Showing 1869 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
เรื่อง With digital objects
Print preview View:

สูจิบัตร กิจกรรม Museum Family : เครื่องปั้นดินเผาจีน สมัยราชวงศ์ชิงในสยาม เมื่อครั้งสำเภากางใบ

สูจิบัตร "เครื่องปั้นดินเผาจีน สมัยราชวงศ์ชิงในสยาม เมื่อครั้งสำเภากางใบ"

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

นิทรรศการ ชุด เรียงความประเทศไทย : ห้องไทยแท้

การไหว้
“นมัสเต” เป็นท่าทางที่ใช้ทักทายของชาวอินเดียแบบนอบน้อม คล้ายคลึงกับการไหว้ของไทยนัก ลักษณะของการพนมมือแบบนี้เห็นได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นกำเนิดที่แท้จริง มาจากไหนไม่มีใครรู้ แต่การไหว้แบบไทยไทยถือว่างดงามและเป็นที่ยอมรับระดับมิสยูนิเวอสจ้า
Wai
“Namasté”, an Indian greeting to express respect, is similar to “Wai” in Thailand. The gesture, with hands pressed together and fingers pointed upwards in front of the chest, is commonly used in most Southeast Asian countries. Although its origin is unknown, Thai Wai is highly regarded as a graceful gesture and even performed by Miss Universe 2005 (Natalie Glebova).

ภาพถ่ายพิธีเปิดนิทรรศการถอดรหัสไทย

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ลงนามในสมุดเยี่ยมชม มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

ไทยทำ...ทำทำไม : โปง

โปง

ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย

สืบจากส้วม : ไปทุ่ง ไปท่า

ไปทุ่ง ไปท่า

สังคมไทยในยุคดั้งเดิมที่ยังมีประชากรน้อย และอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาธรรมชาติ เรื่องอึ ก็เป็นเรื่อง “ขี้ ๆ” ใครมีบ้านเรือนอยู่ริมทุ่งนา ก็ไปอึในทุ่ง ใครมีบ้านอยู่ริมน้ำ ก็ไปอึที่ท่าน้ำ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไปทุ่ง” “ไปท่า” รวมถึงคำว่า “ไปป่า” ก็ย่อมเป็นคำพูดติดปากของคนที่มีบ้านอยู่ชายป่านั่นเอง
เมื่ออีเสร็จแล้ว อึนั้น ก็ไม่ได้ไปไหน แต่ถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ภาพถ่ายก่อนบูรณะกระทรวงพาณิชย์

กระทรวงท่าเตียน” คืออีกชื่อหนึ่งที่ผู้คนมักจะใช้เรียกขานกระทรวงพาณิชย์ เพราะอยู่บริเวณท่าเตียน ขุนวิจิตรมาตราได้เล่าว่า ในสมัยแรกเริ่มของการก่อสร้างนั้น ได้สร้างอาคารบนพื้นที่ว่างอันเป็นที่วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวง บดินทรไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ มีถนน ๓ สายโดยรอบ ได้แก่ ถนนสนามไชย ถนนมหาราช ถนนเขตต์ หรือซอยเศรษฐการในปัจจุบัน ใกล้กับที่ทำการศาลาแยกธาตุในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วัง กรมหมื่นภูมินทรภักดี ตัวอาคารนั้น ก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๔๖๔และในปี พ.ศ. ๒๔๖๕พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกระทรวงฯ
ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งเสนาบดี
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีชื่อว่า “กระทรวงเกษตรพาณิชย์การ” และเปลี่ยนชื่อศาลาแยกธาตุเป็น “กรมวิทยาศาสตร์”
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงพาณิชย์” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เนื่องด้วยการพาณิชย์รวมทั้งการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมและส่งเสริมกิจการค้าและประกันภัยจวบจนปัจจุบัน
กระทรวงพาณิชย์สร้างเป็นอาคารทรงฝรั่ง เนื่องจากรูปแบบงานมีลักษณะสมัยใหม่มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งมีความสำคัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางเข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมทำงานกับสถาปนิกคนอื่นๆ ในการออกแบบสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ มากมาย เช่น พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งดุสิต วัดเบญจมบพิตร สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์มาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบบ้านนรสิงห์ บ้านพิษณุโลก ราชตฤณมัยสมาคม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
สำหรับงานปูนปั้นหรืองานหล่ออันงดงามในตัวกระทรวงพาณิชย์นั้น เป็นฝีมือการออกแบบของ วิตโตริโอ โนวี นายช่างเอกแห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ผู้รังสรรค์ สลักเสลาความงามวิจิตร ตามอาคารต่างๆ แทบทุกโครงการที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม

ผลลัพธ์ 141 to 160 of 1869