Print preview Close

Showing 1163 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด นิเวศวัฒนธรรมไตรภาค

สูจิบัตร นิทรรศการนิเวศวัฒนธรรมไตรภาค

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ไทยทำ...ทำทำไม : กระเบื้องเกาะยอ

กระเบื้องเกาะยอ

แหล่งผลิตกระเบื้องเมืองสงขลา อยู่บริเวณท่าอิฐ ท่าสะอ้าน ขึ้นไปจนถึงบ้านท่านางหอม พบว่าเตาเผาทั่วบริเวณดังกล่าวมีไม่น้อยกว่า 200 เตา

ปัจจุบันกลับซบเซาลงอย่างหน้าใจหายเหลือเพียง 1 เตา เพราะความนิยมน้อยลง และกระเบื้องสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ขาดผู้สืบทอด เพราะเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้แรงงานคน ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สนใจยึดเป็นอาชีพ

ทำไม ไออินสไปร์

จากความเรียบง่าย ที่กลายเป็นความซับซ้อน จากความอบอ่อนนุ่ม ที่เปลี่ยนเป็นความแข็งแกร่ง แม้ถือกำเนิดมาจากดิน แต่กลับโบยบินไปเป็นหลังคา ให้กำเนิดสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และ มีค่าประหนึ่งความสำเร็จนั้น มิได้ถูกจำกัดไว้อยู่เพียงที่มา

ไทยทำ...ทำทำไม : ตุ๊กตาเสีย กบาล

ตุ๊กตาเสีย กบาล

คนโบราณใช้ ตุ๊กตาเสีย กบาล เป็นตัวแทนของบาปเคราะห์ที่ถูกถ่ายทอดไปไว้ที่ตุ๊กตาเสีย กบาล นั้น รับเคราะห์แทนผู้นั้น ๆ โดยปั้นตุ๊กตาดินให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายแล้วจึงทำพิธีเสีย กบาล โดยหักคอตุ๊กตาตัวนั้น ไปวางไว้ตรงทางสามแพร่งหรือลอยน้ำไป

ทำไม ไออินสไปร์

โอนถ่ายความโชคร้ายไปไว้ที่ตุ๊กตา นำความเศร้า ความกลัว ความกังวล ออกไปจากใจ ฝังมันไว้กับตุ๊กตา

ไทยทำ...ทำทำไม : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ขุนเพชร หรือ ปลัดขิก แต่เดิมนิยมให้เด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 3-4 ขวบขึ้นไป แขวนไว้ที่เอวโดยระยะนี้เด็กกำลังมีภูมิคุ้มกันตัวเองลดลง เพราะว่าหย่านมแล้ว เพื่อจะหลอกผีให้เข้าใจไปว่าเด็กชายนั้นไม่ใช่เด็ก หากแต่เป็นผู้ชายเต็มตัวแล้ว โดยมีองคชาติปลายเปิดอย่างผู้ใหญ่ไม่มีหนังหุ้ม ผีไม่สามารถนำเด็กคนนั้นไปยังโลกแห่งความตายได้ เพราะไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว

ทำไม ไออินสไปร์

แล้ววันหนึ่ง เราจะโตเป็นผู้ใหญ่ สักวันหนึ่ง เราจะโตพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตนเอง วันนี้เรายังไม่โต แต่วันหนึ่ง เราจะโต และ เราจะปลอดภัย

ไทยทำ...ทำทำไม : ตำราพรหมชาติ

ตำราพรหมชาติ

“การดูพรหมชาติ” เป็นวิธีการทำนายดวงชะตาราศีของบุคคลบนพื้นฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นการพยากรณ์แบบหนึ่งในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งมาจากความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ที่ได้รับจากอินเดียและจีน

ตำราพรหมชาติ ของภาคกลางและภาคใต้ เป็นตำราที่สืบทอดกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยดำเขียนด้วยตัวอักษรไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วยลายเส้นสีขาว เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆเข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วใช่ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”

ฉบับพิมพ์เก่าสุดเป็นฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์พานิชศุภผล พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2455 ไม่ปรากฏชื่อผู้รวบรวม ต่อมาได้มีการพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้งจากหลายโรงพิมพ์ และแพร่หลายไปทุกภูมิภาค มีทั้งตำราหมอดูชาวบ้านและตำราโหราศาสตร์ราชสำนักรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน สังเกตได้ว่าฉบับพิมพ์แต่ละครั้งจะเพิ่มเติมเนื้อหาอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราหมอดูไทยแทนที่จะเป็นการทำนายวิธีการหนึ่งตามชื่อของตน

ทำไม ไออินสไปร์

ปัญญาโบราณ นำพาเส้นทางชีวิต ผ่านหลักสถิติเปรียบเทียบดวงดาว เป็นเข็มทิศในวันที่สับสน และเป็นที่พักความคิดในยามที่ชีวิตต้องมรสุม

ไทยทำ...ทำทำไม : ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่นิยมและเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นการเขียนลวดลายตกแต่งผิวไม้ที่ช่างหลวงนำไปใช้ในงานของราชสำนักและงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น ลวดลายประดับผนัง เสา บานประตู หน้าต่าง ของตำหนัก และอุโบสถ ตลอดไป จนถึงเครื่องเรือนอย่าง ตู้พระธรรม

การทำ ลายรดน้ำ ของช่างไทยมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะลายรดน้ำบนตู้พระธรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นของสำคัญที่ใช้เก็บสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างพระไตรปิฎก กรรมวิธีการทำเริ่มจากการลงรักหลายชั้น แล้วจึงเขียนลาย ปิดทอง และรดน้ำ ถือเป็นเทคนิคขั้นสูง และใช้เวลายาวนานในการทำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาตามแบบฉบับช่างไทยในราชสำนัก

ทำไม ไออินสไปร์

ความงดงามของลวดลายตามแบบไทย รังสรรค์ สร้างมิติ เพื่อบ่งบอกถึงความมีฝีมือทางศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ไทยทำ...ทำทำไม : กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระ

กงพัดสรงน้ำพระคืออุปกรณ์สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำจากกระบอกไม้ไผ่ เจาะช่องรอบปล้องไม้ไผ่ให้ได้ 6 ช่อง แล้วเอาไม้ไผ่ปล้องเล็กทำธารน้ำ แต่ละปล้องนั้นเจาะรูเล็ก ๆ ให้น้ำไหลออกมาได้ด้วย

เมื่อเวลาสรงน้ำ จะเทน้ำอบรวมกันลงในกงพัด พอน้ำตกถึงกงพัดและไหลออกตามท่อ กงพัดจะหมุน น้ำจะกระจายเป็นฝอย สาดไปทั่วพระพุทธรูป ถ้าดูให้ดีแล้วก็เหมือนกับรูปภูมิจักรวาลอันประกอบด้วยมหาสมุทรหกชั้นรอบภูเขาทวีป

ทำไม ไออินสไปร์

“น้ำ” สัญลักษณ์ของความสะอาด และ ความบริสุทธิ์ สื่อถึงความเคารพนบนอบเมื่อเราสรงน้ำที่บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน พ่นเป็นสายกงพัด ชำระฝุ่นผงบนเนื้อพระพุทธรูปแล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งเตือนใจเรา ให้หมั่นชำระผงฝุ่นในใจให้เบาบางลง

ไทยทำ...ทำทำไม : โปงลาง

โปงลาง

ดนตรีพื้นบ้านอิสานที่มีวิวัฒนาการมาจาก ระฆังแขวนคอสัตว์ เพื่อให้เกิดเสียงโปงลางที่ใช้บรรเลงกันอยู่
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียงที่ต้องการในระบบ 5 เสียง ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง

โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี
วิธีการเทียบเสียงโปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาดและเสียงตามที่ต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใด เสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น

ทำไม ไออินสไปร์
เสียงของธรรมชาติ คือ เสียงแห่งชีวิต เป็นเสียงที่ให้ทั้งความสงบ ความสนุก ความรื่นเริง เป็นเสียงที่สื่อความเรียบง่าย สดใส ตรงไปตรงมาพาใจให้เป็นสุขทุกครั้งที่ได้ยลยิน

ไทยทำ...ทำทำไม : มหัศจรรย์พันลึก

มหัศจรรย์พันลึก

มุมมองที่อัศจรรย์ และน่าสนใจของความคิดแบบไทยๆก่อเกิดสิ่งประดิษฐ์เรียบง่าย เพื่อแก้ปัญหาและแบ่งเบาความทุกข์ในชีวิตประจำวัน ผสานไว้ด้วย ศิลปะ คติ ศรัทธา และความเชื่อ ได้อย่าง “มหัศจรรย์ พันลึก” ทำให้ความง่าย อย่างไทยๆ กลายเป็นของพิเศษที่ ไม่ธรรมดา

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องแขวนดอกไม้สด

เครื่องแขวนดอกไม้สด

ดอกไม้พื้นถิ่นของไทยมีขนาดเล็กและส่งกลิ่นหอม อาทิ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่มีดอกไม้ขนาดใหญ่ มีก้านยาว และนำมาจัดตกแต่งเป็นช่อได้ ดังนั้น ศิลปะการจัดดอกไม้แบบไทยจึงเป็นการนำดอกไม้มาร้อยเรียงกันให้เป็นเครื่องแขวนรูปทรงต่างๆ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่ประณีตและวิจิตร

นอกจากใช้แขวนเพดาน ข้างฝา ช่องประตูหน้าต่าง ช่องม่านแหวกในงานพิธีหรือวันสำคัญต่างๆ ยังทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอากาศ ยามลมพัดมาคราใด จะพาเอากลิ่นหอมเย็นสบายของดอกไม้ไทยโชยมาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เสื่อกกจันทบูร

เสื่อกกจันทบูร

งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชองชาวจันทบุรี คิดค้นขึ้นจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกกที่ขึ้นตามบริเวณน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่งทะเล มีเส้นใยหนาทนทานและรับภูมิปัญญาในการทอเสื่อมาจากกลุ่มแม่ชีคาทอลิคที่อพยพมาเมืองจันท์ ช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาชาวจันท์จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกอีกมากมาย จนมีชื่อเสียงจนถึงขั้นไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดจันทบุรี

ไทยทำ...ทำทำไม : ผ้าหมักโคลน

ผ้าหมักโคลน

ภูมิปัญญาที่มาจากความบังเอิญของชาวบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย เวลาออกไปทำนาแล้วสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้าส่วนล่างที่เปรอะเปื้อนโคลนเมื่อนำไปซักแล้วนิ่มกว่าผ้าส่วนบน บรรพบุรุษจึงคิดค้นกรรมวิธีการทำผ้าหมักโคลน เริ่มจากย้อมฝ้ายแล้วทอเป็นลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ แล้วนำมาหมักโคลนทิ้งไว้ 1 คืน ธาตุเหล็กในโคลนจะทำให้เส้นใยผ้าขยายตัว ได้ผ้าที่มีสีคุ่นลงแต่แลกมาด้วยความนุ่มเป็นพิเศษ แล้วค่อยนำไปย้อมสีทับ กลายเป็นนวัตกรรมสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อมา

ไทยทำ...ทำทำไม : ขันโตก

ขันโตก

สมัยก่อนคนไทยชอบนั่งกินข้าวบนพื้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ชาวล้านนาหรือคนไทยทางภาคเหนือเห็นว่าการนั่งพื้นอาจไม่เหมาะหรือสะดวกนักจึงคิดค้นโตกขึ้น

ในภาษาล้านนา แปลว่า ภาชนะใส่อาหารทำด้วยไม้มามัดและสานต่อกันให้มีลักษณะกลมเหมือนถาด มีขาสูงขึ้นมาจากพื้นเล็กน้อยใช้จัดวางอาหารลงไปเป็นสำรับให้ดูน่ากิน

นอกจากโตกจะมีความหมายเชิงวัฒนธรรมเพราะใช้บ่งบอกฐานะของชาวล้านนาได้ วิธีใช้โตกต้องยกออกมาเสิร์ฟทีเดียวทั้งโตกและเมื่อทานเสร็จก็ยกไปเก็บล้างได้ทั้งโตก ถือเป็นนวัตกรรมที่ทั้งสะดวกและประหยัดเวลาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เปลญวนไม้ไผ่

เปลญวนไม้ไผ่

เปลสำหรับแขวนตามร่มไม้หรือใต้ถุนบ้าน พิเศษตรงที่ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่เพียงลำเดียวเท่านั้น คิดค้นขึ้นโดยชาวบ้านที่เห็นไผ่ขึ้นเองในท้องถิ่นและมักปลูกไผ่ไว้ใช้ประโยชน์ด้วยความผูกพันและเข้าใจศักยภาพของไม่ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงนำเอาไม้ไผ่มาผ่ากลาง ผ่าครึ่งหนึ่ง ให้เป็นซี่ยาวแล้วจักไม้ไผ่เป็นตอก สานขัดไปมาตามขวางของลำไม้ให้กลายเป็นเปลนอนได้อย่างฉลาดเหลือเชื่อ

ไทยทำ...ทำทำไม : นางกวัก

นางกวัก

วัตถุมงคลที่มีรูปร่างเหมือนผู้หญิง แต่งกายด้วยชุดไทยสีแดงพร้อมเครื่องประดับทอง นั่งในท่าคุกเข่าแบบเทพธิดา ส่วนมือทำท่ายกขึ้นกวักตามตำนานที่มีแค่ในไทยเท่านั้นเชื่อว่านางกวักเป็นเทพีที่กวักเรียกความเป็นมงคลและโชคลาภ เจ้าของธุรกิจร้านค้าไทยจึงนิยมบูชาไว้หน้าร้านมาแต่โบราณ แม้กระทั่งนักออกแบบรุ่นใหม่ยังออกแบบและลดทอนรูปลักษณ์ของวัตถุมงคลนี้ขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย

ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว

Results 121 to 140 of 1163