Showing 8 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
ชาวนา
Print preview View:

7 results with digital objects Show results with digital objects

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

สืบเนื่องจากการที่มีคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคหางเครื่องและคอนเสิร์ต (พ.ศ. 2519 - 2528)

ยุคหางเครื่องและคอนเสิร์ต (พ.ศ. 2519 - 2528)

หลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งที่เกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวนา กรรมกร และแนวเพื่อชีวิตมีน้อยลง เนื่องจากการปิดกั้นของภาครัฐ ส่งผลให้กลับมานิยมเนื้อหาด้านการเกี้ยวพาราสีและความรักของหนุ่มสาว ยุคนี้มีนักร้องใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ผลงานหลากหลาย วงดนตรีลูกทุ่งมีการแข่งขันมากขึ้น ใช้เงินลงทุนมากขึ้น ใช้เทคนิคแสง สี เสียงที่ทันสมัย การเต้นประกอบเพลงของหางเครื่องมีความอลังการมากขึ้น เนื้อหาของเพลงในช่วงนี้สะท้อนปัญหาใหม่ๆ ของสังคมเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การขายแรงงานในต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐานในการประกอบอาชีพของชาวชนบท เข้าสู่เมืองหลวง อาทิ เพลงน้ำตาเมียซาอุ ร้องโดย พิมพา พรศิริ เพลงฉันทนาที่รัก ร้องโดย รักชาติ ศิริชัย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มเขียนจดหมายถึงสาวคนรักชื่อฉันทนา ที่ทำงานอยู่โรงงานทอผ้า ซึ่งเพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จนกระทั่งสื่อมวลชนใช้คำว่า "ฉันทนา" แทนผู้หญิงที่ทำงานในโรงงาน

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง

ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา

ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา

ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักพันธุกรรมศาสตร์ ผู้ปลุกปั้นดีเอ็นเอข้าว

คัด + ผสม = ข้าว x 1000d จะปลูกข้าวทั้งที เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ต้องเจ๋งจริงๆ ชาวนาให้ความสำคัญในการเลือกเฟ้นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับผืนนาของตน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง ปลูกง่าย รวมถึงยังต้องเก็บสต็อกข้าวไว้หลายๆพันธุ์ เผื่อเอาไว้ปลูกในกรณีฉุกเฉินที่สภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชาวโลก

นอกจากนี้ ชาวนายังเป็น “นักพันธุ์กรรมศาสตร์” อีกด้วย เพราะข้าวที่ปลูกจะค่อยๆกลายพันธุ์ไป จึงต้องทำการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเลือกเอาข้อเด่นของข้าวแต่ละพันธุ์มาผสมกันและปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นคัดเฉพาะต้นที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ มาปลูกซ้ำอีกแปดรอบ เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์แท้ ก่อนนำไปปลูกจริง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว

รู้ไหมว่า คนรุ่นก่อนคิดค้นพันธุ์ไว้ให้เรากว่า 60,000 ชนิด ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวมหาศาลนี้อย่างชาญฉลาด ชาวนาหนึ่งคนอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์ในคราวเดียวกัน เพราะนาหนึ่งผืน มีพื้นที่หลายลักษณะ แถมข้าวจะออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ทยอยเกี่ยวทีละแปลงได้ทันก่อนข้าวจะล้ม นอกจากนี้ชาวนาจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูกบ้างเพื่อลดการสะสมของโรคระบาด ผลพลอยได้ท้ายที่สุดจะอยู่ที่คนกินข้าว เพราะข้าวต่างพันธุ์ก็ให้สารอาหารต่างกัน ยิ่งกินข้าวหลากหลาย ก็ยิงแข็งแรง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว

เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม