Showing 2179 results

Archival description
With digital objects
Print preview View:

ภาพถ่ายพิธีเปิดนิทรรศการถอดรหัสไทย

นายปรมินทร์ เครือทอง ที่ปรึกษาสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นผู้นำชมนิทรรศการถาวร ถอดรหัสไทย แก่คณะรองนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการบริหารสบร. และแขกผู้มีเกียรติ

แผ่นพับ กิจกรรม Workshop : ลูกชุบ ขนมไทยตำรับเทศ

แผ่นพับกิจกรรม Workshop ลูกชุบ "ขนมไทยตำรับเทศ"

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกกิจกรรมการเรียนรู้

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน

สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ

สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่

สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย

น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
  • น้ำ 15 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • รำข้าว 150 กรัม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง

ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา

ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา

ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป

Results 121 to 140 of 2179