Showing 1166 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

บัตรเชิญ นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

บัตรนิทรรศการ เครื่องรางของขลัง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 1

หางเครื่อง 1

วงดนตรีลูกทุ่งในปัจจุบันถือว่าหางเครื่องมีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และมีการแข่งขันสูงทางด้านความสวยงามวิจิตรตระการตา ในระยะแรกเพลงลูกทุ่งยังไม่มีหางเครื่องเหมือนดังเช่นปัจจุบัน หางเครื่องในอดีตหมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก แทมบูรีน ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ด้านหลังของวงดนตรี เนื่องจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรก ใช้เวลา 3 - 4 ชั่วโมง มีรีวิวประกอบเพลงไม่มากนัก จึงให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะให้จังหวะต่างๆ ประกอบการร้อง ของนักร้องหน้าเวที และช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น เรียกกันว่า "เขย่าเครื่องเสียง" หรือ "เขย่าหางเครื่อง"

Results 121 to 140 of 1166