Showing 2766 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
Print preview View:

2211 results with digital objects Show results with digital objects

นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว (พ.ศ. 2555)

เรื่องหนักหัว
มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จัดนิทรรศการชั่วคราว "เรื่องหนักหัว" เพื่อเปิดมุมมองใหม่และค้นหาตัวตนของคนไทย นำเสนอเรื่องราวของ "หมวก" เครื่องศิราภรณ์" และ "เครื่องประกอบศีรษะ" เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความเป็นมาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่านหมวกมากมายหลากหลายชนิดที่ถูกนำไปสวมใส่อยู่บนหัว ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและความสำคัญในแง่มุมต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยนิทรรศการ "เรื่องหนักหัว" เป็นนิทรรศการรูปแบบใหม่ ที่จะแทรกเข้าไปอยู่ในนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ตามห้องต่างๆ ภายในมิวเซียมสยามอย่างกลมกลืน และสอดคล้องกับช่วงยุคสมัยนั้น
ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ
นำเสนอเรื่องของ “หน้ากาก ตัวแทนแห่งผีและพิธีศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝนของคนยุคก่อน เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้อ้อนวอนธรรมชาติ ให้ช่วยดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ เพราะพวกเขารู้จักการทำนาปลูกข้าวและเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่พบได้ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย และพิธีกรรมเต้นรำใส่หน้ากากของชนเผ่าในเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
หมวกทวาฯ นานาชาติ
สมัยทวารวดี นิทรรศการได้นำเสนอ “หัวปูนปั้นประดับฐานสถูป” โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “หมวกทวาฯ นานาชาติ” ที่พบในเมืองโบราณแห่งต่างๆ ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอินเดียมีอิทธิพลอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การค้าขาย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชสำนักไทยสยามก็มี “ขันที” ขุนนางในสมัยอยุธยาสวม “หมวกเครื่องแบบ” ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ลอมพอก” คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากขันทีชาวเปอร์เซียที่เคยเข้ามาปฏิบัติงานในราชสำนักฝ่ายใน ด้วยรูปทรงที่แปลกตาจึงเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ปัจจุบันเรายังคงได้เห็น “พระยาแรกนา” ใส่ลอมพอกในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือแม้แต่นาคก็ใส่เข้าพิธีบรรพชา

ชฎากับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ค้นหาคำตอบว่าชฎาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยจริงหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องราวของ “เลดี้กาก้า” กับชฎาที่ตกเป็นข่าว ที่ใส่โชว์บนคอนเสิร์ตในประเทศไทย ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ถึงความเหมาะสมถูก-ผิดกันต่อไป
ในตอนนี้จะมีสักกี่คนสำนึกรู้ว่า“ชฎา”คือสิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ และใช้ในการแสดงมหรสพทางประเพณีไทยมาช้านาน นั่นเท่ากับว่ามูลค่าแห่งความสำคัญของชฎา มิใช่เพียงเครื่องแสดงอัตลักษณ์ แต่มันคือวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย

สุภาพบุรุษชาวสยามกับความศิวิไลซ์
การเข้ามาของ “ฝรั่ง” นักล่าอาณานิคมจากประเทศยุโรป ทำให้สยามต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ต่างทรงปรับตัวให้ทันกระแสของโลก แฟชั่นสวมหมวกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของชาวตะวันตกในยุคนั้น จึงถูกราชสำนักสยามนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการแสดงความ “ศิวิไลซ์”
และเป็นที่รู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด “โบวเลอร์แฮ็ต” มาก ถึงแม้ว่าหมวกดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพชาวเมืองผู้ดีก็ตาม

เกี่ยวข้าวก็เย็นได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติ
“งอบ” ภูมิปัญญาเกษตรกรไทยไม่ว่าจะเกี่ยวข้าว พายเรือ หรือเมื่อต้องออกแดดทุกครั้งชาวนา แม่ค้า หรือคนไทยอย่างเราๆ ต่างก็ต้องพึ่งพาหมวกครอบจักรวาลใบนี้ ประดิษฐกรรมสวมหัวที่ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเราก็เป็นเลิศด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการสานงอบ ที่แสดงถึงความเข้าใจในหลักการระบายอากาศเป็นอย่างดี เป็นเทคนิคเดียวกับการปลูกเรือนให้อยู่สบายในสภาพอากาศร้อนและชื้น

ราวกับว่า “มาลา” จะ “นำไทย” สู่ความเป็นอารยะได้เช่นนั้นหรือ
การปฏิวัติขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านผู้นำเชื่อว่า การแต่งกายเยี่ยงตะวันตกนั้น จะเป็นหนทางหนึ่งในการนำชาติไทย รุดหน้าเช่นอารยธรรมประเทศ มีการออกกฎบังคับให้ประชาชนชาวไทย สวมหมวก ทุกคราวที่ออกจากบ้าน โดยมีการแต่งบทเพลงชักชวนให้คนไทยสวมหมวกอย่างเพลง ‘สวมหมวกไทย’ ขับร้องโดย 'มัณฑนา โมรากุล'

มงกุฎนางงาม สาวไทยในยุคสงครามเย็น
สถานะและบทบาทระหว่างสตรีกับการเมืองในสมัยทุนนิยมยุคสงครามเย็น ผ่านมงกุฎนางงามจักรวาลคนแรกของประเทศไทย อาภัสรา หงสกุล จนกลายเป็นกระแส “อาภัสราฟีเวอร์” ที่สาวไทยทั้งหลายอยากจะสวมมงกุฎเพื่อให้สวยอย่างอภัสรา ซึ่งเธอนั้นได้รับตำแหน่งมาพร้อมกับการยกพลขึ้นบกของกองทัพอเมริกาที่อู่ตะเภา ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้วการเมืองทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนาม ในปีค.ศ.1965

image 01

นิทรรศการเรื่องหนักหัว นิทรรศการเบาๆ กับนานาประดิษฐ์กรรมสวมกบาล” เป็นนิทรรศการที่จะเชิญชวนทุกท่านเข้ามาค้นหาความเป็นไทย เปิดมุมมอง เรื่องราว และความเป็นมาเป็นไปของผู้คนที่อาศัยอยู่กันบนดินแดนสุวรรณภูมิในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่องด้วย หมวก และเครื่องประกอบศีรษะต่างๆ ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่หลายๆ อย่างได้กลายมาเป็นธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการรับเอาวัฒนธรรมและอิทธิพลในเรื่องของหมวกจากต่างประเทศตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เรื่องของหมวกจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนคนไทยในห้วงเวลาและแง่มุมต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว

บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้

ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร

นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

นิทรรศการจะบอกเล่ากำเนิดความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง บอกเล่ากลไกขององค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบ ตั้งแต่ ด้านพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีต ที่เป็นผู้กำหนดตลาดของสลากกินแบ่ง รวมไปถึงมีส่วนสำคัญมากในการจำหน่ายสลากด้านกลุ่มผู้ค้าเร่

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

สืบจากส้วม : โลกของส้วม

ส้วมไม่ใช่เรื่อง “ขี้ ๆ” มาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาเมื่อล้านปีที่แล้ว เพราะมนุษย์ทั้งโลกต่างคิดใคร่ครวญหาส้วมที่ “ดีที่สุด” มากำจัดอึ ก่อนที่อึจะย้อนมากำจัดเรา

คนไทยก็เหมือนกัน เรามีส้วมหลายแบบ ตั้งแต่การอึในทุ่งนาแบบใกล้ชิดธรรมชาติ การอึแบบลดกลิ่นโดยส้วมไฮเทคจากเมืองแขก หรือการอึแบบ “เทพ” ของชนชั้นปกครอง รวมไปถึงการอึใส่ถังสำหรับคนเมืองรุ่นแรกที่ยืมความคิดมาจากคนจีน ฯลฯ

ส้วมมากมายขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความหลากหลายของกลุ่มคนให้เราหยิบยืมความคิดมาปรับใช้และสูดดม

สืบจากส้วม : เปิดตัวเทศบาลเพื่อนยาก

เทศบาลเอ๋งกับเทศบาลอู๊ด
สำหรับคน “ไปทุ่ง” หรือคนที่คิดจะอึในบางมุมของเมือง ก่อนจะนั่งลงหย่อนต้องกวาดตาให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีเจ้าเพื่อนยากสี่ขาสองชนิด คือ น้องหมูและน้องหมา ที่อาจเข้ามารบกวนความสงบ เพราะ อึ คือ อาหารโปรดของมัน

เทศบาลใต้บาดาล
สำหรับคน “ไปท่า” และคนที่อยู่ในเรือนแพ น่าจะหาความสงบได้ง่ายหน่อยตรงที่เทศบาลอย่างปลาแขยงจะซุ่มคอย “เหยื่อ” อยู่ที่ผิวน้ำจนเมื่อ “อาหาร” ตกลงมานั่นแหละ มันจึงเริ่มปฏิบัติ “ตอด” แบบไม่ให้เหลือซากเหลือกลิ่นเลยทีเดียว

สืบจากส้วม : ส้วมเจ้ามาจากไหน

ส้วมเจ้ามาจากไหน

เมื่อเรารับแนวคิด “เทวราชา” จากความเชื่อฮินดูที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ มาใช้กับการปกครองบ้านเมืองของสยาม การปฏิบัติกับพระราชาจึงต้องกระทำด้วยความพิเศษ มีพิธีกรรมและพิธีรีตองมากมายเพื่อให้สมสถานะและพระเกียรติยศ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูล เพราะถึงแม้จะเป็น อึ ก็เป็น “อึ” ของพระนารายณ์

อึ กับ พระราชา
อึ ในการรับรู้ของคนละกลุ่มย่อมแตกต่างกันไป สำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระมหากษัตริย์แล้ว อึ ถือเป็นเรื่องอัปมงคล คติความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นในธรรมเนียมการปฏิบัติประการหนึ่ง คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องผลัดผ้านุ่งลายสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นผ้าชนิดอื่นก่อนเข้าห้องพระบังคน (ห้องน้ำ) เพราะถือกันว่าสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามคติเทวราชา หากต้องเข้าใกล้อึ ก็อาจทำให้เกิดความมัวหมอง

สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

”นางใน” กับ “อุโมงค์”

ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง มีข้าราชบริภารที่เป็นหญิง ซึ่งเรียกว่า “นางใน” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องสร้างสถานที่ขับถ่ายไว้โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า “อุโมงค์” จากคำบอกเล่า มี 4 สมมุติฐาน เกี่ยวกับอุโมงค์ดังนี้

สมมติฐานที่ 1
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์
ที่ตั้ง ริมแม่น้ำ นอกกำแพงวัง
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนน้ำ

“อุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่าง พุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน เพราะถ่ายลงในแม่น้ำ”

สมมติฐานที่ 2
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ระหว่างกำแพงวังชั้นในและชั้นนอก
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนดิน

อุโมงค์สมัยต้นรัชกาลที่ 5 น่าจะตั้งอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในของพระบรมมหาราชวัง การไปอุโมงค์นั้น สาวชาววังจะใช้ประตูกำแพงชั้นในที่เจาะเฉพาะ มีโขลนหรือทหารหญิงเฝ้าทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นทางฉนวน คือเป็นกำแพงสูงตลอดทั้งสองข้างป้องกันการหลบหนี ส่วนการขับถ่ายในอุโมงค์สมัยนี้ ควดว่าจะเป็นการนั่งถ่ายบนดิน

สมมติฐานที่ 3
สมัย รัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงร่อง ด้านล่างเป็นท่อระบายออกแม่น้ำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 “ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณหนาทึบ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งขึ้นไปรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชบานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆกับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานที่เปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆกัน คราวละหลายๆคน มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออก ให่ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

สมมติฐานที่ 4
สมัย ปลายรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงถังเท

ต่อมาเพื่อความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ คืออุโมงค์ที่บรรยายไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นอุโมงค์ทึบพุ่งยาวออกจากกำแพงวังมีปากทางเข้า อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ ใกล้ประตุศรีสุดาวงศ์ อุโมงค์ที่สร้างในสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถว สำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง

ผลลัพธ์ 2001 to 2020 of 2766