Showing 1869 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
เรื่อง With digital objects
Print preview View:

เครื่องรางของขลัง : เขี้ยวเสือ

เขี้ยวเสือ

ตำราแกะเขี้ยวเสือนั้น มี 2 แบบ คือ แกะเป็นรูปเสือ และแกะเป็นรูปภควัมบดี โดยใช้เขี้ยวของเสือ ที่เคยกินคนแล้วหรือเขี้ยวเสือโปร่งฟ้า คือเขี้ยวเสือกลวง เป็นโพลงตั้งแต่โคนเขี้ยว เนื้อเขี้ยวมีความบางกว่าเขี้ยวเสือทั่วไป คนโบราณคือว่า เขี้ยวเสือสามารถฝนเป็นยาได้ และพกติดตัวเป็นมหาอำนาจ กันคุณไสย ผีโป่งผีป่า

อันว่าเขี้ยวเสือที่ดีต้องกลวงดังคำพังเพยว่า กะลาตาเดียว งาช้างหัก เขี้ยวหมูตัน ฟันเสือกลวง ถือเป็นของทนสิทธิ์มีฤทธิ์ในตัว ถึงแม้ไม่ต้องปลุกเสกก็มีคุณวิเศษในตัวเอง เมื่อนำมาแกะเป็นรูปเสือ จะลงด้วยหัวใจพระไตรสรณาคมน์ตามจุดต่างๆ ตัว พุ ลงตาซ้าย ตัว ธะ ลงตาขวา ตัว สัง ลงหน้า ตัว มิ ลงหลัง เขี้ยวเสือแกะนี้มีการสร้างกันมาช้านานหลากหลายอาจารย์ แต่เสือที่โด่งดังที่สุดก็ต้องเสือของ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” หรือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน

เครื่องรางของขลัง : พระเกจิ

พระเกจิ

เกจิอาจารย์ ตามศัพท์แล้วแปลว่า อาจารย์บางท่าน อาจารย์บางพวก ที่มาของเกจิแรกเริ่มเดิมที หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ต่อมา มีภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ได้แต่งหนังสืออธิบายเพิ่มเติมข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือนั้นว่า พระอรรถกถาจารย์ หรือพระฎีกาจารย์ และในหนังสือที่แต่งมักอ้างถึงความคิดเห็นของอาจารย์อื่นๆที่เห็นด้วย หรือเห็นแย้งกับผู้แต่ง เรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงนั้นว่า “เกจิจารย์”

เครื่องรางของขลัง : เบี้ยแก้

เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ มีคุณในด้านการป้องกันการกระทำคุณไสยได้ทุกชนิด รวมถึงจาก วิญญาณร้ายภูตผีปีศาจ ดังนั้น คนโบราณเวลาเดินทางไปไหนมาไหน มักจะพกเบี้ยแก้โดยการแขวนร้อยเข้ากับเชือกขาดเอวเหมือนตะกรุด ติดตัวไว้เสมอ

เบี้ยแก้ทำจากเบี้ยจั่น (หอยทะเลชนิดหนึ่ง) ที่มีซี่ฟันครบ 32 ซี่ และมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพื่อบรรจุปรอทได้น้ำหนักที่ 1 บาท อุดด้วยชันโรงใต้ดิน

เครื่องรางของขลัง : เสื้อ/ผ้ายันต์

เสื้อ/ผ้ายันต์

ผ้ายันต์หรือประเจียด คือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้า ใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขนหากลงที่เสื้อจะเรียกว่า เสื้อยันต์ การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพัน ต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตา ต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ 5 ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ

อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจ กันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

เครื่องรางของขลัง : นางกวัก

นางกวัก

อิทธิคุณของนางกวัก ถ้าจะให้ขายของได้ดีให้ละลายแป้งหอมลงในน้ำมันหอม แล้วเอานางกวักแช่ลงไปเสกด้วยมนต์นี้ "โอมเทิบ เทิบ มหาเทิบ เทิบ สัพพะเทิบ เทิบ สวาหะ" ตามกำลังวัน แล้วนำแป้งและน้ำมันหอมประพรมสิ่งของที่จะนำไปขาย และจุณเจิมที่หน้าร้านค้าจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

เคล็ดในการบูชานางกวักและกุมารทอง ให้อาราธนา หรืออธิษฐานทุกครั้ง ก่อนทำการค้าขาย และตั้งบูชาในที่อันควร โดยจุดธูปบูชา 5 ดอก พร้อมถวายน้ำเปล่า นอกจากนี้ ยังนิยมถวายน้ำแดง น้ำเขียว ไปจนถึงยาคูลท์ ส่วนพวงมาลัยสดนั้น ให้ขึ้นหิ้งทุกวันพระ แต่ห้ามถวายเหล้า หรือสิ่งเสพย์ติดเป็นอันขาด

คติการถวายของเล่นและน้ำหวานแก่กุมารทองนั้น คงมาจากความเชื่อที่ว่า กุมารทองยังเป็นเด็ก ชอบเล่นของเล่นและชอบดื่มน้ำหวานนั่นเอง

เครื่องรางของขลัง : ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ในสมัยหนึ่งผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ พระนามว่า “ท้าวทศราช” ปกครองนคร “กรุงพาลี” ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม พระนารายณ์จึงอวตารลงมาปราบและขับไล่พระเจ้ากรุงพาลีพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ ราษฎรจึงอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายท้าวทศราชต้องพบกับความยากลำบากจึงสำนึกผิด และเข้าเฝ้าพระนารายณ์ เพื่อขออภัยโทษ และปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษและอนุญาตให้ท้าวทศราชและครอบครัวกลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด

เครื่องรางของขลัง : ควายธนู

ควายธนู

วัวธนูหรือควายธนูนั้นเป็นเครื่องรางของขลังจำพวกอาถรรพ์พระเวทไม่ใช่เครื่องรางของขลังสามัญทั่วไป ผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้มีวิชาอยู่พอสมควรสามารถเรียก ปลุก ใช้ และเรียกกลับมาได้

วัวธนูหรือควายธนูเป็นวิชาของคนไทยแต่โบราณใช้เขาวัวที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแกะเป็นรูปวัวแล้วเจาะรูสำหรับบรรจุของอาถรรพ์ (ผมผีตายโหง 2 ศพ ปิดด้วยชันนางโลมใต้ดิน) แล้วลงอักขระธาตุพระกรณี (จะภะกะสะ) ที่ตัววัวหรือสร้างขึ้นมาจากสิ่งมีอาถรรพ์ (ตะปูจากโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง ทองแดงเถื่อน ดีบุก เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์) นำมาหล่อเป็นรูปโคหรือรูปกระทิงโทนแล้วลงอักขระยันต์

การทำวัวธนู นั้นจะมีเวทมนตร์คาถากำกับแตกต่างกัน โดยในการสร้างนั้นจะมีคาถาเชิญเทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสิงสถิต เวลาจะใช้วัวให้ออกไปต่อสู้กับศัตรูหรือภูตผีปีศาจก็ใช้คาถาปลุกแล้วสั่งให้ไป

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน

สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ

สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่

สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย

น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
  • น้ำ 15 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • รำข้าว 150 กรัม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง

ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา

ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา

ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวป่า

ข้าวป่า เป็นข้าวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะพบเห็นในลำคลองข้าง ๆ ทาง ในแอ่งน้ำริมแปลงข้าวปลูกหรือในแปลงข้าวปลูก ชื่อข้าวป่าอาจถูกเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า หญ้าข้าวนก ภาคกลางเรียกข้าวละมาร หรือ หญ้าละมาน เป็นต้น

จากข้าวป่าที่สำรวจพบทั่วโลก 21 ชนิด พบว่า มีในประเทศไทย อย่างน้อย 5 ชนิด ข้าวป่าบางชนิดเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ปัจจุบัน มีการนำข้าวป่ามาทำประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ สาเหตุจากมนุษย์ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเกินไป ข้าวป่าเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ การขยายเมือง สร้างถนน สร้างเขื่อน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืช

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ

คันไถ

ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน

“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

โชงโลง

เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงยา

สูตรปรุงยา

ยาที่ข้าวต้องการมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “ยาบำรุง” และ “ยาป้องกันโรคและแมลง” โดยแทบจะไม่ต้องการยารักษาโรคเลยเพราะเมื่อเราบำรุงข้าวให้แข็งแรงตั้งแต่แรก ข้าวก็จะไม่เป็นโรคมาก ยาบำรุงนั้นจะทำจากของน่ากินทั้งนั้น อย่างไข่ไก่ นม กากน้ำตาล หรือแม้แต่นมเปรี้ยว ส่วนยาป้องกันโรคและแมลงก็จะเป็นของที่ไม่ค่อยอร่อยแต่มีประโยชน์อย่างพืชผักสมุนไพร หรือของที่มีพิษไปเลย เช่น เชื้อราต่างๆ ที่ช่วยฆ่าหนอนและแมลงได้ดี

ฮอร์โมนสูตรนมสด

  • นมพาสเจอร์ไรซ์ 5 ลิตร
  • กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
  • ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก
  • นมเปรี้ยวบีทาเก้น 1 ขวด (ขนาด 15 บาท)

หมักประมาณสามวันจนมีกลิ่นหอม แล้วกรองเอาแต่น้ำ 70 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ใช้ฉีดบำรุงข้าวเมื่อเริ่มแตกกอ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักพันธุกรรมศาสตร์ ผู้ปลุกปั้นดีเอ็นเอข้าว

คัด + ผสม = ข้าว x 1000d จะปลูกข้าวทั้งที เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ต้องเจ๋งจริงๆ ชาวนาให้ความสำคัญในการเลือกเฟ้นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับผืนนาของตน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง ปลูกง่าย รวมถึงยังต้องเก็บสต็อกข้าวไว้หลายๆพันธุ์ เผื่อเอาไว้ปลูกในกรณีฉุกเฉินที่สภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชาวโลก

นอกจากนี้ ชาวนายังเป็น “นักพันธุ์กรรมศาสตร์” อีกด้วย เพราะข้าวที่ปลูกจะค่อยๆกลายพันธุ์ไป จึงต้องทำการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเลือกเอาข้อเด่นของข้าวแต่ละพันธุ์มาผสมกันและปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นคัดเฉพาะต้นที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ มาปลูกซ้ำอีกแปดรอบ เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์แท้ ก่อนนำไปปลูกจริง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว

รู้ไหมว่า คนรุ่นก่อนคิดค้นพันธุ์ไว้ให้เรากว่า 60,000 ชนิด ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวมหาศาลนี้อย่างชาญฉลาด ชาวนาหนึ่งคนอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์ในคราวเดียวกัน เพราะนาหนึ่งผืน มีพื้นที่หลายลักษณะ แถมข้าวจะออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ทยอยเกี่ยวทีละแปลงได้ทันก่อนข้าวจะล้ม นอกจากนี้ชาวนาจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูกบ้างเพื่อลดการสะสมของโรคระบาด ผลพลอยได้ท้ายที่สุดจะอยู่ที่คนกินข้าว เพราะข้าวต่างพันธุ์ก็ให้สารอาหารต่างกัน ยิ่งกินข้าวหลากหลาย ก็ยิงแข็งแรง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย

ล้อเกวียน

ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก

ระหัดชกมวย

ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน

ผลลัพธ์ 81 to 100 of 1869