Showing 67 results

Archival description
Series
Print preview View:

ภาพถ่ายพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1 โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน คณะกรรมการบริหารสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ร่วมงานในวันที่ 20 กันยายน 2550

  • กิจกรรมช่วงเช้า การบวงสรวงและนำชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

ภาพถ่ายการเข้าเยี่ยมชมของ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรส ผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (16 มิถุนายน 2561)

เช้าวันที่ 16 มิถุนายน 2561 รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรสผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) จาก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติเยี่ยมชม มิวเซียมสยาม โดยมีคณะผู้บริหารของมิวเซียมสยามร่วมให้การต้อนรับ

ภาพถ่าย งานทดสอบระบบก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 โดยนักเรียนโรงเรียนราชินี (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)

เชิญนักเรียนโรงเรียนราชินีทดสอบระบบ ก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ (3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ วันที่ 3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ ห้องสัมมนาโรงแรมรอยัลซิตี้ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เวลา 09.00 น. - 17.30 น.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ( สพร. ) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ ” โดยมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศร่วมบรรยายในหัวข้อ “ Museum in the Modern World ” โดย ELAINE GURIAN ซึ่งเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของพิพิธภัณฑ์ในยุคโลกไร้พรมแดน , “ Validating the Narrative Based Museum ” โดย KENNETH GORBEY ซึ่งจะมีกล่าวถึงแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการสะสมวัตถุเพื่อจัดแสดง มาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องราวจากวัตถุเหล่านั้น และ “ Interpretive Design in a Museum Context ” โดย DESMOND FREEMAN จะกล่าวถึงการพัฒนาเนื้อหาและเค้าโครงเรื่องของนิทรรศการให้กลายมาเป็นนิทรรศการที่เป็นรูปธรรม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร? รวมถึงเคล็ดลับและขั้นตอนในการสร้างสรรค์และเลือกใช้สื่ออันหลากหลายมาผนวกกับข้อมูลเชิงวิชาการ เพื่อทำการสื่อสารเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปแบบของการจัดชุดนิทรรศการ ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ รูปแบบและเนื้อหาจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กับกลุ่มนักออกแบบนิทรรศการ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้กำลังประสบอยู่ เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการนำเสนอประเด็นในการพัฒนาและสร้างสรรค์นิทรรศการ ( Exhibition Development ) , การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ( Museum Management ) , เทคนิคในการออกแบบชุดนิทรรศการ ได้แก่ งานด้าน แสง สี เสียง ( Lighting , Media , Audio Visual ) , การจัดทำแผ่นป้ายคำบรรยาย และการจัดเส้นทางเดินชมชุดนิทรรศการ ( Captions and Exhibition Traffic ) ทั้งนี้กลุ่มนักออกแบบนิทรรศการและกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ จะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างถูกวิธีจากผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดนิทรรศการ รวมถึงการพัฒนาโครงเรื่องและเนื้อหาการศึกษางานพิพิธภัณฑ์ ( Education ) และการนำเทคนิคใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบนิทรรศการได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและน่าสนใจในต่างประเทศ ผ่านประสบการณ์จริงในด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และการพัฒนาออกแบบ จัดสร้างนิทรรศการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์มากที่สุด

ภาพถ่ายพิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (19 มกราคม 2548)

ความเป็นมาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ : มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ : พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลบังคับใช้

๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ : คณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ มีมติให้ประกาศจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ : ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งแรก

๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ : งานพิธีเปิดแนวคิดและสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรก รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย จากกระทรวงพาณิชย์ ให้อยู่ในความดูแลของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย

นิทรรศการสัญจร ชุด ผู้แทนฯ เมืองไทย
แนวคิดหลัก : เข้าใจพัฒนาการการเมืองไทย โดยผ่านบทบาทและภารกิจของผู้แทนฯ
นิยาม : ผู้แทนฯ ก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาชิกวุฒิสภา

  1. นิทรรศการ
    พื้นที่การจัดแสดง : 160 ตารางเมตร บริเวณอาคารรัฐสภา
    นิทรรศการสื่อผสม พร้อมเคลื่อนย้ายและติดตั้ง

เนื้อหา

ส่วนที่ 1 : ผู้แทนในสังคม การเมืองไทย
แสดงพัฒนาการของการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม

การนำเสนอ : Timeline ขนาดใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของการเมืองเลือกตั้ง ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างของนิทรรศการการสะท้อนให้เห็นบรรยากาศในแต่ละยุคไปพร้อมกันด้วย โดยแต่ละช่วงจะสอดแทรกวัตถุสิ่งของ ไปพร้อมกัน

ข้อมูลหลัก : การเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ การรัฐประหาร พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี การวางเงินสมัครับเลือกตั้ง เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ
บริบทที่เกี่ยวข้อง : จำนวนประชากร ตัวเลขงบประมาณ ฯลฯ
เหตุการณ์อื่น ๆ : ประกวดนางสาวไทย เลิกกินหมาก ประกาศวันชาติ รัฐนิยมฉบับต่าง ๆ ญี่ปุ่นบุก น้ำท่วมกรุงเทพปี 85 ทีวีออกอากาศครั้งแรก ไฮด์ปาร์คสนามหลวง ประท้วงเลือกตั้งสกปรก ยกเลิกการจำหน่ายฝิ่น เริ่มต้นยุคพัฒนา ถนนมิตรภาพ อาภัสราได้นางงามจักรวาล ไทยจัดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรก มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต คดีนวลฉวี พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิค ยิงดาวเทียมไทยคม มือถือเครื่องแรก ฯลฯ

ส่วนที่ 2 : กว่าจะเป็นสภาผู้แทน
แสดงให้เห็นว่ากระแสเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาและมีผู้แทนมีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เช่น คำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ของข้าราชการและเจ้านาย , บทความ “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ของเทียนวรรณ ปัญญาชนสามัญชน ที่เรียกร้องให้ตั้ง “ปาลิเมนต์ ให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่รัฐบาลได้” , การเตรียมการปฏิบัติการของคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งแม้ว่าจะมิสำเร็จแต่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 20 ปีต่อมา โดยสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริ์เป็นประมุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การนำเสนอ : ภาพแผนที่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 ขนาดใหญ่ แทรกด้วยภาพผู้แทนไทยสมัยแรก และปาฐกถาผู้แทนสมัยแรกแต่ละจังหวัด

ส่วนที่ 3 : เกร็ดการเมือง
นำเสนอเนื้อหาและบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยผ่านการหยิบยกเกร็ดการเมืองมานำเสนอ พร้อมอธิบายบทบาทและความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ

3.1  ที่สุดของสภาผู้แทนแต่ละชุด
สภาชุดที่อายุยืนที่สุด
สภาชุดที่อายุสั้นที่สุด
สภาชุดที่ใช้นายกเปลืองที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายมากที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายน้อยที่สุด
ฯลฯ

3.2 ที่สุดแห่งกระทู้/ญัติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทู้ที่นำไปสู่การล้มรัฐบาล
การอภิปรายที่นานที่สุด
ญัตติที่ไม่เคยได้อภิปราย
ญัตติที่ไม่เคยลงคะแนน
ฯลฯ

3.3 หนึ่งเดียวคนนี้
คัดเลือกผู้แทนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส.ส. เสียงดีที่สุด สุเทพ วงศ์คำแหง ส.ส. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประไทย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

3.4 เกมส์จับคู่ผู้แทน
สากกระเบือ , ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง, ปลาไหล, ควาย ฯลฯ กับ เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ ไพฑูรย์ วงษ์พานิช

3.5 แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
เกมให้ทายบวกรางวัล สลับกับเทปแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย

การนำเสนอ : จัดจำลองในรูปแบบงานวัด

ส่วนที่ 4 : ผู้แทนในสื่อ
นำเสนอสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ผู้แทนผลิตเองและคนภายนอกผลิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการความคิด ของแต่ละยุคสมัยที่มีผู้แทนในแต่ละยุค

4.1 มองการเมืองไทยผ่านโปสเตอร์หาเสียง /เชิญชวนเลือกตั้ง
นำเสนอโปสเตอร์เตอร์หาเสียงยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

การนำเสนอ : จัดแสดงโดยการทำเป็นแกลลอรีภาพโปสเตอร์

4.2 มองผู้แทนผ่านหนังไทย
จัดฉายภาพยนตร์ไทยที่มีฉากสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. เช่น ผู้แทนนอกสภา เวลาในขวดแก้ว ฯลฯ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ ส.ส. เป็นอย่างไรเมื่อสื่อผ่านภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังจะมีการฉายเทปการการเสียงในยุคก่อนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กฉายภาพยนตร์สลับสารคดี

4.3 มองผู้แทนผ่านเสียงเพลง
คัดเลือกเพลงที่พูดถึงผู้แทนในแต่ละยุค รวมทั้งเทปหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นตู้เพลงให้ผู้ชมเลือกฟัง

ส่วนที่ 5 : ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
รวบรวม/แยกประเภท หนังสือ เอกสาร ที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ สนใจการเอมืองไทยอ่านเล่มไหนดี

การนำเสนอ : จัดทำเป็นซอฟแวร์แอคทีฟค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์

ส่วนที่ 6 : ประชาชนกับผู้แทน
นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังสมารถทำอะไรกับผู้แทนได้อีก เช่น เข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อถอดถอน
การนำเสนอ : บอร์ดนิทรรศการ

  1. หนังสือประกอบงาน
    จัดทำหนังสือประกอบงานโดยนำเนื้อหาประกอบด้วย

    • ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
    • บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรกับสังคมการเมืองไทย (เนื้อหารส่วนหนึ่งจากนิทรรศการ)
    • แหล่งอ้างอิงเอกสารสำคัญ
  2. วีซีดี นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย”
    จัดทำ นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย” ลงในรูปแบบ วีซีดี อินเตอร์แอคทีฟ ประกอบกับหนังสือ

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile)

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ชุดแรก ที่จัดสร้างขึ้นในปี 2551 พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มอบหมายให้ฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีนายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ

โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่ ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 ติดตั้งและจัดแสดงที่จังหวัดลำปางเป็นแห่งแรก

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

Results 1 to 20 of 67