Showing 1166 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า

เอกสารโครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในมุมมองใหม่

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด Ola Siao 500 ปี ไทย-โปรตุเกส

สูจิบัตร 500 ปี ไทย-โปรตุเกส ปฏิบัติการสุดขอบฟ้า เพื่ออำนาจ เงินตรา หรือศรัทธาแห่งพระเจ้า?

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก

เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน

สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ

สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่

สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย

น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
  • น้ำ 15 ลิตร
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • รำข้าว 150 กรัม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร

ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง

ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา

ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา

ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวป่า

ข้าวป่า เป็นข้าวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะพบเห็นในลำคลองข้าง ๆ ทาง ในแอ่งน้ำริมแปลงข้าวปลูกหรือในแปลงข้าวปลูก ชื่อข้าวป่าอาจถูกเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า หญ้าข้าวนก ภาคกลางเรียกข้าวละมาร หรือ หญ้าละมาน เป็นต้น

จากข้าวป่าที่สำรวจพบทั่วโลก 21 ชนิด พบว่า มีในประเทศไทย อย่างน้อย 5 ชนิด ข้าวป่าบางชนิดเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ปัจจุบัน มีการนำข้าวป่ามาทำประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ สาเหตุจากมนุษย์ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเกินไป ข้าวป่าเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ การขยายเมือง สร้างถนน สร้างเขื่อน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืช

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ

คันไถ

ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน

“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

โชงโลง

เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงยา

สูตรปรุงยา

ยาที่ข้าวต้องการมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “ยาบำรุง” และ “ยาป้องกันโรคและแมลง” โดยแทบจะไม่ต้องการยารักษาโรคเลยเพราะเมื่อเราบำรุงข้าวให้แข็งแรงตั้งแต่แรก ข้าวก็จะไม่เป็นโรคมาก ยาบำรุงนั้นจะทำจากของน่ากินทั้งนั้น อย่างไข่ไก่ นม กากน้ำตาล หรือแม้แต่นมเปรี้ยว ส่วนยาป้องกันโรคและแมลงก็จะเป็นของที่ไม่ค่อยอร่อยแต่มีประโยชน์อย่างพืชผักสมุนไพร หรือของที่มีพิษไปเลย เช่น เชื้อราต่างๆ ที่ช่วยฆ่าหนอนและแมลงได้ดี

ฮอร์โมนสูตรนมสด

  • นมพาสเจอร์ไรซ์ 5 ลิตร
  • กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
  • ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก
  • นมเปรี้ยวบีทาเก้น 1 ขวด (ขนาด 15 บาท)

หมักประมาณสามวันจนมีกลิ่นหอม แล้วกรองเอาแต่น้ำ 70 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ใช้ฉีดบำรุงข้าวเมื่อเริ่มแตกกอ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักพันธุกรรมศาสตร์ ผู้ปลุกปั้นดีเอ็นเอข้าว

คัด + ผสม = ข้าว x 1000d จะปลูกข้าวทั้งที เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ต้องเจ๋งจริงๆ ชาวนาให้ความสำคัญในการเลือกเฟ้นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับผืนนาของตน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง ปลูกง่าย รวมถึงยังต้องเก็บสต็อกข้าวไว้หลายๆพันธุ์ เผื่อเอาไว้ปลูกในกรณีฉุกเฉินที่สภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชาวโลก

นอกจากนี้ ชาวนายังเป็น “นักพันธุ์กรรมศาสตร์” อีกด้วย เพราะข้าวที่ปลูกจะค่อยๆกลายพันธุ์ไป จึงต้องทำการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเลือกเอาข้อเด่นของข้าวแต่ละพันธุ์มาผสมกันและปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นคัดเฉพาะต้นที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ มาปลูกซ้ำอีกแปดรอบ เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์แท้ ก่อนนำไปปลูกจริง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว

รู้ไหมว่า คนรุ่นก่อนคิดค้นพันธุ์ไว้ให้เรากว่า 60,000 ชนิด ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวมหาศาลนี้อย่างชาญฉลาด ชาวนาหนึ่งคนอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์ในคราวเดียวกัน เพราะนาหนึ่งผืน มีพื้นที่หลายลักษณะ แถมข้าวจะออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ทยอยเกี่ยวทีละแปลงได้ทันก่อนข้าวจะล้ม นอกจากนี้ชาวนาจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูกบ้างเพื่อลดการสะสมของโรคระบาด ผลพลอยได้ท้ายที่สุดจะอยู่ที่คนกินข้าว เพราะข้าวต่างพันธุ์ก็ให้สารอาหารต่างกัน ยิ่งกินข้าวหลากหลาย ก็ยิงแข็งแรง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย

ล้อเกวียน

ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก

ระหัดชกมวย

ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : เครื่องสีฝัด และเครื่องสีมือ

เครื่องสีฝัด

ช่วยแยกแกลบและเศษผงออกจากข้าวเปลือก เมื่อเราหมุนเครื่องสีฝัด เราจะหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเฟืองตัวเล็กที่ใช้ขับเคลื่อนใบพัดทำให้เกิดลมที่จะพัดเอาวัตถุมวลเบา เช่น เศษฝาง แกลบ แล้วข้าวลีบแยกออกไปจากข้าวเปลือกที่จะร่วงลงสู่ท้องเครื่อง เครื่องสีฝันช่วยให้ชาวนาฝัดข้าวได้ทีละมากๆ แทนการใช้กระด้งกับพัด

เครื่องสีมือ

ใช้สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร มีลักษณะเป็นภาชนะสานคล้ายกระบุงสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่ต้องการสีที่ด้านบน ก้นกระบุงจะโหว่เพื่อสวมครอบลงบนแป้นหมุนไม้สองชิ้นที่วางซ้อนกัน ด้านบนของแป้นหมุนชิ้นบนใส่ดินเหนียวเพื่อเพิ่มแรงกดบนแป้นชิ้นล่าง ด้านข้างเสียบเดือยไม้เชื่อมต่อกับไม้คานด้วยข้อต่ออิสระ มีมือจับที่ปลายคานซึ่งแขวนจากเพดานเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักคานไว้ เมื่อเราออกแรงผลักมือจับไปข้างหน้า คานจะช่วยหมุนแป้นหมุน ก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างแป้นไม้ทั้งสองที่บากร่องไว้ที่พื้นผิวด้านใน ช่วยขยี้ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าวแล้วร่วงตกลงบนกระบะที่รองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อเราหมุนไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ทำให้เกิดแรงหมุนกลับมาได้เองทำให้เราไม่ต้องออกแรงดันมาก กลไกแบบนี้เรียกว่า “ข้อเหวี่ยง”

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว

เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด และยาฆ่าหนอน

ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด สูตรสมุนไพร

  • ใบสะเดา เป็นวัตถุดิบหลักประมาณ 5 กิโลกรัม
  • ใบน้อยหน่า หรือใบน้อยโหน่ง ยอดต้นรัก ยอดสาบเสือ และเถามะระขี้นก อย่างละ 1 กิโลกรัม
  • เหล้าขาว 1 ขวดกลม
  • น้ำสมสายชู ครึ่งขวด

นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับหยาบๆ แล้วแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดแรกหมักกับเหล้าขาวและน้ำส้มสายชู ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจนน้ำเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง นำน้ำสมุนไพรที่ได้ไปเจือจางกับน้ำสะอาดอีก 5 ลิตร แล้วใช้ต้มกับสมุนไพรชุดที่สอง แล้วต้มสมุนไพรชุดที่สาม ด้วยขั้นตอนเดียวกัน รวม 3 ขั้นตอน ก็จะได้ยาไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูง

เวลาใช้ให้นำยา 50 ซีซี ไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวในระยะกล้าอายุ 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุก 10 วัน ไปจนกระทั่งข้าวออกรวงเข้าระยะน้ำนมจึงหยุดฉีด

ยาฆ่าหนอน สูตรเชื้อราทำมือ

ลุงชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนา ค้นพบว่าหนอนที่มากัดกินต้นข้าวนั้นตายเพราะเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อเอาลักษณะมาเทียบกับในหนังสือแล้วพบว่าตรงกับลักษณะของเชื้อโนมูเรีย จึงนำเอาหนอนที่ตายมาเพาะเชื้อราต่อด้วยการใส่นม กากน้ำตาล และตีออกซิเจนใส่ เวลาใช้กรองเอาแต่น้ำมา 100 ซีซี ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนแดดไม่จัดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราตาย

Results 121 to 140 of 1166