Showing 67 results

Archival description
Series
Print preview View:

ภาพถ่ายงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ (3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ วันที่ 3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ ห้องสัมมนาโรงแรมรอยัลซิตี้ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เวลา 09.00 น. - 17.30 น.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ( สพร. ) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ ” โดยมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศร่วมบรรยายในหัวข้อ “ Museum in the Modern World ” โดย ELAINE GURIAN ซึ่งเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของพิพิธภัณฑ์ในยุคโลกไร้พรมแดน , “ Validating the Narrative Based Museum ” โดย KENNETH GORBEY ซึ่งจะมีกล่าวถึงแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการสะสมวัตถุเพื่อจัดแสดง มาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องราวจากวัตถุเหล่านั้น และ “ Interpretive Design in a Museum Context ” โดย DESMOND FREEMAN จะกล่าวถึงการพัฒนาเนื้อหาและเค้าโครงเรื่องของนิทรรศการให้กลายมาเป็นนิทรรศการที่เป็นรูปธรรม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร? รวมถึงเคล็ดลับและขั้นตอนในการสร้างสรรค์และเลือกใช้สื่ออันหลากหลายมาผนวกกับข้อมูลเชิงวิชาการ เพื่อทำการสื่อสารเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปแบบของการจัดชุดนิทรรศการ ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ รูปแบบและเนื้อหาจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กับกลุ่มนักออกแบบนิทรรศการ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้กำลังประสบอยู่ เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการนำเสนอประเด็นในการพัฒนาและสร้างสรรค์นิทรรศการ ( Exhibition Development ) , การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ( Museum Management ) , เทคนิคในการออกแบบชุดนิทรรศการ ได้แก่ งานด้าน แสง สี เสียง ( Lighting , Media , Audio Visual ) , การจัดทำแผ่นป้ายคำบรรยาย และการจัดเส้นทางเดินชมชุดนิทรรศการ ( Captions and Exhibition Traffic ) ทั้งนี้กลุ่มนักออกแบบนิทรรศการและกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ จะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างถูกวิธีจากผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดนิทรรศการ รวมถึงการพัฒนาโครงเรื่องและเนื้อหาการศึกษางานพิพิธภัณฑ์ ( Education ) และการนำเทคนิคใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบนิทรรศการได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและน่าสนใจในต่างประเทศ ผ่านประสบการณ์จริงในด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และการพัฒนาออกแบบ จัดสร้างนิทรรศการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์มากที่สุด

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia)

วันที่ 20-29 ตุลาคม 2548 บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้จัดนิทรรศการ ชุด เส้นทางสู่รัสเซีย (Passage to Russia) เพื่อแสดงประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซีย ซึ่งยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องในวโรกาสวันปิยะมหาราช และการเปิดเส้นทางบินใหม่สู่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย ของการบินไทย โดยนิทรรศการ "้เส้นทางสู่รัสเซีย" จัดขึ้น ณ ชั้น G เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง นำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนในสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดเป็นระบบความเชื่อที่ค่อน ข้างซับซ้อนและฝังแน่น ระบบความเชื่อเหล่านี้สามารถแสดงออกมาในรูปของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเรื่องของความงมงาย แต่ความเชื่อเหล่านี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

กิจกรรม BANGKOK EDGE บางกอกแหวกแนว

กิจกรรม BANGKOK EDGE บางกอกแหวกแนว Bangkok's First Ideas Festival
วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 12.00 - 23.00 น.
กิจกรรมประกอบไปด้วย

  1. กิจกรรมเสวนา
  2. กิจกรรม Workshops
  3. กิจกรรม เปิดตัวหนังสือและภาพยนตร์
  4. กิจกรรม สำหรับเด็ก
Results 21 to 40 of 67