Showing 1163 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ With digital objects
Print preview View:

ไทยทำ...ทำทำไม : โปง

โปง

ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีฝัด

เครื่องสีฝัด

ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ

ไทยทำ...ทำทำไม : เสียงของไม่จำเป็น

สังคมที่เราอาศัยอยู่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยสิ่งต่างๆมากมาย ชิ้นเล็กบ้าง ชิ้นใหญ่บ้าง จำเป็นบ้าง เกินจำเป็นบ้าง และบางอย่างก็ถูกมองว่า “ไม่จำเป็น” อีกต่อไป ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครรู้จัก ถูกมองข้าม ถูกลืม ไม่มี “เสียง” ให้ได้ยินอีกต่อไป

ตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน เราปล่อยให้เสียงเหล่านั้นที่เคยกังวานในยุคสมัยของมัน ให้เงียบงันและหายไปกับกาลเวลา

ไทยทำ...ทำทำไม : เถร อด เพล

เถร อด เพล

ไม่ใช่ชื่อของสิ่งของ แต่เป็นเทคนิควิธีการ “เข้าไม้” ที่ใช้หลักการ สอด ขัด ล็อค ดูซับซ้อนและสวยงามสามารถต่อยอดไปใช้ประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงโครงศาลา

ไทยทำ...ทำทำไม : กะลากันมด

กะลากันมด

ทำจากกะลามะพร้าว เจาะรู ใช้ไม้เหลาสอดเข้าไปพอดีกับรูที่เจาะไว้ ถ้าไม่ถนัดดีชาวบ้านมักใช้ขี้ขะย้า (ยางไม้) อุดรู ปลายไม้ทั้งสองด้าน ใส่เหล็กเส้นยาวพอที่จะแขวนไว้ โดยด้านบนใช้แขวนกับเพดานหรือตะปู ด้านล่างใช้แขวนอาหาร เหล็กขอด้านล่าง จะสั้นกว่าด้านบน เวลานำอาหารมาแขวนถ้าต้องการใช้เก็บอาหารได้มากก็ใช้ตะกร้า หรือตะแกรงใส่อาหารแล้วนำไปแขวน การป้องกันมดจะทำได้โดยเติมน้ำลงในกะลา มดก็จะเข้าไปตอมหรือไปกัดกินอาหารไม่ได้ เพราะมีน้ำกั้นอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : สลากย้อม

สลากย้อม

สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการขนมไทย

รายการขนมไทย

  1. ห่อด้วยใบตอง

    • ขนมใส่ไส้
    • ตะโก้ (ขนมหางหนู)
    • ข้าวต้มมัด
    • ข้าวเหนียวสังขยา
  2. ห่อด้วยใบลาน

    • ขนมตาล
  3. ห่อด้วยใบเตย

    • ตะโก้
  4. ห่อด้วยใบจาก

    • ขนมจาก
    • ข้าวต้มมัดลูกโยน
  5. ห่อด้วยใบกะพ้อ

    • ข้าวเหนียวใบกะพ้อ
  6. ใส่ในต้นอ้อ

    • ข้าวหลามต้นอ้อ
  7. ใส่ในกระบอกไม้ไผ่

    • ข้าวหลาม
  8. ใส่ในกะลามะพร้าว

    • วุ้นในลูกมะพร้าว (วุ้นพรก)
  9. ใส่ในกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

    • ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว

ไทยทำ...ทำทำไม : ผ้าหมักโคลน

ผ้าหมักโคลน

ภูมิปัญญาที่มาจากความบังเอิญของชาวบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย เวลาออกไปทำนาแล้วสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้าส่วนล่างที่เปรอะเปื้อนโคลนเมื่อนำไปซักแล้วนิ่มกว่าผ้าส่วนบน บรรพบุรุษจึงคิดค้นกรรมวิธีการทำผ้าหมักโคลน เริ่มจากย้อมฝ้ายแล้วทอเป็นลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ แล้วนำมาหมักโคลนทิ้งไว้ 1 คืน ธาตุเหล็กในโคลนจะทำให้เส้นใยผ้าขยายตัว ได้ผ้าที่มีสีคุ่นลงแต่แลกมาด้วยความนุ่มเป็นพิเศษ แล้วค่อยนำไปย้อมสีทับ กลายเป็นนวัตกรรมสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อมา

ไทยทำ...ทำทำไม : เสื่อกกจันทบูร

เสื่อกกจันทบูร

งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชองชาวจันทบุรี คิดค้นขึ้นจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกกที่ขึ้นตามบริเวณน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่งทะเล มีเส้นใยหนาทนทานและรับภูมิปัญญาในการทอเสื่อมาจากกลุ่มแม่ชีคาทอลิคที่อพยพมาเมืองจันท์ ช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาชาวจันท์จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกอีกมากมาย จนมีชื่อเสียงจนถึงขั้นไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดจันทบุรี

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องแขวนดอกไม้สด

เครื่องแขวนดอกไม้สด

ดอกไม้พื้นถิ่นของไทยมีขนาดเล็กและส่งกลิ่นหอม อาทิ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่มีดอกไม้ขนาดใหญ่ มีก้านยาว และนำมาจัดตกแต่งเป็นช่อได้ ดังนั้น ศิลปะการจัดดอกไม้แบบไทยจึงเป็นการนำดอกไม้มาร้อยเรียงกันให้เป็นเครื่องแขวนรูปทรงต่างๆ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่ประณีตและวิจิตร

นอกจากใช้แขวนเพดาน ข้างฝา ช่องประตูหน้าต่าง ช่องม่านแหวกในงานพิธีหรือวันสำคัญต่างๆ ยังทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอากาศ ยามลมพัดมาคราใด จะพาเอากลิ่นหอมเย็นสบายของดอกไม้ไทยโชยมาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ขุนเพชร หรือ ปลัดขิก แต่เดิมนิยมให้เด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 3-4 ขวบขึ้นไป แขวนไว้ที่เอวโดยระยะนี้เด็กกำลังมีภูมิคุ้มกันตัวเองลดลง เพราะว่าหย่านมแล้ว เพื่อจะหลอกผีให้เข้าใจไปว่าเด็กชายนั้นไม่ใช่เด็ก หากแต่เป็นผู้ชายเต็มตัวแล้ว โดยมีองคชาติปลายเปิดอย่างผู้ใหญ่ไม่มีหนังหุ้ม ผีไม่สามารถนำเด็กคนนั้นไปยังโลกแห่งความตายได้ เพราะไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว

ทำไม ไออินสไปร์

แล้ววันหนึ่ง เราจะโตเป็นผู้ใหญ่ สักวันหนึ่ง เราจะโตพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตนเอง วันนี้เรายังไม่โต แต่วันหนึ่ง เราจะโต และ เราจะปลอดภัย

ไทยทำ...ทำทำไม : ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีมือ

เครื่องสีมือ

เวลาสีข้าวเปลือกต้องเทข้าวลงในกระบุงด้านบน ก้นกระบุงโหว่เพื่อครอบแป้นหมุนไม้สองชิ้น เมื่อออกแรงผลักมือจับ คานจะหมุนแป้นหมุนให้เสียดสีกัน ช่วยขยี้ข้าวเปลือกให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องราง

เครื่องราง

ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องราง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง

ไทยทำ...ทำทำไม : คาเฟ่ไทยไทย

คาเฟ่ไทยไทย

ทำไมวัฒนธรรมการกินกาแฟแบบไทยไทย ถึงมักต่อท้ายด้วยคำว่าโบราณ ที่คาเฟ่ไทยไทยแห่งนี้ เราเปิดโอกาสให้คุณดื่มด่ำกาแฟไทยเคล้าขนมหวานท่ามกลางบรรยากาศไท้ย-ไทย หันไปมองโดยรอบจะเห็นรายละเอียดทั้งมวลในร้านอันประกอบสร้างขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “ไทยทำ” ทั้งที่คุณคุ้นเคยและไม่คุ้นตา ขอเชิญคุณสั่งเครื่องดื่ม แล้วนั่งละเลียดให้ความคิดแล่น พลางจิบขนมเพลินปาก แล้วฝากคำถามไปให้นึกกันเล่นๆ ว่ากาแฟ “ไทยไทย” คู่ควรกับคำว่า “โบราณ” จริงไหม?

แม้จะรู้กันดีว่าภูมิปัญญาของการขนมไทยนั้นได้มาจากประเทศโปรตุเกส นำเข้าโดยท้าวทองกีบม้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ขนมไทยแบบไทยแท้ดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ความประณีตละเอียดอ่อนที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยยังแสดงออกมาผ่านบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อขนมไทยที่หลากหลาย

นอกเหนือจากความหมายเชิงศิลปวัฒนธรรม ถ้าวิเคราะห์กันตามเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ วัสดุที่คนไทยใช้ห่อขนมหวานล้วนนำมาจากพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบตอง ใบเตย ใบลาน ใบจาก ใบกะพ้อ ต้นอ้อ กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือแม้กระทั่งกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งส่วนใหญ่ทนทานต่อทั้งความเย็นและความร้อน เมื่อนำมาห่อขนมหวานจะยังรักษาความชื้นไว้ได้ บางชนิดเมื่อนำไปนึ่ง ปิ้ง หรือต้ม ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้ขนมชนิดนั้นยิ่งหวานหอมอร่อย แถมวิธีการห่อที่หลากหลายช่วยสร้างเอกลักษณ์ของขนมชนิดนั้น ห่อหุ้มขนมให้มิดชิด สะอาด สวยงาม และหยิบสะดวกพอดีมือ พอดีคำ

Results 101 to 120 of 1163