Showing 1166 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด เรื่องหนักหัว

สูจิบัตร นิทรรศการเบาเบากับนานาประดิษฐกรรมสวมกบาล

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

image 01

นิทรรศการเรื่องหนักหัว นิทรรศการเบาๆ กับนานาประดิษฐ์กรรมสวมกบาล” เป็นนิทรรศการที่จะเชิญชวนทุกท่านเข้ามาค้นหาความเป็นไทย เปิดมุมมอง เรื่องราว และความเป็นมาเป็นไปของผู้คนที่อาศัยอยู่กันบนดินแดนสุวรรณภูมิในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่องด้วย หมวก และเครื่องประกอบศีรษะต่างๆ ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่หลายๆ อย่างได้กลายมาเป็นธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการรับเอาวัฒนธรรมและอิทธิพลในเรื่องของหมวกจากต่างประเทศตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เรื่องของหมวกจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนคนไทยในห้วงเวลาและแง่มุมต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว

บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้

ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร

สืบจากส้วม : โลกของส้วม

ส้วมไม่ใช่เรื่อง “ขี้ ๆ” มาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาเมื่อล้านปีที่แล้ว เพราะมนุษย์ทั้งโลกต่างคิดใคร่ครวญหาส้วมที่ “ดีที่สุด” มากำจัดอึ ก่อนที่อึจะย้อนมากำจัดเรา

คนไทยก็เหมือนกัน เรามีส้วมหลายแบบ ตั้งแต่การอึในทุ่งนาแบบใกล้ชิดธรรมชาติ การอึแบบลดกลิ่นโดยส้วมไฮเทคจากเมืองแขก หรือการอึแบบ “เทพ” ของชนชั้นปกครอง รวมไปถึงการอึใส่ถังสำหรับคนเมืองรุ่นแรกที่ยืมความคิดมาจากคนจีน ฯลฯ

ส้วมมากมายขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความหลากหลายของกลุ่มคนให้เราหยิบยืมความคิดมาปรับใช้และสูดดม

สืบจากส้วม : เปิดตัวเทศบาลเพื่อนยาก

เทศบาลเอ๋งกับเทศบาลอู๊ด
สำหรับคน “ไปทุ่ง” หรือคนที่คิดจะอึในบางมุมของเมือง ก่อนจะนั่งลงหย่อนต้องกวาดตาให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีเจ้าเพื่อนยากสี่ขาสองชนิด คือ น้องหมูและน้องหมา ที่อาจเข้ามารบกวนความสงบ เพราะ อึ คือ อาหารโปรดของมัน

เทศบาลใต้บาดาล
สำหรับคน “ไปท่า” และคนที่อยู่ในเรือนแพ น่าจะหาความสงบได้ง่ายหน่อยตรงที่เทศบาลอย่างปลาแขยงจะซุ่มคอย “เหยื่อ” อยู่ที่ผิวน้ำจนเมื่อ “อาหาร” ตกลงมานั่นแหละ มันจึงเริ่มปฏิบัติ “ตอด” แบบไม่ให้เหลือซากเหลือกลิ่นเลยทีเดียว

สืบจากส้วม : ส้วมเจ้ามาจากไหน

ส้วมเจ้ามาจากไหน

เมื่อเรารับแนวคิด “เทวราชา” จากความเชื่อฮินดูที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ มาใช้กับการปกครองบ้านเมืองของสยาม การปฏิบัติกับพระราชาจึงต้องกระทำด้วยความพิเศษ มีพิธีกรรมและพิธีรีตองมากมายเพื่อให้สมสถานะและพระเกียรติยศ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูล เพราะถึงแม้จะเป็น อึ ก็เป็น “อึ” ของพระนารายณ์

อึ กับ พระราชา
อึ ในการรับรู้ของคนละกลุ่มย่อมแตกต่างกันไป สำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระมหากษัตริย์แล้ว อึ ถือเป็นเรื่องอัปมงคล คติความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นในธรรมเนียมการปฏิบัติประการหนึ่ง คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องผลัดผ้านุ่งลายสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นผ้าชนิดอื่นก่อนเข้าห้องพระบังคน (ห้องน้ำ) เพราะถือกันว่าสัตว์ป่าหิมพานต์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามคติเทวราชา หากต้องเข้าใกล้อึ ก็อาจทำให้เกิดความมัวหมอง

สืบจากส้วม : “นางใน” กับ “อุโมงค์”

”นางใน” กับ “อุโมงค์”

ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง มีข้าราชบริภารที่เป็นหญิง ซึ่งเรียกว่า “นางใน” อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องสร้างสถานที่ขับถ่ายไว้โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า “อุโมงค์” จากคำบอกเล่า มี 4 สมมุติฐาน เกี่ยวกับอุโมงค์ดังนี้

สมมติฐานที่ 1
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์
ที่ตั้ง ริมแม่น้ำ นอกกำแพงวัง
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนน้ำ

“อุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่ออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่าง พุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน เพราะถ่ายลงในแม่น้ำ”

สมมติฐานที่ 2
สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ระหว่างกำแพงวังชั้นในและชั้นนอก
ระบบที่ใช้ ถ่ายบนดิน

อุโมงค์สมัยต้นรัชกาลที่ 5 น่าจะตั้งอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในของพระบรมมหาราชวัง การไปอุโมงค์นั้น สาวชาววังจะใช้ประตูกำแพงชั้นในที่เจาะเฉพาะ มีโขลนหรือทหารหญิงเฝ้าทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นทางฉนวน คือเป็นกำแพงสูงตลอดทั้งสองข้างป้องกันการหลบหนี ส่วนการขับถ่ายในอุโมงค์สมัยนี้ ควดว่าจะเป็นการนั่งถ่ายบนดิน

สมมติฐานที่ 3
สมัย รัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงร่อง ด้านล่างเป็นท่อระบายออกแม่น้ำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 “ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณหนาทึบ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งขึ้นไปรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชบานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆกับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานที่เปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆกัน คราวละหลายๆคน มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออก ให่ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

สมมติฐานที่ 4
สมัย ปลายรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง ภายในกำแพงวังชั้นในด้านทิศตะวันตก
ระบบที่ใช้ ถ่ายลงถังเท

ต่อมาเพื่อความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ คืออุโมงค์ที่บรรยายไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นอุโมงค์ทึบพุ่งยาวออกจากกำแพงวังมีปากทางเข้า อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ ใกล้ประตุศรีสุดาวงศ์ อุโมงค์ที่สร้างในสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถว สำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย

ล้อเกวียน

ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก

ระหัดชกมวย

ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : เครื่องสีฝัด และเครื่องสีมือ

เครื่องสีฝัด

ช่วยแยกแกลบและเศษผงออกจากข้าวเปลือก เมื่อเราหมุนเครื่องสีฝัด เราจะหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเฟืองตัวเล็กที่ใช้ขับเคลื่อนใบพัดทำให้เกิดลมที่จะพัดเอาวัตถุมวลเบา เช่น เศษฝาง แกลบ แล้วข้าวลีบแยกออกไปจากข้าวเปลือกที่จะร่วงลงสู่ท้องเครื่อง เครื่องสีฝันช่วยให้ชาวนาฝัดข้าวได้ทีละมากๆ แทนการใช้กระด้งกับพัด

เครื่องสีมือ

ใช้สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร มีลักษณะเป็นภาชนะสานคล้ายกระบุงสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่ต้องการสีที่ด้านบน ก้นกระบุงจะโหว่เพื่อสวมครอบลงบนแป้นหมุนไม้สองชิ้นที่วางซ้อนกัน ด้านบนของแป้นหมุนชิ้นบนใส่ดินเหนียวเพื่อเพิ่มแรงกดบนแป้นชิ้นล่าง ด้านข้างเสียบเดือยไม้เชื่อมต่อกับไม้คานด้วยข้อต่ออิสระ มีมือจับที่ปลายคานซึ่งแขวนจากเพดานเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักคานไว้ เมื่อเราออกแรงผลักมือจับไปข้างหน้า คานจะช่วยหมุนแป้นหมุน ก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างแป้นไม้ทั้งสองที่บากร่องไว้ที่พื้นผิวด้านใน ช่วยขยี้ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าวแล้วร่วงตกลงบนกระบะที่รองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อเราหมุนไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ทำให้เกิดแรงหมุนกลับมาได้เองทำให้เราไม่ต้องออกแรงดันมาก กลไกแบบนี้เรียกว่า “ข้อเหวี่ยง”

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว

เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม

Results 1081 to 1100 of 1166