Showing 1195 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

ไทยทำ...ทำทำไม : กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระคืออุปกรณ์สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำจากกระบอกไม้ไผ่ เจาะช่องรอบปล้องไม้ไผ่ให้ได้ 6 ช่อง แล้วเอาไม้ไผ่ปล้องเล็กทำธารน้ำ แต่ละปล้องนั้นเจาะรูเล็ก ๆ ให้น้ำไหลออกมาได้ด้วย

เมื่อเวลาสรงน้ำ จะเทน้ำอบรวมกันลงในกงพัด พอน้ำตกถึงกงพัดและไหลออกตามท่อ กงพัดจะหมุน น้ำจะกระจายเป็นฝอย สาดไปทั่วพระพุทธรูป ถ้าดูให้ดีแล้วก็เหมือนกับรูปภูมิจักรวาลอันประกอบด้วยมหาสมุทรหกชั้นรอบภูเขาทวีป

ทำไม ไออินสไปร์

“น้ำ” สัญลักษณ์ของความสะอาด และ ความบริสุทธิ์ สื่อถึงความเคารพนบนอบเมื่อเราสรงน้ำที่บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน พ่นเป็นสายกงพัด ชำระฝุ่นผงบนเนื้อพระพุทธรูปแล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งเตือนใจเรา ให้หมั่นชำระผงฝุ่นในใจให้เบาบางลง

ไทยทำ...ทำทำไม : ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่นิยมและเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นการเขียนลวดลายตกแต่งผิวไม้ที่ช่างหลวงนำไปใช้ในงานของราชสำนักและงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น ลวดลายประดับผนัง เสา บานประตู หน้าต่าง ของตำหนัก และอุโบสถ ตลอดไป จนถึงเครื่องเรือนอย่าง ตู้พระธรรม

การทำ ลายรดน้ำ ของช่างไทยมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะลายรดน้ำบนตู้พระธรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นของสำคัญที่ใช้เก็บสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างพระไตรปิฎก กรรมวิธีการทำเริ่มจากการลงรักหลายชั้น แล้วจึงเขียนลาย ปิดทอง และรดน้ำ ถือเป็นเทคนิคขั้นสูง และใช้เวลายาวนานในการทำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาตามแบบฉบับช่างไทยในราชสำนัก

ทำไม ไออินสไปร์

ความงดงามของลวดลายตามแบบไทย รังสรรค์ สร้างมิติ เพื่อบ่งบอกถึงความมีฝีมือทางศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ไทยทำ...ทำทำไม : ตำราพรหมชาติ

ตำราพรหมชาติ

“การดูพรหมชาติ” เป็นวิธีการทำนายดวงชะตาราศีของบุคคลบนพื้นฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นการพยากรณ์แบบหนึ่งในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งมาจากความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ที่ได้รับจากอินเดียและจีน

ตำราพรหมชาติ ของภาคกลางและภาคใต้ เป็นตำราที่สืบทอดกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยดำเขียนด้วยตัวอักษรไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วยลายเส้นสีขาว เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆเข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วใช่ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”

ฉบับพิมพ์เก่าสุดเป็นฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์พานิชศุภผล พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2455 ไม่ปรากฏชื่อผู้รวบรวม ต่อมาได้มีการพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้งจากหลายโรงพิมพ์ และแพร่หลายไปทุกภูมิภาค มีทั้งตำราหมอดูชาวบ้านและตำราโหราศาสตร์ราชสำนักรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน สังเกตได้ว่าฉบับพิมพ์แต่ละครั้งจะเพิ่มเติมเนื้อหาอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราหมอดูไทยแทนที่จะเป็นการทำนายวิธีการหนึ่งตามชื่อของตน

ทำไม ไออินสไปร์

ปัญญาโบราณ นำพาเส้นทางชีวิต ผ่านหลักสถิติเปรียบเทียบดวงดาว เป็นเข็มทิศในวันที่สับสน และเป็นที่พักความคิดในยามที่ชีวิตต้องมรสุม

ไทยทำ...ทำทำไม : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ขุนเพชร หรือ ปลัดขิก แต่เดิมนิยมให้เด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 3-4 ขวบขึ้นไป แขวนไว้ที่เอวโดยระยะนี้เด็กกำลังมีภูมิคุ้มกันตัวเองลดลง เพราะว่าหย่านมแล้ว เพื่อจะหลอกผีให้เข้าใจไปว่าเด็กชายนั้นไม่ใช่เด็ก หากแต่เป็นผู้ชายเต็มตัวแล้ว โดยมีองคชาติปลายเปิดอย่างผู้ใหญ่ไม่มีหนังหุ้ม ผีไม่สามารถนำเด็กคนนั้นไปยังโลกแห่งความตายได้ เพราะไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว

ทำไม ไออินสไปร์

แล้ววันหนึ่ง เราจะโตเป็นผู้ใหญ่ สักวันหนึ่ง เราจะโตพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตนเอง วันนี้เรายังไม่โต แต่วันหนึ่ง เราจะโต และ เราจะปลอดภัย

ไทยทำ...ทำทำไม : ตุ๊กตาเสีย กบาล

ตุ๊กตาเสีย กบาล

คนโบราณใช้ ตุ๊กตาเสีย กบาล เป็นตัวแทนของบาปเคราะห์ที่ถูกถ่ายทอดไปไว้ที่ตุ๊กตาเสีย กบาล นั้น รับเคราะห์แทนผู้นั้น ๆ โดยปั้นตุ๊กตาดินให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายแล้วจึงทำพิธีเสีย กบาล โดยหักคอตุ๊กตาตัวนั้น ไปวางไว้ตรงทางสามแพร่งหรือลอยน้ำไป

ทำไม ไออินสไปร์

โอนถ่ายความโชคร้ายไปไว้ที่ตุ๊กตา นำความเศร้า ความกลัว ความกังวล ออกไปจากใจ ฝังมันไว้กับตุ๊กตา

ไทยทำ...ทำทำไม : กระเบื้องเกาะยอ

กระเบื้องเกาะยอ

แหล่งผลิตกระเบื้องเมืองสงขลา อยู่บริเวณท่าอิฐ ท่าสะอ้าน ขึ้นไปจนถึงบ้านท่านางหอม พบว่าเตาเผาทั่วบริเวณดังกล่าวมีไม่น้อยกว่า 200 เตา

ปัจจุบันกลับซบเซาลงอย่างหน้าใจหายเหลือเพียง 1 เตา เพราะความนิยมน้อยลง และกระเบื้องสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ขาดผู้สืบทอด เพราะเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้แรงงานคน ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สนใจยึดเป็นอาชีพ

ทำไม ไออินสไปร์

จากความเรียบง่าย ที่กลายเป็นความซับซ้อน จากความอบอ่อนนุ่ม ที่เปลี่ยนเป็นความแข็งแกร่ง แม้ถือกำเนิดมาจากดิน แต่กลับโบยบินไปเป็นหลังคา ให้กำเนิดสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และ มีค่าประหนึ่งความสำเร็จนั้น มิได้ถูกจำกัดไว้อยู่เพียงที่มา

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สูจิบัตรนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว

สูจิบัตร นิทรรศการเบาเบากับนานาประดิษฐกรรมสวมกบาล

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ไฉไลไปไหน

สูจิบัตรไฉไลไปไหน? ทุกความสวยมีที่มา ทุกความงามมีที่ไป

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ท่าเตียน กรุงเทพฯ บทที่ 1

สูจิบัตรเกี่ยวกับนิทรรศการท่าเตียน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ

สูจิบัตรนิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สูจิบัตรนิทรรศการปรากฏการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย

สูจิบัตร นิทรรศการผู้แทนเมืองไทย

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกกิจกรรมการเรียนรู้

Results 281 to 300 of 1195