Print preview Close

Showing 30 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
Print preview View:

26 results with digital objects Show results with digital objects

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

นางจินตนา ธีรวารกูล ทูลเกล้าถวาย มาลัยข้อพระกร สมเด็จพระเทพฯ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ภาพถ่ายพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 มิวเซียมสยาม ภายในอาคารมีการจัดพื้นที่ภายในจัดแสดง 17 ห้อง นิทรรศการ เรียนรู้ร้อยเรียงในชื่อ นิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่

  1. เบิกโรง (Immersive Theater)
  2. ไทยแท้ (Typically Thai)
  3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi)
  4. สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi)
  5. พุทธิปัญญา (Buddhism)
  6. กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya)
  7. สยามประเทศ (Siam)
  8. สยามยุทธ์ (War Room)
  9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room)
  10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya)
  11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life)
  12. แปลงโฉมสยามประเทศ (Change)
  13. กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications)
  14. สีสันตะวันตก (Thailand and the World)
  15. เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today)
  16. มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow)
  17. ตึกเก่าเล่าเรื่อง

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

พิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพราะคนจะไม่เบื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น นอกจากเด็ก ๆ จะได้รับความรู้ประวัติศาสตร์เก่า ๆ แล้ว ก็จะมีความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วย"

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

พิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นายจาุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี มอบพื้นที่และเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนแห่งชาติ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ เป็นผู้รับมอบ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

พิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม บรรยายเนื้อหานิทรรศการ เรื่อง บางเกาะสู่บางกอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการถาวร

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

พิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) สนามไชย มีการเปิดตัวสถาบันและสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งที่ 1 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และศาสตราจารย์ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมในพิธีมอบอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เพื่อเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นแห่งที่ 1 และเข้าชมนิทรรศการชั่วคราว จากบางเกาะเป็นบางกอก : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ภาพถ่ายพิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (19 มกราคม 2548)

ความเป็นมาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ : มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ : พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลบังคับใช้

๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ : คณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ มีมติให้ประกาศจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ : ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งแรก

๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ : งานพิธีเปิดแนวคิดและสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรก รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย จากกระทรวงพาณิชย์ ให้อยู่ในความดูแลของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

นิทรรศการถาวร ชุด เรียงความประเทศไทย

กรอบแนวคิดของการจัดนิทรรศการภายใน นิทรรศการผ่านการเล่าเรื่อง (Story telling) นับแต่อดีตถึง
ปัจจุบันของผู้คนและดินแดนในอุษาคเนย์และในประเทศไทย
เพื่อ

  1. สร้างสำนึกเข้าใจผู้คน บ้านเมือง และท้องถิ่นของตน และ
    เชื่อมโยงความสัมพันธ์ลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน
    ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และสันติภาพในภูมิภาค.
    จากสุวรรณภูมิ ถึงสยามประเทศ สู่ประเทศไทย
    จากสุวรรณภูมิ
    1. แสดงความหลากหลายทั้งสภาพแวดล้อมแบบชีวภาพและความหลากหลายทางชาติพันธ์
    2. สร้างสำนึกเข้าใจผู้คน บ้านเมือง และท้องถิ่นของตน และ
      เชื่อมโยงความสัมพันธ์ลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน
      ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และสันติภาพในภูมิภาค
    3. แสดงศักยภาพและความสามารถของผู้คนที่อยู่
      ในประเทศไทยที่ปรับตัวได้อย่างสมดุลและชาญฉลาด
      4.เกิดจิตสำนึกแห่งความภูมิใจ และความเป็นคนไทย (Sense of Dignity) ที่เข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเอง และภาคภูมิใจ
      นิทรรศการมีประเด็นในการจัดแสดงเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
      ๑) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สุวรรณภูมิ อันเป็นภูมิภาคแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยยุคเหล็ก คือ ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีลงมา ซึ่งนับอยู่ในต้นพุทธกาลที่คนอินเดียเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า สุวรรณภูมิ คนตะวันตกเรียกว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออกและอินโดจีน เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเอเชียอาคเนย์ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
      ๒) การเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๔ พระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย ผู้ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปภัมภกของพระพุทธศาสนา ได้ส่ง พระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูตมาเผยแพร่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ เพราะเป็นดินแดนแห่งความมั่งคั่ง ผู้คนมีความเจริญเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีการค้าขายติดต่อกับภายนอกทางทะเลและทางบกแล้ว การเข้ามาของพระสมณทูตคือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของดินแดนแห่งนี้มาก่อนการรับอารยธรรมอินเดีย
      ๓) ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยทวารวดี – ศรีวิชัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีพัฒนาการของบ้านเมืองในสุวรรณภูมิขึ้นเป็นรัฐใหญ่ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้ทะเลและดินแดนภายใน มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายจากภายนอกที่มาทางทะเลและคนจากถิ่นต่างๆ ภายในอย่างคึกคัก

หัวข้อนิทรรศการ
๑. รู้จักสุวรรณภูมิ แสดงด้วยหลักฐานและเรื่องราวสำคัญดังต่อไปนี้

 ภาพแผนที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด แสดงให้เห็นลักษณะของภูมิประเทศจากที่สูงในเขตภูเขามายังที่ราบต่ำและชายทะเลที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป อันสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและชาติพันธุ์
 กำหนดตำแหน่งของชุมชนหมู่บ้านในยุคสำริดและชุมชนบ้านเมืองในยุคเหล็กที่อยู่ในบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ คือ มาเลเซีย ไทย พม่า เขมร ลาว และเวียดนาม [ตำแหน่งดูจากหนังสือไฮแอม] เน้นตำแหน่งของชุมชนโบราณในยุคสำริดและเหล็ก อันได้แก่ ท่าแค โคกพลับ ดอนตาเพชร จันเสน บ้านปราสาท บ้านเชียง ถ้ำผีแมน
ท่าแค แสดงตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อม ให้เห็นกลุ่มเขาสามยอดและที่ลาดลงสู่แม่น้ำลพบุรี แสดงภาพเนินดินที่ถูกทำลายแต่เผยให้เห็นชั้นดินที่อยู่อาศัย แสดงการขุดค้นและหลักฐานที่พบ เช่น ภาชนะดินเผา ตะกรันทองแดงและเหล็ก เครื่องประดับที่ทำด้วยเปลือกหอย หินมีค่า สำริด และศิลปวัตถุที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียและการสืบเนื่องมาจนเกิดเมืองละโว้
จันเสน แสดงตำแหน่งแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้ที่ราบลุ่มต่ำที่บ้านใหม่ชัยมงคล สภาพการถูกขุดคุ้ยทำลายที่เต็มไปด้วยกองกระดูก หลักฐานจากสมัยก่อนเหล็กมาจนถึงสมัยเหล็ก แล้วต่อด้วยการเกิดเมืองจันเสนในสมัยทวารวดี
โคกพลับ แสดงแหล่งฝังศพในชุมชนลุ่มน้ำลำคลองใกล้ทะเลในยุคก่อนเหล็กหรือสำริด การขุดค้นที่พบโครงกระดูก มีเครื่องประดับที่ทำด้วยหินมีค่า เช่น ตุ้มหูที่มีตุ่มแหลมประดับ หวีกระดูกสัตว์ ก่องแขนสำริด แหล่งโบราณคดีแห่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อทางทะเลจากชายทะเลในเขตเวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ในสมัยก่อนเหล็ก เพิ่มเติมด้วยการจำลองตุ้มหูหินมีค่าที่มีปุ่มแหลมและหวีกระดูกสัตว์ที่เป็นแบบของจีนแต่สมัยราชวงศ์โจวขึ้นไป
ดอนตาเพชร แสดงตำแหน่งของชุมชนและแหล่งฝังศพที่อยู่ในบริเวณต้นน้ำจระเข้สามพันที่ต่อเนื่องไปจนบริเวณเมืองอู่ทอง แสดงโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นและการรวบรวมของคนในท้องถิ่น ได้แก่
• เครื่องมือเหล็กรูปแบบต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึง specialization อันสะท้อนให้เห็นระดับความเจริญของชุมชนในลักษณะที่เป็นสังคมเมือง
• เครื่องประดับและวัตถุทางสัญลักษณ์ที่ทำด้วยสำริดหล่อบาง เช่น ภาชนะที่มีภาพควาย ผู้หญิงที่แสดงทรงผม เสื้อผ้า โบราณวัตถุชิ้นนี้นำไปเชื่อมกับชิ้นที่พบที่จอมบึงที่มีภาพรูปร่างผู้หญิงที่มีสรีระแบบหญิงอินเดีย ภาพของสัตว์ เช่น ช้าง ม้า และอื่นๆ ที่เป็นของร่วมสมัย สุ่มไก่ และนกยูง รวมทั้งลวดลายก้านขดที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมดองซอน
• แสดงเครื่องประดับที่ทำด้วยหินมีค่าและแก้วสี เช่น ลูกปัดแต่งสี (เอชบีด แบบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมอินเดีย ตุ้มหูแบบ ลิง-ลิง-โอ ที่มาจากวัฒนธรรมซาหวิ่น (ก่อนจาม) จากเวียดนาม
• ทำหุ่นจำลองของ ลิง-ลิง-โอ ที่ทำด้วยหินเขียวและคาร์นีเลียนให้เป็นสัญลักษณ์ของทางตะวันออกมาพบกับหุ่นจำลองของลูกปัดสิงห์ที่ทำด้วยหินคาร์นีเลียนอันเป็นสัญลักษณ์ของทางตะวันตก เช่น อินเดีย
• ลิง-ลิง-โอ คือ ควายหรือสัตว์มีเขา
สิงห์ คือ สัตว์เนรมิตที่มาจากสิงโตซึ่งกลายเป็นราชสีห์
บ้านปราสาท แสดงตำแหน่งที่ตั้งของทุ่งสำริดอันเป็นที่ราบลุ่มอุดมไปด้วยแหล่งผลิตเกลือและการถลุงเหล็ก แสดงชั้นดินที่อยู่อาศัยลึกลงไปจนถึง ๔-๖ เมตร แสดงโบราณวัตถุ เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีพัฒนาการมาแต่สมัยแรก (ภาชนะปากแตร) มาจนถึงสมัยกลาง คือสมัยพิมายต่อเรื่อยมาจนถึงสมัยเจนละและลพบุรี แสดงภาพรวมของการกระจายตัว ชุมชนบ้านและเมือง ที่ต่อมามีเมืองพิมายเป็นศูนย์กลาง
แสดงโครงกระดูกมนุษย์สมัยเหล็กตอนปลายที่มีเครื่องประดับและเครื่องเซ่นศพอันสะท้อนให้เห็นสถานภาพทางสังคมและระดับความเจริญของบ้านเมืองจากแหล่งโบราณคดีที่ไฮแอมขุด
บ้านเชียง แสดงตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนและสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับป่าละเมาะ ลำน้ำลำห้วย หนองน้ำและที่ราบลุ่ม แสดงให้เห็นโบราณวัตถุหลายยุคหลายสมัยที่นอกจากมีรูปแบบสัมพันธ์กับผู้คนในดินแดนภายนอก เช่น จากชายทะเลและจีนตอนใต้แล้ว ยังเป็นชุมชนที่มีวามโดดเด่นในเรื่องสุนทรีย์ อันสะท้อนให้เห็นจากลวดลายเขียนสีบนภาชนะดินเผาที่ไม่เหมือนในที่อื่นๆ ในประเทศไทย
ถ้ำผีแมน แสดงให้เห็นตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ การกระจายตัวของถ้ำในเขตแม่ฮ่องสอนที่แสดงการเคลื่อนไหวของคนภายนอกในเรื่องการตั้งถิ่นฐานและการแลกเปลี่ยนของป่า เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสังคมของคนบนที่สูงในหุบเขาตั้งแต่เหนือลงมาจนถึงกาญจนบุรี
• แสดงภาพเพิงผาที่ประกอบพิธีกรรม ภาพเขียนสีและโลงไม้ รวมทั้งเครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้
• แสดงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์คือ รูปคนทำตัวเป็นกบ อาจเสริมด้วยภาพจากแหล่งพิธีกรรมภาพเขียนสีหรือสลักหินในที่อื่นๆ เช่น ผาแต้ม ประตูผา และภูผายนต์ เป็นต้น
• สิ่งที่ควรนำมาจัดแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่นก็คือ ภาชนะดินเผาบ้านเชียง บ้านปราสาท แบบปากแตรและพิมายดำ ท่าแค โลงผีแมน
• แสดงภาพผู้คนท้องถิ่นให้แลเห็นหน้าตา ทรงผม และเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะผู้ชายที่นุ่งผ้าเตี่ยว แต่ในงานพิธีกรรมมีผ้าชายไหว ชายแครง ให้แลเห็นการใช้เครื่องประดับหัวด้วย เพราะเป็นการบอกสถานภาพทางสังคม

๒. พุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิ
 ชื่อสุวรรณภูมิมาจากคนตะวันตก โดยเฉพาะคนอินเดียที่เดินทางด้วยเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนที่เห็นว่ามีความมั่งคั่ง อารยธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดียจึงมากับผู้คนที่เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐาน เพราะดินแดนนี้มีผู้คนอยู่น้อยมาแต่ดึกดำบรรพ์
 การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากภายนอกทุกสารทิศมีมาแต่สมัยยุคสำริดเป็นต้นมา คนที่เข้ามาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความเจริญในด้านเทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมอยู่แล้ว
 ครั้นถึงยุคเหล็กก็มีพัฒนาการเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะมีการรวมกลุ่มกัน โดยมีหัวหน้าปกครองที่พร้อมจะพบปะติดต่อกับคนจากภายนอกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือค้าขายในระดับเสมอภาค จึงทำให้การรับวัฒนธรรมจากภายนอกมีลักษณะเป็นการเลือกเฟ้นเพื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง
 ในพุทธศตวรรษที่ ๔ อินเดียมีพระมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาของโลก จึงทรงสั่งสมณทูตไปเผยแพร่ในภูมิภาคต่างๆ ทั้งทางบกและทางทะเล
 หนึ่งในสมณทูตดังกล่าว คือ พะโสณะและพระอุตระ ที่เข้ามาสุวรรณภูมิทางทะเล บริเวณที่เข้ามานั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีและตำแหน่งภูมิศาสตร์น่าจะอยู่บริเวณที่เรียกว่า แหลมทอง อันอยู่ในคาบสมุทรไทยต่อคาบสมุทรมลายู นั่นคือ บริเวณตอนเหนือของคายสมุทรมลายู ตั้งแต่จังหวัดปัตตานีขึ้นมาจนถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย
 เพราะตั้งอยู่ระหว่างการค้าจากตะวันตกมาตะวันออก การค้าสำเภาในสมัยสุวรรณภูมิ นั้น จากตะวันตกไปตะวันออกหาได้เดินทางทะเลด้วยสำเภารวดเดียวไม่ หากเป็นการเป็นการเดินทางจากเมืองท่าในอินเดีย ลังกา หรือที่อื่นจากกรีกและโรมันข้ามอ่าวเบงกอลในทะเลอันดามันมายังเมืองท่าในคาบสมุทรไทยแล้วจึงขนถ่ายสินค้าข้ามเส้นทางข้ามคาบสมุทรมายังเมืองท่าบนฝั่งอ่าวไทยในเขตทะเลจีน เส้นทางข้ามคาบสมุทรมีหลายเส้น
 เส้นเหนือสุดคือ ทวาย ตะนาวศรี มายังประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี
 เส้นต่ำไปจากบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวพังงามายังอ่าวบ้านดอนและนครศรีธรรมราช
 และเส้นต่ำสุดคือจากเปรัคและไทรบุรีในเขตประเทศมาเลเซียมายังอ่าวปัตตานี ทำให้พื้นที่ใกล้ทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกที่อยู่ในจุดเริ่มต้นและปลายทางของเส้นทางข้ามคาบสมุทรเป็นบริเวณที่เกิดชุมชนบ้านเมืองขึ้น แต่โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่จุดสมบูรณ์เป็นที่ตั้งหลักแหล่งของบ้านเมืองมักอยู่ทางฝั่งตะวันออก เพราะนอกจากมีที่ราบชายทะเลและคลื่นลมที่สงบแล้ว ยังขานรับกับการเคลื่อนย้ายของคนจากภาคใต้ของประเทศจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งและแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่สำริดลงมาด้วย การแสดงนิทรรศการในตอนนี้ จะมีดังนี้
• แผนที่ภูมิประเทศของคายสมุทรไทยที่แสดงเส้นทางการค้าและคมนาคมทางทะเล จากเมืองท่าชายทะเลฝั่งตะวันออกของอินเดียและลังกา มายังฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรไทย แสดงตำแหน่งของเมืองท่าและชุมชนโบราณบนเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก รวมทั้งบรรดาตำแหน่งเมืองท่ารอบๆ อ่าวไทยไปจนถึงปากแม่น้ำโขงและชายทะเลของประเทศเวียดนามตอนกลาง
• แสดงภาพของเรือสำเภาและเรือสินค้าของคนพื้นเมืองในยุคพุทธกาลและยุคต้นประวัติศาสตร์ โดยดูตัวอย่างจากภาพสลักที่บูโรพุทธ ภาพในดวงตราดินเผาที่พบที่คลองท่อมและที่นครปฐม ดูลักษณะโครงสร้างจากเรือของคนพื้นเมืองที่มี out trigger ประกบ เรือใบสามเสามี out trigger เป็นต้น
• แสดงภาพภูมิประเทศของเมืองท่าสมัยสุวรรณภูมิ ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลจีน อันได้แก่ สะเทิม คลองท่อม อู่ทอง และออกแอว

  • ตำแหน่งของเมืองสะเทิม เป็นอ่าวอยู่ข้างหน้าเมืองและมีภูเขาอยู่ข้างหลัง โดยที่เมืองตั้งอยู่บนที่ลาดลุ่มลงสู่ชายน้ำ ลักษณะเช่นนี้เป็นเช่นเดียวกันกับเมืองอู่ทองที่มีเทือกเขาท่าเทียมอยู่ข้างหลัง
  • ตำแหน่งของคลองท่อมที่น่าจะเป็นเมืองตักโกลาในอ่าวพังงา โดยใช้แผนที่แสดงทางน้ำจากทะเลเข้ามาในบริเวณแหล่งโบราณคดีที่มีทั้งผังบริเวณและภาพถ่ายประกอบ อาจนำโบราณวัตถุที่พบ เช่น แร่ ชิ้นส่วนของแก้ว ลูกปัดที่ขุดขึ้นหรือทำขึ้นในบริเวณนั้น รวมทั้งศิลปวัตถุที่หาได้ แต่ที่สำคัญก็คือ ภาพของหญิงโรมันที่สลักลงบนหินมีค่า
  • ตำแหน่งของเมืองออกแอวควรแสดงด้วยภาพเขียนแลเห็นภูเขาอยู่เบื้องหลัง ข้างหน้าเป็นที่ลุ่มมีบ้านเรือนตั้งอยู่บนเสาสูง มีศาสนสถาน มีลำคลองขุดที่มีเรือนานาชนิดทั้งมาจากภายนอกและที่มาจากภายใน เมืองออกแอวเป็นเมืองท่าของแคว้นฟูนันที่มีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอังกอร์โบเรย
    • แสดงภาพเขียนสีหรือไม่ก็รูปจำลองเหตุการณ์ เป็นภาพขนาดใหญ่ให้เห็นถึงพระโสณะและพระอุตระ เดินทางจากฝั่งทะเลเมืองทวาย ข้ามเขาตะนาวศรีมายังสวนผึ้ง จอมบึง ราชบุรี แล้วต่อมายังเมืองอู่ทองพำนักอยู่ ณ เขาปุษยคีรี มีเจ้าเมืองบริวารและชาวเมืองมาฟังธรรม

๓. ทวารวดี – ศรีวิชัย
 การรับอารยธรรมอินเดียในด้านศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ และศิลปะวิทยาการต่างๆ ของคนสุวรรณภูมินั้น หาได้เป็นไปในลักษณะที่คนในอินเดียเข้ามามีอำนาจครอบงำให้ยอมเชื่อและยอมรับไม่ หากเป็นการที่ผู้นำของบ้านเมืองแต่ละแห่ง ได้เลือกเฟ้นรูปแบบวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับสังคมท้องถิ่นของคนเข้ามา
 เหตุที่รับวัฒนธรรมอินเดียเพราะ วัฒนธรรมอินดียมีเกียรติภูมิสูงกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงมีศักยภาพในการสื่อสารได้มากกว่า ทำให้สามารถบูรณาการความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของผู้คนในบ้านเมืองได้
 ศาสนา ความเป็นกษัตริย์ และอักษรศาสตร์ จากอินเดีย จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้นำบ้านเมืองแต่ละแห่งรับไปใช้เหมือนกัน ด้วยการเชื้อเชิญพระสงฆ์ พราหมณ์ และปราชญ์ราชบัณฑิตที่เป็นคนอินเดียเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในราชสำนัก
 เรื่องของศาสนาแต่ละบ้านเมืองอาจจะแตกต่างกันออกไป บางเมืองเลือกพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาหลัก โดยมีศาสนาฮินดูและลัทธิศาสนาอื่นรองลงไป แต่บางแห่งก็เลือกศาสนาฮินดูและพุทธมหายานเป็นสำคัญกว่าศาสนาอื่น เป็นต้น
 ในขณะที่ระบบกษัตริย์มีความคล้ายคลึงกันและใช้ภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและราชการเหมือนกัน เป็นเหตุให้กษัตริย์ในแต่ละบ้านเมืองสื่อสารและสัมพันธ์กันได้ นั่นคือ อารยธรรมอินเดียในรูปของศาสนา ระบบกษัตริย์ การปกครอง และอักษรศาสตร์ สามารถสลายความเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของผู้นำให้หมดไป ทำให้อยู่เหนือระดับความเป็นชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในบ้านเมือง เข้าสู่สถานภาพที่ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ และเข้าสู่ความเป็นบุคคลชั้นเดียวกับบรรดาผู้นำที่เป็นกษัตริย์ในบ้านเมืองอื่น
 ความเป็นประเภทเดียวกันนี้ เป็นสิ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกษัตริย์ต่างเมืองกัน ความสัมพันธ์ทางสังคมที่โดดเด่นก็คือ การแต่งงานระหว่างกัน ที่มีผลนำไปสู่การรวมบ้านเมืองคู่สัมพันธ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้นำไปสู่การสืบราชสมบัติและสร้างเครือข่ายระหว่างเมืองต่างๆ ให้รวมกันเป็นกลุ่มเป็นรัฐขึ้นมา
 ศาสนา ลัทธิการปกครองแบบกษัตริย์ อักษรศาสตร์ และพิธีกรรมในอารยธรรมอินเดียที่ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๔ นั้น ได้เติบโตเป็นรูปธรรมขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ อันเป็นเวลาที่มีการติดต่อกับจีนเพิ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น จีนขยายอำนาจเข้าสู่เวียดนามเหนือ แต่การค้าของจีนที่ผ่านเวียดนามกลางมาจนปากแม่น้ำโขงและอ่าวไทย รวมทั้งกับบรรดาบ้านเมืองในเกาะสุมาตราและชวา ได้ทำให้เกิดการรวมตัวของบ้านเมืองในสุวรรณภูมิขึ้นเป็นเป็นแว่นแคว้นใหญ่น้อยมากมาย
 ในระยะนี้มีจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงบรรดาแคว้นเหล่านี้ไว้ค่อนข้างชัดเจน แต่ส่วนใหญ่เป็นแคว้นและรัฐใกล้ทะเลที่สัมพันธ์กับเส้นทางการค้าทางทะเล ในการรับรู้ของจีนในขณะนั้น ระบุว่าแคว้นใหญ่ที่สำคัญที่มีการขยายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจไปครอบงำแคว้นอื่นๆ นั้นคือ แคว้น ฟูนัน เป็นแคว้นที่มีการนับถือทั้งพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู มีการส่งทูตไปเมืองจีน จากหลักฐานทางโบราณคดี ศูนย์กลางของฟูนันอยู่ใกล้ปากแม่น้ำโขง มีเมืองออกแอวเป็นเมืองท่าและเมืองอังกอร์เบอเรยเป็นเมืองศูนย์กลางของรัฐ จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงการรุกรานของฟูนันมายังบ้านเมืองในอ่าวไทย แคว้นกิมหลินที่แปลว่า แผ่นดินทอง เมืองสำคัญของกิมหลินตามหลักฐานทางโบราณคดีน่าจะเป็น เมืองอู่ทอง
 พัฒนาการของรัฐฟูนันและรัฐร่วมสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ ตามที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุจีนยุคแรกๆ นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของบ้านเมืองใกล้ทะเล บนเส้นทางการค้าและการคมนาคมจากตะวันตก คือ จากอินเดียเข้าสู่แหลมทอง ข้ามคาบสมุทรโดยทางบกสู่เมืองท่าทางฝั่งตะวันออก แล้วผ่านอ่าวไทยไปปากแม่น้ำโขง ไปเวียดนาม และจีนตามลำดับ
 จนพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ความเป็นรัฐใหญ่และอำนาจทางทะเลของฟูนันก็เสื่อมไป เพราะการขยายตัวทางการค้าทั้งทางทะเลและเส้นทางการค้าภายในของภูมิภาค ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดแคว้นใหญ่ๆ ขึ้นมาอีกหลายแคว้น ดังในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ถัง ที่มีพระภิกษุจีนองค์สำคัญ ๒ องค์ คือ หลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนเหี้ยนจัง ที่รู้จักกันในนามพระถังสัมจั๋ง เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย องค์แรกเดินทางโดยทางทะเลที่ผ่านอ่าวไทย ส่วนองค์หลังเดินทางบกผ่านภูเขาและทะเลทรายไปทางเหนือ แต่ทั้งสององค์ได้บันทึกถึงแคว้นใหญ่แคว้นสำคัญในพื้นแผ่นดินใหญ่ของสุวรรณภูมิอย่างชัดเจนเหมือนกัน คือ แคว้นศรีเกษตร ในลุ่มน้ำอิรวดีในประเทศพม่า แคว้นนครชัยศรีในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน แคว้นทวารวดีในลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก แคว้นอีสานปุระในลุ่มแม่น้ำโขง และแคว้นมหาจัมปาที่อยู่ใกล้ทะเลในประเทศเวียดนาม
 จากหลักฐานทางโบราคดีซึ่งเป็นหลักฐานภายในนั้น แสดงให้เห็นว่า ศรีเกษตร นครชัยศรี ทวารวดี เป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาหลัก ส่วนอิสานปุระและมหาจัมปา ให้ความสำคัญกับศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน
• แสดงแผนที่ภูมิประเทศของอุษาคเนย์ลงตำแหน่งของเมืองสำคัญ คือ ศรีเกษตร นครชัยศรี ละโว้ (ทวารวดี) สมโบร์ไพรกุก และอมราวดี (จาเกี้ยงและมีเชิน)
• แสดงภาพของโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ให้เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธเถรวาท พุทธมหายาน และฮินดู
• พุทธเถรวาทแสดงด้วยรูปแบบพระสถูปเจดีย์ทรงกลม พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปนั่งเก้าอี้ พระนอน ธรรมจักร พระพุทธรูปปางพนัสบดี เสมาอีสานที่แสดงภาพชาดกและพุทธประวัติ
• พุทธมหายาน แสดงด้วยปราสาท รูปเคารพพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์ และรูปแบบของสัญลักษณ์
• ฮินดูแสดงด้วยรูปแบบของปราสาท รูปเคารพศิวลึงค์ เทวรูป พระวิษณุ นางทุรคา พระกฤษณะ ฯลฯ

 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา ทีการขยายตัวทางการค้าทางทะเล และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิม นั่นคือ ความก้าวหน้าทางพานิชย์นาวี ทำให้เกิดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่เดินทางไกลได้ดีกว่าเดิม ทำให้เส้นทางการค้าระหว่างตะวันตกและตะวันออกที่แต่เดิมใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งทะเลอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย มาเป็นการเดินเรือจากทางตะวันตกผ่านช่องแคบมะละกามายังอ่าวไทยและทะเลจีน
 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เกิดรัฐที่มีอำนาจทางทะเลขึ้นมา ที่มีนามว่า ศรีวิชัย รัฐนี้มีฐานอำนาจอยู่ในเกาะสุมาตราและเกาะชวา และมีพัฒนาการขึ้นจากการรวมตัวของรัฐต่างๆ ที่อยู่ทั้งในหมู่เกาะและคาบสมุทร
 ศรีวิชัยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการค้าขายกับทางตะวันตกคืออินเดีย และทางตะวันออกคือจีน จึงเกิดความมั่งคั่งและมีอำนาจ ได้ขยายเส้นทางการค้าไปยังที่ต่างๆ ทั้งใกล้และไกล และสิ่งที่ตามมากับการค้าขายก็คือ การแพร่พุทธศาสนามหายานในพื้นแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย ได้เกิดเมืองท่าและเมืองภายในขึ้นหลายแห่ง อย่าเช่น เมืองคูบัว ในเขตจังหวัดราชบุรี นับเป็นเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนเมืองภายในได้แก่ เมืองศรีเทพในลุ่มน้ำป่าสักในหุบเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญบนเส้นทางการค้าและการคมนาคมข้ามเทือกเขาดงพญาเย็นสู่ที่ราบสูงโคราช พุทธศาสนามหายานแพร่หลายตามเส้นทางนี้ไปจนบริเวณเมืองพิมาย และบริเวณใกล้เคียงในเขตอำเภอลำปลายมาศและนางรอง ก่อนที่จะผ่านไปยังที่ราบลุ่มเขมรต่ำในเขตทะเลสาบเขมรของกัมพูชา
 อิทธิพลของเส้นทางการค้าและการแพร่หลายของพุทธมหายานตามที่กล่าวนี้ยังส่งผลเข้าไปผสมผสานในเรื่องลัทธิความเชื่อของบรรดาบ้านเมืองที่เคยเป็นพุทธเถรวาทและฮินดูมากขึ้นด้วย
• แสดงแผนที่ภูมิประเทศในดินแดนประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงให้เห็นถึงเส้นทางการคมนาคมและการเกิดเมืองสำคัญรุ่นใหม่ขึ้น เช่น เมืองคูบัว เมืองศรีเทพ เมืองฝ้าย เมืองพิมาย และเมืองปัตตานี เป็นต้น
• แสดงภาพเขียนพาโนรามา หุ่นจำลองของเมืองศรีเทพ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นชุมชนที่นับถือศาสนาฮินดูมาก่อน ได้พัฒนาขึ้นใหญ่โตมีคูน้ำคันดินล้อมรอบขนาดใหญ่ มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ที่เป็นพุทธขึ้นกลางเมืองที่เรียกว่า คลังใหญ่ ทางด้านตะวันตกของเมืองศรีเทพมีเขาศักดิ์สิทธิ์ชื่อ เขาถมอรัตน์ มีถ้ำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเทวรูปพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน รวมทั้งแสดงให้เห็นเส้นทางคมนาคมจากเมืองโบราณในเขตจังหวัดชัยนาทมานครสวรรค์ ผ่านเขาถมอรัตน์มาแวะที่ศรีเทพ ก่อนเดินทางต่อไปยังบ้านเมืองในที่ราบสูงโคราช
• แสดงภาพโบราณวัตถุในคติมหายานที่พบในเขตพิมายและบุรีรัมย์ เช่น พระเศียร พระกร และพระชงค์ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่พบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง และเทวรูปพระโพธิสัตว์ที่พบในกรุเขาปลายบัต จังหวัดบุรีรัมย์
• แสดงบ้านเมืองสมัยศรีวิชัยในภาคใต้ อันได้แก่ ไชยาและปัตตานี โดยเฉพาะปัตตานีนั้น แสดงให้เห็นผังของเมืองและศาสนสถานในเขตอำเภอยะรัง อันเป็นบริเวณที่เคยเป็นเมืองสำคัญของรัฐลังกาสุกะ
• แสดงการแพร่หลายของพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในลัทธิศาสนามหายานที่พบตามท้องถิ่นต่างๆ ในภาคใต้

ถึงสยามประเทศ

 ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อำนาจทางทะเลของศรีวิชัยเสื่อม เพราะเกิดการรบพุ่งกับพวกโจฬะจากอินเดียใต้ ผู้เป็นคู่แข่งในการค้าทางทะเลเหมือนกัน ในขณะเดียวกันทางจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของศรีวิชัยก็หันไปค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองต่างๆ ที่เป็นแหล่งสินค้า โดยไม่ต้องให้ศรีวิชัยเป็นคนกลางที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผูกขาด โดยเฉพาะการค้าทางตรงของจีนนี้ ได้ทำให้เกิดการค้าขายของคนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เกิดบ้านเมืองใหม่ๆ ขึ้นมาก ทั้งมีการรวมตัวกันเป็นรัฐใหญ่ๆ ที่มีอำนาจในพื้นแผ่นดินใหญ่ขึ้นมาหลายแห่ง ที่สำคัญก็คือ กัมพูชาและพุกาม ต่างก็มีฐานะเป็นอาณาจักร
 กัมพูชาเกิดขึ้นแทนที่รัฐเจนละเดิมในลุ่มแม่น้ำโขง มีราชธานีสำคัญอยู่ที่เมืองพระนคร ในขณะที่พุกามอยู่ทางตะวันตก พัฒนาขึ้นแทนรัฐพยู่ ที่มีเมืองศรีเกษตรเป็นศูนย์กลาง อาณาจักรพุกามริมฝั่งแม่น้ำอิรวดีตอนบน
 ในดินแดนประเทศไทยซึ่งอยู่ขนาบด้วยกัมพูชาและพุกามนั้น รัฐเดิมที่เคยใหญ่โตมาก่อน คือ นครชัยศรีและทวารวดีลดความสำคัญลง อันเนื่องมาจากมีการเคลื่อนไหวของผู้คนจากภายนอกและภายในที่มีการขยายตัวทางการค้า ทำให้มีการสร้างบ้านแปลงเมืองกันขึ้นมากมายหลายแห่ง รวมทั้งมีการรวมตัวกันเป็นนครรัฐใหม่ๆ ที่มีความสำคัญอยู่ที่เมืองใหญ่ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ปัตตานี สุพรรณภูมิ ละโว้ สุโขทัย หริภุญไชย โยนก เวียงจันทน์ เป็นต้น หลักฐานจากศิลาจารึกสุโขทัยและจดหมายเหตุจีน ชี้ให้เห็นว่า นครรัฐเหล่านี้มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มสยามที่จีนเรียกว่า เสียมก๊ก และกลุ่มละโว้หรือ หลอฮกก๊ก
 ละโว้นับเนื่องเป็นปริมณฑลของอาณาจักรกัมพูชา แต่กลุ่มสยามเป็นอิสระและกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั้งเหนือใต้และตะวันตก ที่คนภายนอกมักเรียกพื้นที่นี้ว่า สยามเทศะ หรือ สยามประเทศ และผู้คนที่อยู่ต่างเมืองแต่อยู่ในดินแดนเดียวกันว่า ชาวสยามหรือเสียม
 แต่เหนืออื่นใด ความสำคัญของสยามนั้นหาใช่อยู่ที่พื้นที่หรือดินแดนแต่เพียงอย่างเดียว หากอยู่ที่มีผู้คนหลายชาติพันธุ์จากภายนอกได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ทำให้ดินแดนประเทศไทยที่มีมาแต่สมัยทวารวดี-ศรีวิชัย มีผู้คนเพิ่มขึ้น และมีเมืองใหญ่น้อยเกิดขึ้นมากมายนั่นเอง
 กลุ่มคนจากภายนอกที่เคลื่อนย้ายเข้ามานั้น ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนและเคลื่อนมาทั้งทางบกและทางทะเล การเข้ามามีทั้งตั้งหลักแหล่งเป็นบ้านเมืองใหม่และผสมผสานกับผู้คนตามบ้านเมืองเก่าที่มีอยู่แล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ช่วงเวลาด้วยกัน
 ช่วงแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นการเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจการเมืองของอาณาจักรเมืองพระนคร เมืองราชธานีกลายเป็นศูนย์กลางนานาชาติและมีปริมณฑลกว้างขวางอันเนื่องจากบรรดาบ้านเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายนอกสวามิภักดิ์ ทำให้ดีราชอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โต และมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกษัตริย์ผู้ครองราชอาณาจักรกับกษัตริย์เจ้านครรัฐใหญ่น้อยอย่างใกล้ชิด ดังเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์เมืองพระนครกับกษัตริย์เมืองละโว้ ในขณะที่บรรดากษัตริย์ผู้ครองนครรัฐในสยามประเทศมีลักษณะยืดหยุ่น บางเมืองเช่นหริภุญไชยใกล้ชิดกับพุกาม สุโขทัยแม้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเมืองพระนครแต่ก็มีความใกล้ชิดทางเศรษฐกิจกับพุกามมากว่านครรัฐอื่นๆ เช่น สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราช มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอิสระกว่า อันเนื่องมาจากมีการค้าขายทางทะเลโดยตรงกับจีน ความเป็นอิสระดังกล่าวนี้ได้ทำให้มีการเคลื่อนไหวของผู้คนจากภายนอก โดยเฉพาะจากตอนใต้ของประเทศจีนเคลื่อนย้ายลงมาตามเส้นทางการค้าเข้ามาทั้งค้าขายและตั้งถิ่นฐาน ทำให้เกิดบ้านเล็กเมืองน้อยเพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนย้ายของผู้คนในยุคนี้มีจำนวนมากและหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่ทำให้เกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นในสุวรรณภูมิทั้งหมดก็ได้
 โดยเฉพาะสยามประเทศนั้น เมืองใหม่และคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมายกว่าที่อื่น อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่มาทั้งทางบกและทางทะเล การปรากฏตัวของคนรุ่นใหม่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์นั้นแลเห็นได้ชัดเจนในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั่นคือ การเกิดกลุ่มอำนาจใหม่ขึ้นมาแทนที่กลุ่มเก่า ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนราชวงศ์ของกษัตริย์และการหมดความสำคัญของเมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรใหญ่ เช่น พุกามและเมืองพระนคร และเมืองที่เป็นนครรัฐ เช่น ละโว้ หริภุญชัย นครศรีธรรมราช เป็นต้น การแพร่หลายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ที่เห็นได้จากรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมของศาสนสถานตามเมืองสำคัญๆ ต่างๆ โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์และการเกิดตำนานพงศาวดารที่กล่าวถึงการสร้างพระบรมธาตุและเมืองโดยกษัตริย์ในตำนาน
 กษัตริย์ในตำนานดังกล่าวนี้อาจจะมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมาสร้างขึ้นให้เป็น ผู้นำทางวัฒนธรรม [culture hero] เพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาคที่เป็นบรรพบุรุษของพวกตน ซึ่งนับเนื่องเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีรากเหง้ามาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา อาจกล่าวได้ว่า หลักฐานจากภายในที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของผู้คนในพื้นที่สยามประเทศตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมานั้นไม่มีหลักฐานทางเอกสารรองรับ หากเป็นเรื่องของการจดจำแล้วเล่ากันลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จึงมีการรวมมาบันทึกเป็นตำนานพงศาวดารขึ้น และดูเหมือนสิ่งสำคัญที่น้ำหนักมากกว่าสิ่งอื่นก็คือ เรื่องของภาษาที่ใช้กันในบรรดาคนหมู่มากทั้งเก่าและใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากภาษาเดิมๆ ที่มักเป็นภาษาบาลีสันสกฤต มอญและเขมร มาเป็นภาษาไทย จนทำให้เกิดความเข้าใจกันอย่างผิดๆในปัจจุบันว่า ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติไทที่อพยพลงมาจากตอนใต้ของประเทศจีน แล้วเข้ามามีอำนาจแทนชนชาติเก่าที่เคยมีอำนาจในสุวรรณภูมิและสยามประเทศมาก่อน ดังนั้น การที่คนในดินแดนสยามหรือประเ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

ผลลัพธ์ 21 to 30 of 30