคัญของชฎา มิใช่เพียงเครื่องแสดงอัตลักษณ์ แต่มันคือวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย

สุภาพบุรุษชาวสยามกับความศิวิไลซ์
การเข้ามาของ “ฝรั่ง” นักล่าอาณานิคมจากประเทศยุโรป ทำให้สยามต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ต่างทรงปรับตัวให้ทันกระแสของโลก แฟชั่นสวมหมวกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของชาวตะวันตกในยุคนั้น จึงถูกราชสำนักสยามนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการแสดงความ “ศิวิไลซ์”
และเป็นที่รู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด “โบวเลอร์แฮ็ต” มาก ถึงแม้ว่าหมวกดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพชาวเมืองผู้ดีก็ตาม

เกี่ยวข้าวก็เย็นได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติ
“งอบ” ภูมิปัญญาเกษตรกรไทยไม่ว่าจะเกี่ยวข้าว พายเรือ หรือเมื่อต้องออกแดดทุกครั้งชาวนา แม่ค้า หรือคนไทยอย่างเราๆ ต่างก็ต้องพึ่งพาหมวกครอบจักรวาลใบนี้ ประดิษฐกรรมสวมหัวที่ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเราก็เป็นเลิศด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการสานงอบ ที่แสดงถึงความเข้าใจในหลักการระบายอากาศเป็นอย่างดี เป็นเทคนิคเดียวกับการปลูกเรือนให้อยู่สบายในสภาพอากาศร้อนและชื้น

ราวกับว่า “มาลา” จะ “นำไทย” สู่ความเป็นอารยะได้เช่นนั้นหรือ
การปฏิวัติขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านผู้นำเชื่อว่า การแต่งกายเยี่ยงตะวันตกนั้น จะเป็นหนทางหนึ่งในการนำชาติไทย รุดหน้าเช่นอารยธรรมประเทศ มีการออกกฎบังคับให้ประชาชนชาวไทย สวมหมวก ทุกคราวที่ออกจากบ้าน โดยมีการแต่งบทเพลงชักชวนให้คนไทยสวมหมวกอย่างเพลง ‘สวมหมวกไทย’ ขับร้องโดย 'มัณฑนา โมรากุล'

มงกุฎนางงาม สาวไทยในยุคสงครามเย็น
สถานะและบทบาทระหว่างสตรีกับการเมืองในสมัยทุนนิยมยุคสงครามเย็น ผ่านมงกุฎนางงามจักรวาลคนแรกของประเทศไทย อาภัสรา หงสกุล จนกลายเป็นกระแส “อาภัสราฟีเวอร์” ที่สาวไทยทั้งหลายอยากจะสวมมงกุฎเพื่อให้สวยอย่างอภัสรา ซึ่งเธอนั้นได้รับตำแหน่งมาพร้อมกับการยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกาที่อู่ตะเภา ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้วการเมืองทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนาม ในปีค.ศ.1965

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง นำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนในสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดเป็นระบบความเชื่อที่ค่อน ข้างซับซ้อนและฝังแน่น ระบบความเชื่อเหล่านี้สามารถแสดงออกมาในรูปของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเรื่องของความงมงาย แต่ความเชื่อเหล่านี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

นิทรรศการจะบอกเล่ากำเนิดความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง บอกเล่ากลไกขององค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบ ตั้งแต่ ด้านพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีต ที่เป็นผู้กำหนดตลาดของสลากกินแบ่ง รวมไปถึงมีส่วนสำคัญมากในการจำหน่ายสลากด้านกลุ่มผู้ค้าเร่

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

นิทรรศการหมุนเวียน ชุด "หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย" บอกเล่ากำเนิดความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง บอกเล่ากลไกขององค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบ ตั้งแต่ด้านพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีตที่เป็นผู้กำหนดตลาดของสลากกินแบ่ง รวมไปถึงการจำหน่ายสลากกินแบ่ง

ประเด็นที่หนึ่ง : เริ่มจากการเรียนรู้กำเนิดความเป็นมาของหวย ก ข ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ในยุคที่เกิดข้าวยากหมากแพง เงินจากหวย ก ข จำนวนมากส่งเข้าหลวงสามารถช่วยให้เศรษฐกิจของสยามดีขึ้นและเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของสยามต่อเนื่องมาจนกระทั่งถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนลอตเตอรี่ เป็นการเสี่ยงโชคใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ออกรางวัลเพื่อระดมเงินทุนให้กับบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้ามาจัดแสดงในการจัดพิพิธภัณฑ์ที่ตึกคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง การระดมทุนโดยออกลอตเตอรี่ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบมาเรื่อย จนกลายเป็นสลากกินแบ่งรัฐบาลที่สร้างรายได้ให้กับรัฐจำนวนมหาศาล

ประเด็นที่สอง : แสดงให้เห็นโครงสร้างของการกระจายสลาก กลไกการสร้างมูลค่าของสลาก สลากจำนวน 2 ใน 3 กระจายสู่ผู้ค้ารายย่อยที่ได้ลงทะเบียนและได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นผู้ค้ารายย่อยจริง มีแผงค้าเป็นของตนเอง ผู้ค้าเหล่านี้จะแจ้งความจำนงล่วงหน้าว่าในงวดถัด ๆ ไป จะมารับซื้อไปขายกี่ฉบับ ช่วยให้สำนักงานสลากคำนวณได้ว่า ในแต่ละงวดต้องพิมพ์สลากกี่ใบ โดยที่ไม่เหลือมากจนขาดทุน จากโครงสร้างตลาดที่ไม่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ค้าเร่บางส่วน สบช่องให้เกิด ยี่ปั๊ว หรือผู้รวบรวมสลากเพื่อนำมาจัดชุด โดยแต่ละชุดจะมีเลขสลากเหมือนกัน ทำให้เมื่อถูกรางวัล ชุดนั้นก็จะได้รับเงินเป็นทวีคูณ

ประเด็นที่สาม : คนขายหวย นำเสนอวิถีชีวิตและเทคนิคในการขายหวยของผู้ค่าเร่ อาชีพเร่ขายหวยหรือลอตเตอรี่นี้เพิ่งเริ่มมีมาเมื่อ 30 ปีก่อน ชาวบ้านโพนงาม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มาเดินขายลอตเตอรี่ที่กรุงเทพ ฯ ถือเป็นจุดกำเนิดของ "หวยเดินไปหาคนซื้อ" คนเร่ขายลอตเตอรี่จะปรากฏตัว ณ จุดที่ผู้คนรวมตัวกัน ไม่ว่าจะ BTS MRT ห้างสรรพสินค้า หรือ แม้แต่ในหมู่บ้าน ไม่ซ้ำรายกันเลยทีเดียว วิถีชีวิตของผู้ค้าเร่ขายลอตเตอรี่ ขึ้นอยู่กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และ โครงสร้างการตลาดของลอตเตอรี่ในแต่ละงวด พวกเขาเป็นไม้สุดท้ายที่นำส่งลอตเตอรี่มายังมือของนักเสี่ยงโชค

ประเด็นที่สี่ : คน เล่น หวย +ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำเสนอความเชื่อ ความหวังของคนเล่นหวย เหตุใด เราถึงผูกโยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับหวย ซึ่งเป็นเรื่องสถิติ การคำนวณ เช่น หวยย่านาค หวยไอ้ไข่ หวยคำชะโนด ฯลฯ หรือเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ เป็นแหล่งเพิ่มความหวังและกำลังใจที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน ในทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องส่วนตัว ไปจนถึงการชะตากรรมของบ้านเมือง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)

สูจิบัตร นิทรรศการ สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)
วันที่ 15 กรกฎาคม - 27 ตุลาคม 2562
เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการเสนอเรื่องราวของการสักและอุปกรณ์ งานศิลปะจากศิลปิน ชาติพันธุ์ ภาพถ่าย ตำนานและสารคดี

นิทรรศการ ชุด ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย

ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดในการเสนอประเด็นประวัติศาสตร์ผ่านการมีส่วนร่วมของสังคมด้วยกระบวนการพิพิธภัณฑ์

แนวคิดสำคัญ ประการแรก คือ การระลึกถึงถนนสายที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทย ๑๒๑ ปีของถนนสายนี้เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมอันพึงจารึกจดจำ และแนวคิดที่สอง คือ ปรากฏการณ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรไทย

มิวเซียมสยามได้ตอบสนองปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยการจัดอบรมปฏิบัติการให้กลุ่มผู้สูงวัย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ภัณฑารักษ์วัยเก๋า” ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และได้ทำงานร่วมกับคนวัยเก๋าทั้ง ๑๖ ท่านในงานนิทรรศการนี้ ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย จึงเป็นการปะทะประสานมุมมองของคนต่างวัย ต่างประสบการณ์ที่ล้วนล่องอยู่ในรอยแห่งราชดำเนิน

นิทรรศการจัดแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 : การแนะนำนิทรรศการและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของถนนราชดำเนินผ่านการเล่าเรื่องแบบเส้นเวเลา (Timeline) และใช้สื่อวิดิทัศน์ในการนำเสนอ

ส่วนที่ 2 : “ล่อง รอย” ที่นำเสนอประวัติศาสตร์การประชันทางความคิดของคนหลายยุคหลายสมัยบนถนนราชดำเนินที่สามารถเดินชมไปพร้อมกับการใช้สื่อดิจิตัล ได้แก่ สมาร์ทโฟน และหูฟังเป็นเครื่องมือในการชมเส้นสายแห่งประสบการณ์เรื่องเล่าใน 8 เส้นทาง โดยผู้เข้าชมจะรู้สึกสนุกไปกับเสียงบรรยายประกอบจากคณะเกศทิพย์ นักพากย์นิยายวิทยุที่โด่งดังอยู่ช่วงหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าถึงเหตุการณ์ในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ 3 : แสดงถึงสถานที่สำคัญบนถนนราชดำเนิน โดยจำลองแลนด์มาร์คสำคัญบนถนนราชดำเนินพร้อมเล่าเรื่องราวไปกับวัตถุจัดแสดงที่ได้รับมาจากผู้ที่สนใจร่วมแบ่งปันประสบการณ์ก่อนหน้านี้

ส่วนที่ 4 : นิทรรศการของภัณฑารักษ์วัยเก๋า เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของนิทรรศการที่ได้คัดคนหนุ่มสาวยุคเบบี้บูมเมอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ โดยได้รับการฝึกอบรม ปฏิบัติการเรียนรู้จากมิวเซียมสยาม เรื่องเทคนิคการเล่าเรื่อง การถ่ายภาพ และตัดต่อวิดีทัศน์ด้วยมือถือ และนำผลงานเหล่านี้มาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกัน

ระยะเวลาจัดแสดง

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์) ณ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1 ไม่เสียค่าเข้าชม
  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณสี่แยกคอกวัว

นิทรรศการ ชุด พระนคร

นิทรรศการหมุนเวียน ชุด พระนคร “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ก้าวย่างบนเส้นทางอย่างตะวันตก นิทรรศการหมุนเวียนชุดใหม่จาก มิวเซียมสยาม ที่พาทุกคนไปรู้จักกับย่าน “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ที่ในอดีต ที่เคยได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์กลาง” แห่งใหม่ของพระนคร ในช่วงที่อาณาจักรสยามต้องเผชิญหน้ากับการคุกคามจากโลกตะวันตก พื้นที่แห่งนี้จึงเปรียบเหมือนสถานบ่มเพาะการปรับตัวสู่โลกสมัยใหม่ ให้สยามอยู่รอดและผสานรอยต่อ พร้อมเข้าสู่สังคมตะวันตกอย่างเต็มตัวเช่นในปัจจุบัน

นิทรรศการแบ่งออกเป็น 7 โซน ประกอบด้วย

โซนที่ 1 : มีอะไรในแผนที่
บอกเล่าเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของย่านการค้าแห่งนี้ นับตั้งแต่ถนนเจริญกรุงตัดขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงของเมืองบางกอกที่เชื่อมโยงถนนสายต่าง ๆ เชื่อมผู้คนจากต่างถิ่นให้เข้ามาหากัน ผ่านเทคนิคการ Mapping

โซนที่ 2 : ช่างฝรั่ง กับวังสยาม
โซนที่จะพาผู้ชมไปรู้จักกับ “ช่างฝรั่ง” นายโจอาคิม แกรซี เบื้องหลังงานออกแบบของสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างในย่านนี้ ที่พลิกพระนครให้เป็นฝรั่งได้ด้วยสายตา

โซนที่ 3 : ช่างฝรั่ง โรงชักรูป
การเข้ามาของช่างชักรูปชาวต่างชาติ ที่หมุนเวียนกันเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดกระแสของการบันทึกภาพของชนชั้นนำชาวสยามและการถือกำเนิดขึ้นของสตูดิโอชักภาพในตำนานห้างโรเบิร์ต เลนซ์

โซนที่ 4 : หมอยาฝรั่ง ห้างบีกริม
บอกเล่าเรื่องราวของห้างสุดโอ่อ่า ที่ตั้งอยู่ตรงหัวมุมย่านประตูสามยอด ภายใต้การดูแลหมอยาฝรั่ง นายอดอล์ฟ ลิงค์ ได้นำพาสินค้านานาชนิดมาสู่พระนคร พร้อมการเกิดขึ้นของ “ร้านขายยาสยาม” และต้นกำเนิดของย่านขายเครื่องจักร, กล้อง และปืน

โซนที่ 5 : ห้างสรรพสินค้า พ่อค้านานาชาติ
จุดเริ่มต้นของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น ราวปลายรัชกาลที่ 6 คือ ช่วงเวลาเดียวกันของกระแส “เห่อของนอก” จากการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้านานาชาติทั้งจีน, ฝรั่ง, แขกมุสลิมดาวูดี โบห์รา และแขกสิกข์ขายผ้า เข้ามาขายในพระนครจนติดอกติดใจชาวสยาม

โซนที่ 6 : มหรสพฝรั่ง โรงหนังนำสมัย
เรื่องราวของรูปแบบความบันเทิงจากตะวันตก ที่เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของชาวพระนคร ให้เรียนรู้เรื่องฝรั่ง และความเป็นไปของโลกผ่านภาพยนตร์

โซนที่ 7 : ก้าวย่างอย่าง “สามยอด”
การมาถึงของรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) กับเรื่องราวบทต่อไปของย่านนี้ กับความเปลี่ยนแปลงใหญ่อีกครั้ง “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด”

นิทรรศการ ชุด พระนคร "สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด" ประกอบด้วย 1. พระนคร ON POSTCARD 2. พระนคร ON FOOT 3. พระนคร ON THE MOVE เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ถึง 1 มีนาคม 2563 เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด (พ.ศ. 2559)

นิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชิด
ตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคม การกระจายความเจริญ และที่สำคัญคือ สังคมจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เพื่อการทำความเข้าใจอาเซียนในมิติของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ควรจัดสร้างสรรค์นิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถนำเสนอมุมมองของการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง โดยพิจารณาว่า พม่า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ปรับด้วยมายาคติทางประวัติศาสตร์มาเป็นโมเดลการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับพม่า ประกอบกับปัจจุบันมีประชากรจากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว “พม่า” ที่หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเด่นชัด ทำให้ชาวพม่ามีส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงานเหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงานขึ้นทะเบียนเหล่านี้แล้ว ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวทำงานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย ตลอดจนคุณูปการของชาวพม่าต่อสังคมไทยอย่างข้ามกรอบอคติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความเคารพซึ่งกัน นอกจากนี้การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ยังจะเป็นภาพสะท้อนช่วยให้เข้าใจ “คนไทย” มากยิ่งขึ้นด้วย
นิทรรศการ “พม่าระยะประชิด” นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จากการลงภาคสนาม พร้อมนำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าชมมีความเข้าใจนิทรรศการมากขึ้น กิจกรรมเสวนาประวัติศาสตร์พม่าที่หายไป, กิจกรรมละครเวทีโดยนักแสดงที่เป็นเด็กชาวพม่า, การแสดงหุ่นกระบอกพม่า สถาบันฯ ในฐานะที่เป็นองค์การที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่านิทรรศการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพม่าซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว นิทรรศการนี้ยังสามารถให้แนวความคิดเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนของสังคมและการเปิดใจกว้างในการทำความรู้จักผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชัด เพื่อให้ผู้ชมตระหนักและเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาค ซึ่งกำลังจะเกิดปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในอนาคตอันใกล้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สถานที่จัดนิทรรศการ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เนื้อที่โดยรวม 246 ตร.ม.
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ มีนาคม – มิถุนายน 2559 (4 เดือน)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

Results 21 to 40 of 68