Showing 1521 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1166 results with digital objects Show results with digital objects

เครื่องรางของขลัง : พระเกจิ

พระเกจิ

เกจิอาจารย์ ตามศัพท์แล้วแปลว่า อาจารย์บางท่าน อาจารย์บางพวก ที่มาของเกจิแรกเริ่มเดิมที หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ต่อมา มีภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ได้แต่งหนังสืออธิบายเพิ่มเติมข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือนั้นว่า พระอรรถกถาจารย์ หรือพระฎีกาจารย์ และในหนังสือที่แต่งมักอ้างถึงความคิดเห็นของอาจารย์อื่นๆที่เห็นด้วย หรือเห็นแย้งกับผู้แต่ง เรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงนั้นว่า “เกจิจารย์”

เครื่องรางของขลัง : เบี้ยแก้

เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ มีคุณในด้านการป้องกันการกระทำคุณไสยได้ทุกชนิด รวมถึงจาก วิญญาณร้ายภูตผีปีศาจ ดังนั้น คนโบราณเวลาเดินทางไปไหนมาไหน มักจะพกเบี้ยแก้โดยการแขวนร้อยเข้ากับเชือกขาดเอวเหมือนตะกรุด ติดตัวไว้เสมอ

เบี้ยแก้ทำจากเบี้ยจั่น (หอยทะเลชนิดหนึ่ง) ที่มีซี่ฟันครบ 32 ซี่ และมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพื่อบรรจุปรอทได้น้ำหนักที่ 1 บาท อุดด้วยชันโรงใต้ดิน

เครื่องรางของขลัง : เสื้อ/ผ้ายันต์

เสื้อ/ผ้ายันต์

ผ้ายันต์หรือประเจียด คือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้า ใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขนหากลงที่เสื้อจะเรียกว่า เสื้อยันต์ การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพัน ต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตา ต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ 5 ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ

อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจ กันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

เครื่องรางของขลัง : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ปลัดขิก เชื่อกันว่า มีการสร้างปลัดขิกมาตั้งแต่โบราณ และมีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เพราะเชื่อว่า อวัยวะเพศชายเป็นต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จนพัฒนาเป็นคติการบูชาศิวลึงค์
ปลัดขิกสร้างจากวัสดุหลายชนิด เช่น หินศักดิ์สิทธิ์ ไม้มงคล ทองเหลือง ทองแดง เงิน ทองคำ เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาช้าง และกัลปังหาจากท้องทะเล เป็นต้น

ปลัดขิกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ เช่น ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา ปลัดขิกของอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์ฆราวาส เป็นต้น

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง นำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนในสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดเป็นระบบความเชื่อที่ค่อน ข้างซับซ้อนและฝังแน่น ระบบความเชื่อเหล่านี้สามารถแสดงออกมาในรูปของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเรื่องของความงมงาย แต่ความเชื่อเหล่านี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

เครื่องรางของขลัง : นางกวัก

นางกวัก

อิทธิคุณของนางกวัก ถ้าจะให้ขายของได้ดีให้ละลายแป้งหอมลงในน้ำมันหอม แล้วเอานางกวักแช่ลงไปเสกด้วยมนต์นี้ "โอมเทิบ เทิบ มหาเทิบ เทิบ สัพพะเทิบ เทิบ สวาหะ" ตามกำลังวัน แล้วนำแป้งและน้ำมันหอมประพรมสิ่งของที่จะนำไปขาย และจุณเจิมที่หน้าร้านค้าจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

เคล็ดในการบูชานางกวักและกุมารทอง ให้อาราธนา หรืออธิษฐานทุกครั้ง ก่อนทำการค้าขาย และตั้งบูชาในที่อันควร โดยจุดธูปบูชา 5 ดอก พร้อมถวายน้ำเปล่า นอกจากนี้ ยังนิยมถวายน้ำแดง น้ำเขียว ไปจนถึงยาคูลท์ ส่วนพวงมาลัยสดนั้น ให้ขึ้นหิ้งทุกวันพระ แต่ห้ามถวายเหล้า หรือสิ่งเสพย์ติดเป็นอันขาด

คติการถวายของเล่นและน้ำหวานแก่กุมารทองนั้น คงมาจากความเชื่อที่ว่า กุมารทองยังเป็นเด็ก ชอบเล่นของเล่นและชอบดื่มน้ำหวานนั่นเอง

เครื่องรางของขลัง : ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ในสมัยหนึ่งผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ พระนามว่า “ท้าวทศราช” ปกครองนคร “กรุงพาลี” ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม พระนารายณ์จึงอวตารลงมาปราบและขับไล่พระเจ้ากรุงพาลีพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ ราษฎรจึงอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายท้าวทศราชต้องพบกับความยากลำบากจึงสำนึกผิด และเข้าเฝ้าพระนารายณ์ เพื่อขออภัยโทษ และปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษและอนุญาตให้ท้าวทศราชและครอบครัวกลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด

เครื่องรางของขลัง : ควายธนู

ควายธนู

วัวธนูหรือควายธนูนั้นเป็นเครื่องรางของขลังจำพวกอาถรรพ์พระเวทไม่ใช่เครื่องรางของขลังสามัญทั่วไป ผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้มีวิชาอยู่พอสมควรสามารถเรียก ปลุก ใช้ และเรียกกลับมาได้

วัวธนูหรือควายธนูเป็นวิชาของคนไทยแต่โบราณใช้เขาวัวที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแกะเป็นรูปวัวแล้วเจาะรูสำหรับบรรจุของอาถรรพ์ (ผมผีตายโหง 2 ศพ ปิดด้วยชันนางโลมใต้ดิน) แล้วลงอักขระธาตุพระกรณี (จะภะกะสะ) ที่ตัววัวหรือสร้างขึ้นมาจากสิ่งมีอาถรรพ์ (ตะปูจากโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง ทองแดงเถื่อน ดีบุก เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์) นำมาหล่อเป็นรูปโคหรือรูปกระทิงโทนแล้วลงอักขระยันต์

การทำวัวธนู นั้นจะมีเวทมนตร์คาถากำกับแตกต่างกัน โดยในการสร้างนั้นจะมีคาถาเชิญเทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสิงสถิต เวลาจะใช้วัวให้ออกไปต่อสู้กับศัตรูหรือภูตผีปีศาจก็ใช้คาถาปลุกแล้วสั่งให้ไป

สืบจากส้วม : ไปทุ่ง ไปท่า

ไปทุ่ง ไปท่า

สังคมไทยในยุคดั้งเดิมที่ยังมีประชากรน้อย และอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาธรรมชาติ เรื่องอึ ก็เป็นเรื่อง “ขี้ ๆ” ใครมีบ้านเรือนอยู่ริมทุ่งนา ก็ไปอึในทุ่ง ใครมีบ้านอยู่ริมน้ำ ก็ไปอึที่ท่าน้ำ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไปทุ่ง” “ไปท่า” รวมถึงคำว่า “ไปป่า” ก็ย่อมเป็นคำพูดติดปากของคนที่มีบ้านอยู่ชายป่านั่นเอง
เมื่ออีเสร็จแล้ว อึนั้น ก็ไม่ได้ไปไหน แต่ถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา

นิทรรศการ ชุด สืบจากส้วม (พ.ศ. 2553)

สืบจากส้วม ปฎิบัติการ "ขี้" คลายคดีเด็ดเว็จแตก ย้อนอดีตสยามประเทศ

เรื่องส้วมๆ ใครว่าไม่สำคัญ สืบให้ดีจะรู้ว่าส้วมนี้มหัศจรรย์แค่ไหน คิดดูเล่นๆ ว่าโลกนี้จะพิลึกแค่ไหนถ้าไม่มีส้วม แต่เริ่มเดิมทีส้วมเริ่มต้นจากการแวะประกอบกิจข้างทาง ต่อมาก็พัฒนาออกแบบเรื่องส้วมนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น จนถึงกลายเป็นเครื่องบอกฐานะความสวยงามชนิดหนึ่ง แม้จะอยู่ในส่วนลับตา เช่น ห้องน้ำ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

สืบจากส้วม : ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

ทำไมห้ามสร้างส้วมบนเรือน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการใช้ห้องน้ำของเจ้านายไว้ดังนี้
“ตามประเพณีโบราณ “ที่ลงพระบังคน (ห้องน้ำ) เป็นของมีได้แต่พระเจ้าแผ่นดิน หรือมีต่อลงมาได้เพียงเจ้านาย เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า “บังคน” เหมือนกัน แต่คนสามัญชนจะมีที่ลงบังคนไม่ได้” ดังนั้น การสร้างส้วมบนเรือน จึงเป็นการตีตนเสมอเจ้านายนั้นเอง

สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์

อึ กับความศิวิไลซ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง

ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”

สืบจากส้วม : ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

ชัก โครก! เสียงคำรามของความศิวิไลซ์

โถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แท็งก์น้ำสูง ได้รับความนิยมในวังต่างๆ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มีกลไกดึงโซ่ ปล่อยน้ำจากแท็งก์สูงให้ไหลกระแทกลงมา แม้ว่าจะเกิดเสียงดัง แต่ก็ผลักสิ่งปฏิกูลทั้งมวลลงสู่บ่อเกรอะใต้ดินอย่างหมดจด นอกจากนี้ ยังมี “คอห่าน” ไว้ดักกลิ่นอย่างได้ผล ถือได้ว่า ห้องพระบังคนที่ใช้สุขภัณฑ์แบบนี้ ดำเนินตามกรอบคิด “ศิวิไลซ์” อย่างครบถ้วน

สืบจากส้วม : ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ส้วม สุสานของเชื้อโรค

ก่อนหน้านี้ ส้วมทำหน้าที่เป็น “เครื่องสำอาง” ให้บ้านเมือง แต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส้วมได้เปลี่ยนบทบาทใหม่อย่างชัดเจน มาเป็น “ฮีโร่” พิชิตเชื้อโรค อย่างพยาธิปากขอ และอหิวาต์ รัฐบาลและองค์กรต่างประเทศได้รณรงค์ทุกวิถีทางให้ทุกครัวเรือนมีส้วมใช้ เพราะส้วมที่ดีย่อมเป็นจุดจบของเชื้อโรค แต่ฮีโร่ส้วมต้องเจออุปสรรคมากมาย ทั้งความเคยชินของผู้ใช้ ความจำกัดของทุนทรัพย์ และการขาดแคลนน้ำประปา

สืบจากส้วม : ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

ไดเรคเซล ไดเรคส้วม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดที่ว่า “ประชาชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ” ชัดเจนขึ้นมาก ทำให้เรื่องส้วมๆกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถึงกับต้องส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุกถึงครัวเรือน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด เพื่อ “เซลไอเดีย” ให้ทุกคนหันมาสร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยรัฐบาลพร้อมจะสร้างส้วมให้ ขณะที่เจ้าของบ้านร่วมออกทุนหรือวัสดุเพียงบางส่วน

สืบจากส้วม : กระจายเสียง กระจายส้วม

กระจายเสียง กระจายส้วม

ในยุคทหารอเมริกันยกพลขึ้นบก ราวปีพุทธศักราช 2500 การรณรงค์ให้ใช้ส้วมผ่านภาพยนตร์ได้ผลดีนัก เพราะเป็นของใหม่ที่ใครๆ ก็อยากชม และเนื้อหาที่ปรากฏในภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถืออีกด้วย

สื่อภาพยนตร์ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก “สำนักงานข่าวสารอเมริกา” ในบรรยากาศสงครามเย็นเป็นไปได้หรือไม่ว่า สื่อเหล่านี้คือ กลยุทธ์หนึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สร้างคะแนนเสียง ทิ้งห่างประเทสมหาอำนาจคู่แข่งอย่าง สหภาพโซเวียต

Results 61 to 80 of 1521