Showing 1166 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

สืบจากส้วม : ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการใช้ห้องน้ำของเจ้านายไว้ดังนี้
“ตามประเพณีโบราณ “ที่ลงพระบังคน (ห้องน้ำ) เป็นของมีได้แต่พระเจ้าแผ่นดิน หรือมีต่อลงมาได้เพียงเจ้านาย เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า “บังคน” เหมือนกัน แต่คนสามัญชนจะมีที่ลงบังคนไม่ได้” ดังนั้น การสร้างส้วมบนเรือน จึงเป็นการตีตนเสมอเจ้านายนั้นเอง

สืบจากส้วม : ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

โถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แท็งก์น้ำสูง ได้รับความนิยมในวังต่างๆ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มีกลไกดึงโซ่ ปล่อยน้ำจากแท็งก์สูงให้ไหลกระแทกลงมา แม้ว่าจะเกิดเสียงดัง แต่ก็ผลักสิ่งปฏิกูลทั้งมวลลงสู่บ่อเกรอะใต้ดินอย่างหมดจด นอกจากนี้ ยังมี “คอห่าน” ไว้ดักกลิ่นอย่างได้ผล ถือได้ว่า ห้องพระบังคนที่ใช้สุขภัณฑ์แบบนี้ ดำเนินตามกรอบคิด “ศิวิไลซ์” อย่างครบถ้วน

สืบจากส้วม : ชนชั้นสูง

ชนชั้นสูง : หน้าด่านของความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 การทำบ้านเมืองให้มี “ความศิวิไลซ์” เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อดูหมิ่นที่ชาติตะวันตกอาจใช้เป็นข้าอ้างในการคุกคามล่าอาณานิคม ชนชั้นสูงในสมัยนั้นจึงเป็นคนกลุ่มแรกที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมี “อารยธรรม” ในทุกด้าน ไม่เว้นแต่เรื่องส่วนตัวในห้องน้ำ

ห้องน้ำของเจ้านายในสมัยนั้น เรื่อยต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 6 จึงคลาคล่ำไปด้วยเครื่องใช้แบบตะวันตก เช่น อ่างอาบน้ำ ฝักบัว รวมไปถึงชุดเครื่องสุขภัณฑ์แบบใหม่ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ โถชักโครก บิเดต์ หรือจากุซซี่

เล่ากันว่า บางครั้ง “ของนอก” เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงเท่าใดนัก เพราะเจ้านายบางพระองค์ยังคงโปรดปฏิบัติพระกิจวัตรแบบเดิม แต่ที่ต้องซื้อหามาไว้ ก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องประดับที่แสดงถึงความมีอารยะ เท่านั้นเอง

สืบจากส้วม : กระจายเสียง กระจายส้วม

กระจายเสียง กระจายส้วม

ในยุคทหารอเมริกันยกพลขึ้นบก ราวปีพุทธศักราช 2500 การรณรงค์ให้ใช้ส้วมผ่านภาพยนตร์ได้ผลดีนัก เพราะเป็นของใหม่ที่ใครๆ ก็อยากชม และเนื้อหาที่ปรากฏในภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถืออีกด้วย

สื่อภาพยนตร์ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก “สำนักงานข่าวสารอเมริกา” ในบรรยากาศสงครามเย็นเป็นไปได้หรือไม่ว่า สื่อเหล่านี้คือ กลยุทธ์หนึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สร้างคะแนนเสียง ทิ้งห่างประเทสมหาอำนาจคู่แข่งอย่าง สหภาพโซเวียต

สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

”นางใน” กับ “อุโมงค์”

ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง มีข้าราชบริภารที่เป็นหญิง ซึ่งเรียกว่า “นางใน” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องสร้างสถานที่ขับถ่ายไว้โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า “อุโมงค์” จากคำบอกเล่า มี 4 สมมุติฐาน เกี่ยวกับอุโมงค์ดังนี้

สมมติฐานที่ 1
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์
ที่ตั้ง ริมแม่น้ำ นอกกำแพงวัง
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนน้ำ

“อุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่าง พุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน เพราะถ่ายลงในแม่น้ำ”

สมมติฐานที่ 2
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ระหว่างกำแพงวังชั้นในและชั้นนอก
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนดิน

อุโมงค์สมัยต้นรัชกาลที่ 5 น่าจะตั้งอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในของพระบรมมหาราชวัง การไปอุโมงค์นั้น สาวชาววังจะใช้ประตูกำแพงชั้นในที่เจาะเฉพาะ มีโขลนหรือทหารหญิงเฝ้าทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นทางฉนวน คือเป็นกำแพงสูงตลอดทั้งสองข้างป้องกันการหลบหนี ส่วนการขับถ่ายในอุโมงค์สมัยนี้ ควดว่าจะเป็นการนั่งถ่ายบนดิน

สมมติฐานที่ 3
สมัย รัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงร่อง ด้านล่างเป็นท่อระบายออกแม่น้ำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 “ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณหนาทึบ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งขึ้นไปรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชบานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆกับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานที่เปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆกัน คราวละหลายๆคน มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออก ให่ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

สมมติฐานที่ 4
สมัย ปลายรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงถังเท

ต่อมาเพื่อความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ คืออุโมงค์ที่บรรยายไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นอุโมงค์ทึบพุ่งยาวออกจากกำแพงวังมีปากทางเข้า อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ ใกล้ประตุศรีสุดาวงศ์ อุโมงค์ที่สร้างในสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถว สำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง

ภาพถ่ายพิธีเปิดนิทรรศการถอดรหัสไทย

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ลงนามในสมุดเยี่ยมชม มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

Results 121 to 140 of 1166