Showing 2766 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
Print preview View:

2211 results with digital objects Show results with digital objects

ไทยทำ...ทำทำไม : เปลญวนไม้ไผ่

เปลญวนไม้ไผ่

เปลสำหรับแขวนตามร่มไม้หรือใต้ถุนบ้าน พิเศษตรงที่ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่เพียงลำเดียวเท่านั้น คิดค้นขึ้นโดยชาวบ้านที่เห็นไผ่ขึ้นเองในท้องถิ่นและมักปลูกไผ่ไว้ใช้ประโยชน์ด้วยความผูกพันและเข้าใจศักยภาพของไม่ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงนำเอาไม้ไผ่มาผ่ากลาง ผ่าครึ่งหนึ่ง ให้เป็นซี่ยาวแล้วจักไม้ไผ่เป็นตอก สานขัดไปมาตามขวางของลำไม้ให้กลายเป็นเปลนอนได้อย่างฉลาดเหลือเชื่อ

ไทยทำ...ทำทำไม : ขันโตก

ขันโตก

สมัยก่อนคนไทยชอบนั่งกินข้าวบนพื้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ชาวล้านนาหรือคนไทยทางภาคเหนือเห็นว่าการนั่งพื้นอาจไม่เหมาะหรือสะดวกนักจึงคิดค้นโตกขึ้น

ในภาษาล้านนา แปลว่า ภาชนะใส่อาหารทำด้วยไม้มามัดและสานต่อกันให้มีลักษณะกลมเหมือนถาด มีขาสูงขึ้นมาจากพื้นเล็กน้อยใช้จัดวางอาหารลงไปเป็นสำรับให้ดูน่ากิน

นอกจากโตกจะมีความหมายเชิงวัฒนธรรมเพราะใช้บ่งบอกฐานะของชาวล้านนาได้ วิธีใช้โตกต้องยกออกมาเสิร์ฟทีเดียวทั้งโตกและเมื่อทานเสร็จก็ยกไปเก็บล้างได้ทั้งโตก ถือเป็นนวัตกรรมที่ทั้งสะดวกและประหยัดเวลาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : มหัศจรรย์พันลึก

มหัศจรรย์พันลึก

มุมมองที่อัศจรรย์ และน่าสนใจของความคิดแบบไทยๆก่อเกิดสิ่งประดิษฐ์เรียบง่าย เพื่อแก้ปัญหาและแบ่งเบาความทุกข์ในชีวิตประจำวัน ผสานไว้ด้วย ศิลปะ คติ ศรัทธา และความเชื่อ ได้อย่าง “มหัศจรรย์ พันลึก” ทำให้ความง่าย อย่างไทยๆ กลายเป็นของพิเศษที่ ไม่ธรรมดา

ไทยทำ...ทำทำไม : กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระคืออุปกรณ์สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำจากกระบอกไม้ไผ่ เจาะช่องรอบปล้องไม้ไผ่ให้ได้ 6 ช่อง แล้วเอาไม้ไผ่ปล้องเล็กทำธารน้ำ แต่ละปล้องนั้นเจาะรูเล็ก ๆ ให้น้ำไหลออกมาได้ด้วย

เมื่อเวลาสรงน้ำ จะเทน้ำอบรวมกันลงในกงพัด พอน้ำตกถึงกงพัดและไหลออกตามท่อ กงพัดจะหมุน น้ำจะกระจายเป็นฝอย สาดไปทั่วพระพุทธรูป ถ้าดูให้ดีแล้วก็เหมือนกับรูปภูมิจักรวาลอันประกอบด้วยมหาสมุทรหกชั้นรอบภูเขาทวีป

ทำไม ไออินสไปร์

“น้ำ” สัญลักษณ์ของความสะอาด และ ความบริสุทธิ์ สื่อถึงความเคารพนบนอบเมื่อเราสรงน้ำที่บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน พ่นเป็นสายกงพัด ชำระฝุ่นผงบนเนื้อพระพุทธรูปแล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งเตือนใจเรา ให้หมั่นชำระผงฝุ่นในใจให้เบาบางลง

ไทยทำ...ทำทำไม : ตำราพรหมชาติ

ตำราพรหมชาติ

“การดูพรหมชาติ” เป็นวิธีการทำนายดวงชะตาราศีของบุคคลบนพื้นฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นการพยากรณ์แบบหนึ่งในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งมาจากความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ที่ได้รับจากอินเดียและจีน

ตำราพรหมชาติ ของภาคกลางและภาคใต้ เป็นตำราที่สืบทอดกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยดำเขียนด้วยตัวอักษรไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วยลายเส้นสีขาว เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆเข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วใช่ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”

ฉบับพิมพ์เก่าสุดเป็นฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์พานิชศุภผล พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2455 ไม่ปรากฏชื่อผู้รวบรวม ต่อมาได้มีการพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้งจากหลายโรงพิมพ์ และแพร่หลายไปทุกภูมิภาค มีทั้งตำราหมอดูชาวบ้านและตำราโหราศาสตร์ราชสำนักรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน สังเกตได้ว่าฉบับพิมพ์แต่ละครั้งจะเพิ่มเติมเนื้อหาอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราหมอดูไทยแทนที่จะเป็นการทำนายวิธีการหนึ่งตามชื่อของตน

ทำไม ไออินสไปร์

ปัญญาโบราณ นำพาเส้นทางชีวิต ผ่านหลักสถิติเปรียบเทียบดวงดาว เป็นเข็มทิศในวันที่สับสน และเป็นที่พักความคิดในยามที่ชีวิตต้องมรสุม

ไทยทำ...ทำทำไม : ตุ๊กตาเสีย กบาล

ตุ๊กตาเสีย กบาล

คนโบราณใช้ ตุ๊กตาเสีย กบาล เป็นตัวแทนของบาปเคราะห์ที่ถูกถ่ายทอดไปไว้ที่ตุ๊กตาเสีย กบาล นั้น รับเคราะห์แทนผู้นั้น ๆ โดยปั้นตุ๊กตาดินให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายแล้วจึงทำพิธีเสีย กบาล โดยหักคอตุ๊กตาตัวนั้น ไปวางไว้ตรงทางสามแพร่งหรือลอยน้ำไป

ทำไม ไออินสไปร์

โอนถ่ายความโชคร้ายไปไว้ที่ตุ๊กตา นำความเศร้า ความกลัว ความกังวล ออกไปจากใจ ฝังมันไว้กับตุ๊กตา

ไทยทำ...ทำทำไม : ระหัดวิดน้ำ

ระหัดวิดน้ำ

การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา

ไทยทำ...ทำทำไม : กระแตเวียน

กระแตเวียน

ใช้หลักการของ “หลักเวียน” ให้เด็กเล็กเดินเข็นปลายไม้ที่ยื่นออกกมาจากแกนหมุนแล้วเดินวนไปเรื่อยๆ เพื่อฝึกการเดินและการทรงตัว ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเก้าอี้หัดเดินในปัจจุบัน จะดีกว่าตรงที่ราคาน่าจะถูกกว่ามาก และเด็กไม่ไปไหนเลยเดินวนไปเรื่อย ๆ จนเหนื่อยก็พาไปอาบน้ำนอน

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการเครื่องดื่มไทยไทย

รายการเครื่องดื่มไทยไทย

  1. กาแฟดำ อาข่า อ่ามา
    กาแฟอาราบิก้าสัญชาติไทยปลูกแบบไทยๆ บนยอดดอนสูงในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ริเริ่มจากความตั้งใจของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี-อายุ จือปา ที่ยื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านชาวอาข่าที่ปลูกกาแฟดีแต่ถูกกดราคาอย่างไม่เป็นธรรม จึงเกิดแบรนด์กาแฟอาข่า อ่ามา ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูก คั่ว บด โด่งดังไปทั่วประเทศและในระดับโลก

กาแฟดำในขวดแก้วนี้ผ่านกรรมวิธีการบดจนได้ที่แล้วนำมาหมักที่อุณหภูมิห้อง 9 ชั่วโมง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวดแช่เย็นให้ดื่มรสชาติเข้มแบไทยแท้แต่สดชื่น

  1. กาแฟถุงกระดาษ
    กาแฟเย็นใส่นมแบบไทยในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ บรรจุถุงกาแฟพลาสติกซ้อนลงในถุงกระดาษสีน้ำตาลขนาดประมาณ 5 x 7 x 3 นิ้ว อีกชั้นหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการละลายเร็วของกาแฟเย็นฉ่ำ โดยกระดาษที่มีความหน้า 125 และ 150 แกรม เก็บความเย็นได้ยาวนานถึง 5 และ 9 ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ภายนอกยังคงภาพลักษณ์ความโบราณอันเป็นจุดขายที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

  2. โคโค่-อีซี่
    มะพร้าวน้ำหอมเผาพร้อมฝาเปิดในตัว นวัตกรรมที่บรรพต เคลียพวงทิพย์ ใช้เวลานาน 5 ปีในการคิดค้นและทดลองเจาะฝาลูกมะพร้าวด้วยเครื่องเลเซอร์ให้ไม่ส่งผลต่อน้ำและเนื้อมะพร้าวที่อยู่ข้างใน ถือเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ความสวยงาม สะดวกสบาย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์อะไรเลย ดื่มน้ำมะพร้าวเผาเย็นสดชื่นได้เลยทันทีโดยไม่ต้องง้อใครมาช่วยเฉาะ

  3. น้ำวุ้น
    ยืนยันอีกครั้งว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนแม้กระทั้งน้ำเปล่าในขวดธรรมดาเรายังหาวิธีการแช่และทำให้น้ำกลายเป็นวุ้นเย็นชื่นใจ

  4. ชาร้อนในถังน้ำชา
    เมืองไทยเป็นเมืองร้อน คนไทยจึงนิยมชงชาร้อนทิ้งไว้ในกาและวางไว้ให้รินดื่มได้ทั้งวัน แตกต่างจากชาวจีนและญี่ปุ่นที่มีพิธีการชงและใช้ความร้อนที่เหมาะสมคนไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการประดิษฐ์ถังใส่กาน้ำชาที่บุด้วยผ้าและทำฝาปิดไว้เพื่อรักษาความร้อนให้คงอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : โปงลาง

โปงลาง

ดนตรีพื้นบ้านอิสานที่มีวิวัฒนาการมาจาก ระฆังแขวนคอสัตว์ เพื่อให้เกิดเสียงโปงลางที่ใช้บรรเลงกันอยู่
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียงที่ต้องการในระบบ 5 เสียง ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง

โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี
วิธีการเทียบเสียงโปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาดและเสียงตามที่ต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใด เสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น

ทำไม ไออินสไปร์
เสียงของธรรมชาติ คือ เสียงแห่งชีวิต เป็นเสียงที่ให้ทั้งความสงบ ความสนุก ความรื่นเริง เป็นเสียงที่สื่อความเรียบง่าย สดใส ตรงไปตรงมาพาใจให้เป็นสุขทุกครั้งที่ได้ยลยิน

ไทยทำ...ทำทำไม : ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่นิยมและเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นการเขียนลวดลายตกแต่งผิวไม้ที่ช่างหลวงนำไปใช้ในงานของราชสำนักและงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น ลวดลายประดับผนัง เสา บานประตู หน้าต่าง ของตำหนัก และอุโบสถ ตลอดไป จนถึงเครื่องเรือนอย่าง ตู้พระธรรม

การทำ ลายรดน้ำ ของช่างไทยมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะลายรดน้ำบนตู้พระธรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นของสำคัญที่ใช้เก็บสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างพระไตรปิฎก กรรมวิธีการทำเริ่มจากการลงรักหลายชั้น แล้วจึงเขียนลาย ปิดทอง และรดน้ำ ถือเป็นเทคนิคขั้นสูง และใช้เวลายาวนานในการทำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาตามแบบฉบับช่างไทยในราชสำนัก

ทำไม ไออินสไปร์

ความงดงามของลวดลายตามแบบไทย รังสรรค์ สร้างมิติ เพื่อบ่งบอกถึงความมีฝีมือทางศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ไทยทำ...ทำทำไม : กระเบื้องเกาะยอ

กระเบื้องเกาะยอ

แหล่งผลิตกระเบื้องเมืองสงขลา อยู่บริเวณท่าอิฐ ท่าสะอ้าน ขึ้นไปจนถึงบ้านท่านางหอม พบว่าเตาเผาทั่วบริเวณดังกล่าวมีไม่น้อยกว่า 200 เตา

ปัจจุบันกลับซบเซาลงอย่างหน้าใจหายเหลือเพียง 1 เตา เพราะความนิยมน้อยลง และกระเบื้องสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ขาดผู้สืบทอด เพราะเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้แรงงานคน ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สนใจยึดเป็นอาชีพ

ทำไม ไออินสไปร์

จากความเรียบง่าย ที่กลายเป็นความซับซ้อน จากความอบอ่อนนุ่ม ที่เปลี่ยนเป็นความแข็งแกร่ง แม้ถือกำเนิดมาจากดิน แต่กลับโบยบินไปเป็นหลังคา ให้กำเนิดสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และ มีค่าประหนึ่งความสำเร็จนั้น มิได้ถูกจำกัดไว้อยู่เพียงที่มา

ภาพถ่ายการเข้าเยี่ยมชมของ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรส ผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (16 มิถุนายน 2561)

เช้าวันที่ 16 มิถุนายน 2561 รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรสผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) จาก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติเยี่ยมชม มิวเซียมสยาม โดยมีคณะผู้บริหารของมิวเซียมสยามร่วมให้การต้อนรับ

นิทรรศการ ชุด ชาย หญิง สิ่งสมมุติ (พ.ศ. 2561)

นิทรรศการ ชายหญิงสิ่งสมมุติ ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ (Gender Illumination)
วันที่ 2 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2561 เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีการจัดแสดงเรื่องราวและข้าวของจากปัจเจกชน สร้างการรับรู้ สร้างความเท่าทันต่อความเป็นไปร่วมสมัย

นิทรรศการ ชุด ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย

ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดในการเสนอประเด็นประวัติศาสตร์ผ่านการมีส่วนร่วมของสังคมด้วยกระบวนการพิพิธภัณฑ์

แนวคิดสำคัญ ประการแรก คือ การระลึกถึงถนนสายที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทย ๑๒๑ ปีของถนนสายนี้เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมอันพึงจารึกจดจำ และแนวคิดที่สอง คือ ปรากฏการณ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรไทย

มิวเซียมสยามได้ตอบสนองปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยการจัดอบรมปฏิบัติการให้กลุ่มผู้สูงวัย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ภัณฑารักษ์วัยเก๋า” ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และได้ทำงานร่วมกับคนวัยเก๋าทั้ง ๑๖ ท่านในงานนิทรรศการนี้ ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย จึงเป็นการปะทะประสานมุมมองของคนต่างวัย ต่างประสบการณ์ที่ล้วนล่องอยู่ในรอยแห่งราชดำเนิน

นิทรรศการจัดแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 : การแนะนำนิทรรศการและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของถนนราชดำเนินผ่านการเล่าเรื่องแบบเส้นเวเลา (Timeline) และใช้สื่อวิดิทัศน์ในการนำเสนอ

ส่วนที่ 2 : “ล่อง รอย” ที่นำเสนอประวัติศาสตร์การประชันทางความคิดของคนหลายยุคหลายสมัยบนถนนราชดำเนินที่สามารถเดินชมไปพร้อมกับการใช้สื่อดิจิตัล ได้แก่ สมาร์ทโฟน และหูฟังเป็นเครื่องมือในการชมเส้นสายแห่งประสบการณ์เรื่องเล่าใน 8 เส้นทาง โดยผู้เข้าชมจะรู้สึกสนุกไปกับเสียงบรรยายประกอบจากคณะเกศทิพย์ นักพากย์นิยายวิทยุที่โด่งดังอยู่ช่วงหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าถึงเหตุการณ์ในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ 3 : แสดงถึงสถานที่สำคัญบนถนนราชดำเนิน โดยจำลองแลนด์มาร์คสำคัญบนถนนราชดำเนินพร้อมเล่าเรื่องราวไปกับวัตถุจัดแสดงที่ได้รับมาจากผู้ที่สนใจร่วมแบ่งปันประสบการณ์ก่อนหน้านี้

ส่วนที่ 4 : นิทรรศการของภัณฑารักษ์วัยเก๋า เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของนิทรรศการที่ได้คัดคนหนุ่มสาวยุคเบบี้บูมเมอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ โดยได้รับการฝึกอบรม ปฏิบัติการเรียนรู้จากมิวเซียมสยาม เรื่องเทคนิคการเล่าเรื่อง การถ่ายภาพ และตัดต่อวิดีทัศน์ด้วยมือถือ และนำผลงานเหล่านี้มาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกัน

ระยะเวลาจัดแสดง

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์) ณ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1 ไม่เสียค่าเข้าชม
  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณสี่แยกคอกวัว
ผลลัพธ์ 261 to 280 of 2766