Showing 67 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
ระดับชุด
Print preview View:

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย (Decoding Thainess)

นิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย นำเสนอพัฒนาการความเป็น ไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวในมิติต่าง ๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของนิทรรศการอยู่ที่รูปแบบการนำเสนอและการเล่าเรื่องผ่านเรื่องราว วัตถุจัดแสดง ที่ปัจจุบันทันสมัย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพื่อชวนให้ผู้เข้าชมสามารถผูกโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบด้วย 14 ห้องนิทรรศการ ได้แก่

  • ห้องที่ 1 ห้องไทยรึเปล่า? : นำเสนอประเด็นคำถาม โดยหยิบยกกรณีตัวอย่างปรากฏการณ์ “ความเป็นไทย” ที่เป็นข้อถกเถียงในสังคม อาทิ เลดี้กาก้าสวมชฎา ชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์ส นักแสดงหน้าฝรั่งเล่นละครไทย เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าตั้งคำถามถึงความเป็นไทยรอบตัว ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ว่าแท้จริงแล้ว อะไรคือความเป็นไทย

  • ห้องที่ 2 ห้องไทยแปลไทย : ห้องจัดแสดงที่เต็มไปด้วยตู้โชว์ ลิ้นชัก ที่ภายในบรรจุวัตถุจัดแสดง นำเสนอประเด็นสิ่งของความเป็นไทยในแต่ละยุคสมัย ให้ผู้เข้าชมมาเรียนรู้และค้นหา “ความเป็นไทย” ในสิ่งของเหล่านั้นที่ส่งผลถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในปัจจุบัน

  • ห้องที่ 3 ห้องไทยตั้งแต่เกิด : โชว์การพัฒนาการความเป็นไทย ที่นำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และสิ่งแสดงความเป็นไทยในสมัยต่างๆ 9 ยุคสมัย ผ่านเทคโนโลยีโมดูลไฮดรอลิก เสียงบรรยาย และกราฟิก ที่ถูกนำมาใช้ในนิทรรศการครั้งแรกของไทย

  • ห้องที่ 4 ไทยสถาบัน : นำเสนอแก่นแนวคิดเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3 สถาบันหลัก ที่สะท้อนรูปแบบการแสดงออกของความเป็นไทย ผ่านเทคโนโลยีเออาร์ ออกแบบคล้ายเกมส์จิ๊กซอว์ ที่ผู้ชมสามารถประกอบคิวบิกบนโต๊ะกลางห้อง และภาพจำซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็น ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงผล

  • ห้องที่ 5 ห้องไทยอลังการ : ภายในจำลองบรรยากาศของท้องพระโรงและพระที่นั่ง เพื่อแสดงถึงสุนทรียะ ความงดงามของสถาปัตยกรรม และงานหัตศิลป์ไทย รวมถึงสะท้อนความหมาย ความศรัทธา คติฮินดู และความเชื่อพุทธศาสนา ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นศูนย์กลางของประชาชน

  • ห้องที่ 6 ห้องไทยแค่ไหน : นำเสนอความเป็นไทยผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จัดแสดงด้วยหุ่นเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆ วางกระจายอยู่บนฐานเกลียวก้นหอย จากสูงลงมาต่ำ เพื่อแสดงถึงสถานะและลำดับความเข้มข้นของความเป็นไทย

  • ห้องที่ 7 ห้องไทย Only : ห้องที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตาในชีวิตประจำวัน ที่เห็นแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นของไทยแน่นอน อาทิ พวงเครื่องปรุง ถุงหิ้วกาแฟผูกหนังยาง โครเชต์หุ้มหูกระเป๋าแบรนด์เนม มาม่าสารพัดรส รวมถึงไฮไลท์เด็ด คุณเอิบทรัพย์ หุ่นนางกวักยักษ์สูงกว่า 4 เมตร เป็นต้น ซึ่งสะท้อนบุคลิกภาพความเป็นคนไทยช่างประดิษฐ์ ปรับปรุง เพื่อนำไปแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

  • ห้องที่ 8 ห้องไทย Inter : นำเสนอประเด็นมุมมองความเป็นไทยของสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันในสายตาชาวไทยกับชาวต่างประเทศ อาทิ เรือสุพรรณหงส์คู่กับเรือหางยาว ผลไม้แกะสลักคู่กับผลไม้รถเช็น สำหรับอาหารชาววังคู่กับอาหารไทยดั้งเดิม สะท้อนมุมมองความเป็นไทย ที่ต้องการให้คนอื่นเห็น กับ สิ่งที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น

  • ห้องที่ 9 ห้องไทยวิทยา : ภายในจำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย ความเป็นไทยยุค 25000 ความเป็นไทยยุคโลกาภิวัตน์ และความเป็นไทยยุคพอเพียง ซึ่งสะท้อนความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่ถูกสอดแทรกไว้ผ่านการศึกษา แบบเรียน และบทเพลงแต่ละยุคสมัย

  • ห้องที่ 10 ห้องไทยชิม : ห้องครัวมีชีวิต ที่พาคุณไปเรียนรู้ที่มาของอาหารไทยขึ้นชื่อต่างๆ อย่าง ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ผัดไทย เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์สแกน พร้อมโมชันกราฟิกสีสันสวยงาม รวมถึงแผ่นพับรูปจาน ที่สอดแทรกเกร็ดความรู้อาหารเหล่านั้น บอร์ดกราฟิกชวนตั้งคำถามกับเมนูอาหารไทยที่มีชื่อต่างประเทศ อาทิ ขนมจีน ข้าวผัดอเมริกัน ขนมโตเกียว เป็นต้น

  • ห้องที่ 11 ห้องไทยดีโคตร : นำเสนอพัฒนาการของความเป็นไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอื่น อาทิ พระปรางค์วัดอรุณ ที่สุดของสถาปัตยกรรม ตัวอักษรไทย รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น ผ่านรูปแบบการนำเสนอด้วยภาพ ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เลเซอร์คัท 3 มิติ โซโทรป ฟลิปบุ๊ก เป็นต้น

  • ห้องที่ 12 ห้องเชื่อ : ห้องที่รวบรวมวัตถุด้านความเชื่อของเมืองไทย กว่า 108 สิ่ง ครอบคลุมทั้งความเชื่อเรื่อง ผี พุทธศาสนา พราหมณ์และความเชื่อแบบไทยๆ ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต พร้อมเวิร์กชอปความเชื่อให้ทดลองกันได้จริง อาทิ การทำนายโชคชะตา การเสี่ยงทายรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

  • ห้องที่ 13 ไทยประเพณี : ห้องจัดแสดงในรูปแบบโกดังเก็บของ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณี เทศกาล และมารยาท อันเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ใส่ไว้ในกล่อง ภายในมีเอกสารอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ภาพประกอบของจริงที่จับต้องได้ เล่นได้ และมีเกมที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวได้สนุกยิ่งขึ้น

  • ห้องที่ 14 ไทยแชะ : สตูดิโอถ่ายภาพ นำเสนอประเด็นความสำคัญของ ภาพถ่าย เป็นหลักฐานที่บ่งบอกความเป็นไทยและทำให้เรารู้จักผู้คน และบ้านในยุคสมัยต่างๆ ได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้ชมสามารถเลือกชุด เครื่องประดับ ฉาก และเครื่องประกอบฉาก สำหรับถ่ายภาพบันทึกความทรงจำไว้ได้ตามอัธยาศัย

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย

นิทรรศการสัญจร ชุด ผู้แทนฯ เมืองไทย
แนวคิดหลัก : เข้าใจพัฒนาการการเมืองไทย โดยผ่านบทบาทและภารกิจของผู้แทนฯ
นิยาม : ผู้แทนฯ ก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาชิกวุฒิสภา

  1. นิทรรศการ
    พื้นที่การจัดแสดง : 160 ตารางเมตร บริเวณอาคารรัฐสภา
    นิทรรศการสื่อผสม พร้อมเคลื่อนย้ายและติดตั้ง

เนื้อหา

ส่วนที่ 1 : ผู้แทนในสังคม การเมืองไทย
แสดงพัฒนาการของการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม

การนำเสนอ : Timeline ขนาดใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของการเมืองเลือกตั้ง ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างของนิทรรศการการสะท้อนให้เห็นบรรยากาศในแต่ละยุคไปพร้อมกันด้วย โดยแต่ละช่วงจะสอดแทรกวัตถุสิ่งของ ไปพร้อมกัน

ข้อมูลหลัก : การเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ การรัฐประหาร พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี การวางเงินสมัครับเลือกตั้ง เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ
บริบทที่เกี่ยวข้อง : จำนวนประชากร ตัวเลขงบประมาณ ฯลฯ
เหตุการณ์อื่น ๆ : ประกวดนางสาวไทย เลิกกินหมาก ประกาศวันชาติ รัฐนิยมฉบับต่าง ๆ ญี่ปุ่นบุก น้ำท่วมกรุงเทพปี 85 ทีวีออกอากาศครั้งแรก ไฮด์ปาร์คสนามหลวง ประท้วงเลือกตั้งสกปรก ยกเลิกการจำหน่ายฝิ่น เริ่มต้นยุคพัฒนา ถนนมิตรภาพ อาภัสราได้นางงามจักรวาล ไทยจัดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรก มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต คดีนวลฉวี พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิค ยิงดาวเทียมไทยคม มือถือเครื่องแรก ฯลฯ

ส่วนที่ 2 : กว่าจะเป็นสภาผู้แทน
แสดงให้เห็นว่ากระแสเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาและมีผู้แทนมีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เช่น คำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ของข้าราชการและเจ้านาย , บทความ “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ของเทียนวรรณ ปัญญาชนสามัญชน ที่เรียกร้องให้ตั้ง “ปาลิเมนต์ ให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่รัฐบาลได้” , การเตรียมการปฏิบัติการของคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งแม้ว่าจะมิสำเร็จแต่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 20 ปีต่อมา โดยสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริ์เป็นประมุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การนำเสนอ : ภาพแผนที่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 ขนาดใหญ่ แทรกด้วยภาพผู้แทนไทยสมัยแรก และปาฐกถาผู้แทนสมัยแรกแต่ละจังหวัด

ส่วนที่ 3 : เกร็ดการเมือง
นำเสนอเนื้อหาและบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยผ่านการหยิบยกเกร็ดการเมืองมานำเสนอ พร้อมอธิบายบทบาทและความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ

3.1  ที่สุดของสภาผู้แทนแต่ละชุด
สภาชุดที่อายุยืนที่สุด
สภาชุดที่อายุสั้นที่สุด
สภาชุดที่ใช้นายกเปลืองที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายมากที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายน้อยที่สุด
ฯลฯ

3.2 ที่สุดแห่งกระทู้/ญัติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทู้ที่นำไปสู่การล้มรัฐบาล
การอภิปรายที่นานที่สุด
ญัตติที่ไม่เคยได้อภิปราย
ญัตติที่ไม่เคยลงคะแนน
ฯลฯ

3.3 หนึ่งเดียวคนนี้
คัดเลือกผู้แทนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส.ส. เสียงดีที่สุด สุเทพ วงศ์คำแหง ส.ส. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประไทย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

3.4 เกมส์จับคู่ผู้แทน
สากกระเบือ , ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง, ปลาไหล, ควาย ฯลฯ กับ เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ ไพฑูรย์ วงษ์พานิช

3.5 แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
เกมให้ทายบวกรางวัล สลับกับเทปแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย

การนำเสนอ : จัดจำลองในรูปแบบงานวัด

ส่วนที่ 4 : ผู้แทนในสื่อ
นำเสนอสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ผู้แทนผลิตเองและคนภายนอกผลิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการความคิด ของแต่ละยุคสมัยที่มีผู้แทนในแต่ละยุค

4.1 มองการเมืองไทยผ่านโปสเตอร์หาเสียง /เชิญชวนเลือกตั้ง
นำเสนอโปสเตอร์เตอร์หาเสียงยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

การนำเสนอ : จัดแสดงโดยการทำเป็นแกลลอรีภาพโปสเตอร์

4.2 มองผู้แทนผ่านหนังไทย
จัดฉายภาพยนตร์ไทยที่มีฉากสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. เช่น ผู้แทนนอกสภา เวลาในขวดแก้ว ฯลฯ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ ส.ส. เป็นอย่างไรเมื่อสื่อผ่านภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังจะมีการฉายเทปการการเสียงในยุคก่อนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กฉายภาพยนตร์สลับสารคดี

4.3 มองผู้แทนผ่านเสียงเพลง
คัดเลือกเพลงที่พูดถึงผู้แทนในแต่ละยุค รวมทั้งเทปหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นตู้เพลงให้ผู้ชมเลือกฟัง

ส่วนที่ 5 : ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
รวบรวม/แยกประเภท หนังสือ เอกสาร ที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ สนใจการเอมืองไทยอ่านเล่มไหนดี

การนำเสนอ : จัดทำเป็นซอฟแวร์แอคทีฟค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์

ส่วนที่ 6 : ประชาชนกับผู้แทน
นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังสมารถทำอะไรกับผู้แทนได้อีก เช่น เข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อถอดถอน
การนำเสนอ : บอร์ดนิทรรศการ

  1. หนังสือประกอบงาน
    จัดทำหนังสือประกอบงานโดยนำเนื้อหาประกอบด้วย

    • ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
    • บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรกับสังคมการเมืองไทย (เนื้อหารส่วนหนึ่งจากนิทรรศการ)
    • แหล่งอ้างอิงเอกสารสำคัญ
  2. วีซีดี นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย”
    จัดทำ นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย” ลงในรูปแบบ วีซีดี อินเตอร์แอคทีฟ ประกอบกับหนังสือ

นิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด (พ.ศ. 2559)

นิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชิด
ตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคม การกระจายความเจริญ และที่สำคัญคือ สังคมจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เพื่อการทำความเข้าใจอาเซียนในมิติของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ควรจัดสร้างสรรค์นิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถนำเสนอมุมมองของการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง โดยพิจารณาว่า พม่า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ปรับด้วยมายาคติทางประวัติศาสตร์มาเป็นโมเดลการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับพม่า ประกอบกับปัจจุบันมีประชากรจากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว “พม่า” ที่หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเด่นชัด ทำให้ชาวพม่ามีส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงานเหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงานขึ้นทะเบียนเหล่านี้แล้ว ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวทำงานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย ตลอดจนคุณูปการของชาวพม่าต่อสังคมไทยอย่างข้ามกรอบอคติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความเคารพซึ่งกัน นอกจากนี้การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ยังจะเป็นภาพสะท้อนช่วยให้เข้าใจ “คนไทย” มากยิ่งขึ้นด้วย
นิทรรศการ “พม่าระยะประชิด” นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จากการลงภาคสนาม พร้อมนำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าชมมีความเข้าใจนิทรรศการมากขึ้น กิจกรรมเสวนาประวัติศาสตร์พม่าที่หายไป, กิจกรรมละครเวทีโดยนักแสดงที่เป็นเด็กชาวพม่า, การแสดงหุ่นกระบอกพม่า สถาบันฯ ในฐานะที่เป็นองค์การที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่านิทรรศการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพม่าซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว นิทรรศการนี้ยังสามารถให้แนวความคิดเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนของสังคมและการเปิดใจกว้างในการทำความรู้จักผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชัด เพื่อให้ผู้ชมตระหนักและเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาค ซึ่งกำลังจะเกิดปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในอนาคตอันใกล้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สถานที่จัดนิทรรศการ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เนื้อที่โดยรวม 246 ตร.ม.
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ มีนาคม – มิถุนายน 2559 (4 เดือน)

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

นิทรรศการ ชุด สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)

สูจิบัตร นิทรรศการ สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)
วันที่ 15 กรกฎาคม - 27 ตุลาคม 2562
เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการเสนอเรื่องราวของการสักและอุปกรณ์ งานศิลปะจากศิลปิน ชาติพันธุ์ ภาพถ่าย ตำนานและสารคดี

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก - เขียนไม่ได้ – นึกไม่ถึง (พ.ศ. 2554)

นิทรรศการ ชุด เลขไทย: รู้จัก- เขียนไม่ได้- นึกไม่ถึง จัดทำโดยเยาวชนทีมเลขเด็ดที่ชนะเลิศจากโครงการ ปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ ๑ (Young Muse Project) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มิวเซียมสยาม

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile)

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ชุดแรก ที่จัดสร้างขึ้นในปี 2551 พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มอบหมายให้ฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีนายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ

โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่ ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 ติดตั้งและจัดแสดงที่จังหวัดลำปางเป็นแห่งแรก

นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)

กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้

นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

นิทรรศการ ชุด ชาย หญิง สิ่งสมมุติ (พ.ศ. 2561)

นิทรรศการ ชายหญิงสิ่งสมมุติ ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ (Gender Illumination)
วันที่ 2 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2561 เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีการจัดแสดงเรื่องราวและข้าวของจากปัจเจกชน สร้างการรับรู้ สร้างความเท่าทันต่อความเป็นไปร่วมสมัย

ผลลัพธ์ 1 to 20 of 67