Showing 2211 results

Archival description
With digital objects
Print preview View:

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม

ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย

ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด

ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว

บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้

ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน ได้แก่ เมืองออกแก้ว อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เมืองนครบุรี อยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา เมืองท่าทั้งสองแห่งนี้เป็นประตูการค้าสำคัญระหว่างจีนและสุวรรณภูมิ ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกระทั่งกลองมโหระทีกเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะผู้บริหารสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เกี่ยวกับเพลงและสื่อประกอบการเรียนรู้ภายในห้องนิทรรศการสีสันตะวันตก

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินลงลานเอนกประสงค์ โดยมีนางอลิสา ภู่ชอุ่ม หัวหน้ากลุ่มงานกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ ทูลเกล้าถวายหนังสือ มิวเซียมสยาม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 มิวเซียมสยาม ภายในอาคารมีการจัดพื้นที่ภายในจัดแสดง 17 ห้อง นิทรรศการ เรียนรู้ร้อยเรียงในชื่อ นิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่

  1. เบิกโรง (Immersive Theater)
  2. ไทยแท้ (Typically Thai)
  3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi)
  4. สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi)
  5. พุทธิปัญญา (Buddhism)
  6. กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya)
  7. สยามประเทศ (Siam)
  8. สยามยุทธ์ (War Room)
  9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room)
  10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya)
  11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life)
  12. แปลงโฉมสยามประเทศ (Change)
  13. กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications)
  14. สีสันตะวันตก (Thailand and the World)
  15. เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today)
  16. มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow)
  17. ตึกเก่าเล่าเรื่อง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินชมนิทรรศการ ห้องสีสันตะวันตก โดยมีนางสาวพธู คูศรีพิทักษ์ เป็นผู้ถวายรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อนิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการ ห้องสยามประเทศ โดยมีนายสุทธิรัตน์ แก้วอาภรณ์ เป็นผู้ถวายรายละเอียดเนื้อหานิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

การแสดง ชุด นาคดึกดำบรรพ์ การกวนเกษียรสมุทรตำนานสุวรรณภูมิ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

นักเรียนโรงเรียนราชินีรอรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณทางเข้าอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการถาวร เรียงความประเทศไทย ห้องกำเนิดสยามประเทศ โดยมีนางสาวจุลดา มีจุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และนายวรกานต์ วงษ์สุวรรณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ถวายรายละเอียดของเนื้อหาการจัดแสดง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กราบทูลถวายรายงาน ความเป็นมาการจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

การแสดงโขน ชุด นาคดึกดำบรรพ์ การกวนเกษียรสมุทรตำนานสุวรรณภูมิ โดยนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินชมนิทรรศการห้อง กรุงเทพฯใต้ฉากกรุงศรี นายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร เจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดตั้งพิพิธภณฑ์ เป็นผู้ถวายรายละเอียดเนื้อหานิทรรศการ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

นางจินตนา ธีรวารกูล ทูลเกล้าถวาย มาลัยข้อพระกร สมเด็จพระเทพฯ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

Results 241 to 260 of 2211